สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพการผลิตพืชอาหารสัตว์และเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทย
กังวาน ธรรมแสง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพการผลิตพืชอาหารสัตว์และเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กังวาน ธรรมแสง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วรพงษ์ สุริยภัทร
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จากการประเมินความต้องการพืชอาหารสัตว์เพื่อการเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยในปี 2553 พบว่า มีความ ต้องการปีละประมาณ 13.1 1 ล้านตันน้ำหนักแห้ง แต่ผลิตได้เพียงครึ่งหนึ่งของความต้องการ ซึ่งโคและกระบือมีพื้นที่แปลง หญ้าทั้งที่ปลูกและทุ่งหญ้าสาธารณะสำหรับใช้เลี้ยงรวมกันแล้วน้อยกว่า 1 ไร่/ตัว เกษตรกรต้องใช้ฟางข้าวและผลพลอยได้ ทางการเกษตรต่างๆ และเสริมอาหารข้นในระดับสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง จากงานทดลองที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบว่า การเลี้ยงโคโดยปล่อยแทะเล็มในแปลงหญ้าคุณภาพดี โคระยะวุ่น-สาว สามารถเจริญเติบโตได้ 0.4-0.5 กก./วัน โดยไม่ต้องเสริมอาหารข้น ในโครีดนมระยะต้น-ระยะกลาง สามารถให้ผลผลิตน้ำนมได้ 17-18 กก./วัน โดยเสริมอาหารข้น เพียง 4.5 กก./วัน ในปี 2553 โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้มี การส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยในภาคอีสานกว่า 600 ราย ผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ 78.35 ตัน เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 15,000 บาท/ราย ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้ส่วนใหญ่หรือประมาณ 90% ส่งออกต่างประเทศ และในปี 2554-2555 จะขยาย การผลิตขึ้นไปอีก โดยเพิ่มจำนวนเกษตรกรเข้าร่วมโครงการประมาณ 1,700 ราย มีเป้าหมายการผลิตเมล็ดพันธุ์จำนวน 110 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 70 ล้านบาท
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=01-Kangwan.pdf&id=463&keeptrack=35
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพการผลิตพืชอาหารสัตว์และเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ศักยภาพการผลิตพืชอาหารสัตว์และเมล็ดพันธ์ในประเทศไทย ศักยภาพธุรกิจการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมแตงโมของประเทศไทย ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชอาหารสัตว์โดยการหมักของเกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลผลิตและคุณภาพของพืชอาหารสัตว์ที่ได้จากหญ้าอาหารสัตว์ 3 ชนิด และวิธีผลิตแบบอินทรีย์ที่มีและไม่มีถั่วปลูกผสม ผลของการเคลือบเมล็ดด้วยธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลของชนิดและอายุของพืชอาหารสัตว์ต่อประสิทธิภาพการหมักของพืชอาหารสัตว์หมัก การศึกษาการผลิตเมล็ดพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว การผลิตเมล็ดพันธุ์คัดและเมล็ดพันธุ์หลัก ข้าวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 ผลของการเคลือบเมล็ดด้วยธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสมหลังการเก็บรักษา ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับธาตุอาหารพืชต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังการเคลือบและเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของมะเขือเทศลูกผสม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก