สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่ 2
นักวิชาการเกษตรเชี่ยวชาญสุรกิตติ ศรีกุล - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่ 2
ชื่อเรื่อง (EN): Testing and Demonstrating of Oil Palm Technology in the Area of the Upper South
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นักวิชาการเกษตรเชี่ยวชาญสุรกิตติ ศรีกุล
คำสำคัญ: ปาล์มน้ำมัน การจัดการสวน
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:   สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่ 2” แก่กรมวิชาการเกษตร โดย นายสุรกิตติ ศรีกุล เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและทดสอบเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหาร และด้านการจัดการสวนปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมกับเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน และ สร้างองค์ความรู้สำหรับการแนะนำการจัดการสวนที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน จากการทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ในแปลงปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว อายุ 6-8 ปี จำนวน 16 แปลง แบ่งการทดลองเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 การทดลอง set X จำนวน 12 แปลง ดำเนินการที่แปลงเกษตรกรจังหวัดชุมพร ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี กระบี่ และสุราษฎร์ธานี เพื่อเปรียบเทียบการจัดการธาตุอาหาร และการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (กรรมวิธีที่ 1) กับการจัดการตามวิธีเกษตรกร (กรรมวิธีที่ 2) ชุดที่ 2 การทดลอง set Y จำนวน 4 แปลง ดำเนินการที่แปลงเกษตรกรจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ และนครศรีธรรมราช เพื่อเปรียบเทียบการจัดการธาตุอาหาร และการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (กรรมวิธีที่ 1) การจัดการธาตุอาหารตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร และการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามวิธีเกษตรกร (กรรมวิธีที่ 2) การจัดการธาตุอาหารตามวิธีเกษตรกร และการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (กรรมวิธีที่ 3) และการจัดการตามวิธีเกษตรกร (กรรมวิธีที่ 4) เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 ถึงเดือนธันวาคม 2558 จากการเก็บตัวใบมาวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร พบว่า ทั้ง 16 แปลง มีการขาดธาตุไนโตรเจน และ โพแตสเซียม ได้นำผลการวิเคราะห์ใบไปคำนวณปริมาณธาตุอาหารที่ต้องใส่ให้ปาล์มน้ำมันในกรรมวิธีแนะนำของกรมวิชาการเกษตร จากการบันทึกข้อมูลผลผลิต 24 เดือน พบว่า พบว่า กรรมวิธีต่างๆ ให้ผลผลิตแตกต่างกัน โดยปี 2557 และ 2558 มี yield gap 34.31 และ 265.14 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และมีปัจจัยของกรรมวิธี จำนวน 2 ปัจจัย คือ การให้ปุ๋ย และ การจัดการสวน พบว่า ในปี 2557 มี contribution ปุ๋ย 18.23 และการจัดการสวน 15.77 กิโลกรัมต่อไร่ และปี 2558 มี contribution ปุ๋ย 153.65 และการจัดการสวน 111.50 กิโลกรัมต่อไร่ อย่างไรก็ตาม การให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันในช่วงสองปีแรกที่ศึกษา เป็นผลจากการได้รับปัจจัยต่างๆในปีที่ผ่านมาก่อนการดำเนินการทดสอบ จำเป็นต้องเก็บข้อมูลต่อเนื่อง เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดการสวน และธาตุอาหารในระดับคำแนะนำทางวิชาการ และระดับที่เกษตรกรปฏิบัติ ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือ ได้ต้นแบบการจัดการธาตุอาหารและการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน ประกอบด้วยเทคนิคและคำแนะนำการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใบ ซึ่งสามารถลดการใช้ปุ๋ยและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับความต้องการของพืช พร้อมทั้งคำแนะนำและแนวทางการจัดการสวนปาล์มที่เหมาะสม ส่งผลให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันต่อไร่เพิ่มขึ้นและปาล์มคุณภาพดีขึ้น  
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-02-20
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-02-19
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่ 2
กรมวิชาการเกษตร
19 กุมภาพันธ์ 2559
การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่ 2 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน โครงการวิจัยศึกษาระบบการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน การทดสอบเทคโนโลยีการควบคุมหนูศัตรูปาล์มน้ำมันในแปลงปลูกปาล์มน้มันใหม่ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่ 2 พัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อในสวนปาล์มน้ำมันเพื่อความยั่งยืนในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน การศึกษาวิจัยสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน กรณีศึกษา : ปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก