สืบค้นงานวิจัย
การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ปราณี สีหบัณฑ์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ชื่อเรื่อง (EN): Amelioration and Utilization in Saline Soil for Reducing Environmental Impact
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ปราณี สีหบัณฑ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย คือ โครงการอิทธิพลของอินทรียวัตถุต่อความหลากหลายของจุลินทรีย์ในพื้นที่นาข้าวดินเค็ม โครงการการปลดปล่อยก๊าซมีเทนภายใต้วิธีการจัดการดินเค็มเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว และโครงการการกักเก็บคาร์บอนในดินเค็มจากการใช้วัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินในการผลิตข้าว ดำเนินการในพื้นที่ดินเค็มปานกลาง ที่ระดับความเค็ม (ECe) 6.91-7.88 เดซิซีเมนต่อเมตร ชุดดินกุลาร้องไห้ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น วางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 7 ตำรับการทดลอง คือ ตำรับการทดลองที่ 1 แปลงควบคุม ตำรับการทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 12.5 ตันต่อเฮกตาร์ ตำรับการทดลองที่ 3 ใส่แกลบอัตรา 12.5 ตันต่อเฮกตาร์ ตำรับการทดลองที่ 4 ปลูกโสนอัฟริกันอัตราเมล็ด 31.25 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ตำรับการทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 12.5 ตันต่อเฮกตาร์ ร่วมกับปลูกโสนอัฟริกันอัตราเมล็ด 31.25 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ตำรับการทดลองที่ 6 ใส่แกลบอัตรา 12.5 ตันต่อเฮกตาร์ ร่วมกับปลูกโสนอัฟริกันอัตราเมล็ด 31.25 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ตำรับการทดลองที่ 7 ใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 6.25 ตันต่อเฮกตาร์ ร่วมกับใส่แกลบอัตรา 6.25 ตันต่อเฮกตาร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกษตรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษา พบว่า การใช้แกลบเป็นวัสดุปรับปรุงดินร่วมด้วย มีความสัมพันธ์และเป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการปรับปรุงดินเค็ม เนื่องจาก พบกลุ่มจุลินทรีย์ที่ละลายโพแทสเซียมสูง และมีการเพิ่มปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดินสูง การใช้วัสดุปรับปรุงดินแตกต่างกันไม่มีผลต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทนต่อวัน การปล่อยก๊าซมีเทนตลอดฤดูปลูกและศักยภาพในการทำให้โลกร้อน การกักเก็บคาร์บอนในดินมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับปริมาณอินทรียวัตถุ ในช่วงที่มีการย่อยสลายอินทรียวัตถุอย่างต่อเนื่อง (ระยะแตกกอ และระยะเก็บเกี่ยว) และมีน้ำขัง การกักเก็บคาร์บอนในดิน มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรียที่ละลายโพแทสเซียม ในระยะข้าวแตกกอ การกักเก็บคาร์บอนมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการปลดปล่อยก๊าซมีเทนต่อวันในระยะข้าวแตกกอ ส่วนปริมาณจุลินทรีย์กลุ่มต่าง ๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับการปลดปล่อยก๊าซมีเทน ด้านการด้านการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ยกเว้นน้ำหนักตอซัง ซึ่งมีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตามไม่มีผลต่อผลผลิตข้าว
บทคัดย่อ (EN): Amelioration and utilization in saline soil for reducing environment impact consists of three sub-projects namely (i) Effect of organic matter to comparison of diversity of soil organism, (ii) Methane emission under saline soil managements for increasing rice yield, and (iii) Soil carbon sequestration in saline soil as affected by using organic materials in rice production. The objective was to rehabilitation a saline soil for agriculture and reducing environmental impact. The experiment was conducted in salinity area in Khon Kaen Province, Northeast, and Thailand during 2013-2014. The field experiment was set up on Kula Ronghai series (fine-loamy, mixed, active, isohyperthermic Typic Natraqualfs) and glutinous rice variety is RD.6. Soil samples were collected four times including; starting trial, tillering stage, harvesting, and after rice straw plough at 0-15 and 15-30 cm. depth. A randomized complete block design was employed with three replications and seven treatments that were T1=farmer method (control), T2= compost fertilizer 12.5 tons/ha, T3= rice husk 12.5 tons/ha, T4= Sesbania rostrata at seed rate 31.25 kg/ha, T5= compost fertilizer 12.5 tons/ha with Sesbania rostrata at seed rate 31.25 kg/ha, T6= rice husk 12.5 tons/ha with Sesbania rostrata at seed rate 31.25 kg/ha, and T7= compost fertilizer 6.25 tons/ha with rice husk 6.25 tons/ha. The research presented that the applying rice husk incorporation is the effective method for improving saline soil. Due to it could increase potassium solubilization and soil carbon sequestration. While the kind of organic residue did not affect methane emission and global warming potential. Moreover, soil carbon sequestration had a positive relation with soil organic matter at a tillering and a harvesting that are flooded. Also soil carbon sequestration had relationship with potassium solubilization at a tillering stage. While soil carbon sequestration showed a negative relation with methane emission at a tillering stage. However, soil organisms did not associate with the methane emission. As an agronomic data, it did not statistically significance. But rice straw was significant.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-03-31
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/291775
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
กรมพัฒนาที่ดิน
31 มีนาคม 2557
เอกสารแนบ 1
ศึกษาการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทนเค็มภายหลังการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา การสำรวจและศึกษารูปแบบและพันธุ์หญ้าแฝกที่ใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลของการใช้จุลินทรีย์ชอบเค็มต่อการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็ม การเปรียบเทียบพันธุ์หญ้าแฝกทนเค็มสำหรับพื้นที่ดินเค็มจังหวัดกาฬสินธุ์ ผลของความเค็มต่อการเจริญเติบโตของ Kochia (Kochia indica) และการใช้ประโยชน์ Kochiaเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม ความสำคัญของปุ๋ยพืชสดกับการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาในพื้นที่แปลงสาธิตหนองบ่อ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม การใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้งของข้าวโพดฝักอ่อนจากโรงงานอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง ผลของการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ แกลบ และพืชปุ๋ยสดบางชนิดร่วมกับยิปซั่มต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวในพื้นที่ดินเค็ม การศึกษาแบบบูรณาการด้านนิเวศวิทยาและการจำแนกพื้นที่ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก