สืบค้นงานวิจัย
การตอบสนองของพันธุ์ถั่วเขียวต่อการให้น้ำต่างระดับ : การเจริญเติบโตของต้น
สมชาย บุญประดับ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การตอบสนองของพันธุ์ถั่วเขียวต่อการให้น้ำต่างระดับ : การเจริญเติบโตของต้น
ชื่อเรื่อง (EN): Response of Mungbean Cultivars to Irrigation gradient : Plant Growth
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมชาย บุญประดับ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Somchai Boonpradub
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การเจริญเติบโตของถั่วเขียวที่ปลูกในระบบการปลูกพืชที่มีข้าวเป็นพืชหลักมักประสบปัญหาความแปรปรวนของน้ำฝนในช่วงฤดูปลูก ทำให้การเจริญเติบโตของต้นถั่วได้ไม่ดี ส่งผลให้ได้ผลผลิตต่ำ จึงทำการทดลองโดยใช้ถั่วเขียวจำนวน 4 พันธุ์ปลูกภายใต้สภาพการให้น้ำระบบ line source sprinkler ที่แปลงทดลองของศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ในฤดูแล้งปี 2533 และ 2534 ผลการทดลองพบว่า ถั่วเขียวทั้ง 4 พันธุ์มีค่าของอัตราการเจริญเติบโตรวม (CGR) อัตราการเจริญเติบโตของลำต้น (SGR) อัตราการเจริญเติบโตของใบ (LGR) อัตราการเจริญเติบโตของเมล็ด (GGR) ดัชนี้พื้นที่ใบ (LAI) และ leaf area duration (LAD) ลดลง ยกเว้นค่าของ specific leaf weight (SLW) จะเพิ่มขึ้นเมื่อขาดน้ำมากขึ้น พันธุ์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวปานกลาง (พันธุ์อู่ทอง 1 และพันธุ์กำแพงแสน 2) มีอัตราการเจริญเติบโตรวมสูงกว่าพันธุ์ที่มีอายุยาว (พันธุ์พื้นเมือง) และอายุสั้น (พันธุ์ชัยนาท 60) ทั้งในสภาพที่ได้รับน้ำอย่างเพียงพอและสภาพที่ขาดน้ำ และยังมีการร่วงหล่นของใบที่ต่ำกว่าอีกด้วย
บทคัดย่อ (EN): Plant growth in rice-based cropping system is often limited by variation in the amount and duration of rainfall. Four mungbean were subjected to different moisture gradient in the dry season of 1990 and 1991 at Chiang Mai Field Crops Research Center. The results showed that water deficit reduced crop growth tate (CGR), stem growth rate (SGR), leaf growth rate (LGR), grain growth rate (CCR), leaf area weight (SLW) increased with increasing levels of drought stress. Drought resistance was associated with duration of crop. Kamphaeng Saen 2 and U-thong 1 (medium duration cultivars) has higher crop growth rate and less leaf senescence than Chai Nat 60 (short duration cultivar) and Local (long duration cultivar).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2537
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2537
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การตอบสนองของพันธุ์ถั่วเขียวต่อการให้น้ำต่างระดับ : การเจริญเติบโตของต้น
กรมวิชาการเกษตร
2537
ผลของปริมาณการให้น้ำ และระยะเวลาสิ้นสุดการให้น้ำต่อถั่วเขียวบนดินชนิด Silty Clay Loam การตอบสนองของพันธุ์ถั่วเขียวต่อการให้น้ำต่างระดับ :III การเจริญของราก ศึกษาการเจริญเติบโตของยางพันธุ์ต่าง ๆ ที่ปลูกที่ระดับความสูง 900 เมตร จากระดับน้ำทะเล การทดลองหาผลกระทบต่อการขาดน้ำในช่วงการเจริญเติบโตแต่ละช่วงของถั่ว เขียว 4 พันธุ์ (ปีที่ 3) การประเมินประสิทธิภาพการใช้ธาตุอาหารพืช การเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยพันธุ์ที่ต้านทานต่อความแห้งแล้งแตกต่างกันภายใต้สภาพความแห้งแล้งในช่วงต้นของการเจริญเติบโต ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์และการเจริญเติบโตของกระวาน 3 พันธุ์ในที่สูง การคัดเลือกถั่วเขียวแบบต้นต่อแถว 2 สายพันธุ์ อิทธิพลของการป้องกันกำจัดวัชพืชที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเขียวผิวดำ การศึกษาการเจริญเติบโตของคัพภะในไข่ไหมพันธุ์ไทย การทดลองหาผลกระทบต่อการขาดน้ำในช่วงการเจริญเติบโตแต่ละช่วงของข้าวโพดหวาน 4 พันธุ์ ( ปีที่ 3 )

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก