สืบค้นงานวิจัย
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเห็ดสกุล Russula ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ยุวดี อินสําราญ - มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเห็ดสกุล Russula ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic Diversity of Genus Russulain the Northeastern Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ยุวดี อินสําราญ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เห็ด Russula จัดอยู่ในวงศ์ Russulaceae อันดับ Russulales เป็นเห็ดที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากหลายชนิดเป็นเห็ดที่นิยมนํามาบริโภค อย่างไรก็ตามการศึกษาอนุกรมวิธานของเห็ดกลุมนี้ใน ประเทศไทยยังมีการศึกษาน้อยมาก การศึกษาโดยใช้ลักษณะสัณฐานมีข้อจํากัดความคล้ายคลึงของลักษณะสัณฐานวิทยา ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาเครื่องหมายพันธุกรรมเพื่อใช้ในการระบุสปีชีส์และการศึกษาความ แปรผันทางพันธุกรรมของเห็ด Russula การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแปรผันทางพันธุกรรมของเห็ด ในวงศ์เห็ด Russulaceae และพัฒนาเครื่องหมายพันธุกรรม DNA barcode โดยใช้ลําดับนิวคลีโอไทด์ของ Internal transcribed spacer (ITS) การศึกษาความหลากชนิดของเห็ด Russula 11 ชนิด จำนวน 82 ตัวอย่าง คือ R. aeruginea R. alboareolata R.cyanoxantha R. delica R. densifolia R. emetic R. flavida R. foetens R. nigricans R. rosacea และ R. virescens ลําดับนิวคลีโอไทด์ส่วนที่ทําการศึกษามีความยาวระหว่าง 577-664 bp สามารถระบุชนิดของเห็ด Russula ได้ถูกต้องมากกว่า 99% ความแปรผันทางพันธุกรรมภายในสปีชีส์ จำแนกด้วย Kimura-2 parameter ความแปรผันทางพันธุกรรมภายในชนิดมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 0.3% ถึง 24.1% โดยชนิดที่มีความแปรผันทางพันธุกรรมสูงสุด คือ R. delica และความแปรผันทางพันธุกรรมระหว่างชนิดเฉลี่ยมีค่าระหว่าง 4.4% ถึง 25.4% ชนิดที่มีความแปรผันทางพันธุกรรมระหว่างชนิดสูงที่สุด R. flavida และ R. delica ชนิดที่มีความแปรผันทางพันธุกรรมภายในสปีชีส์สูงได้แก่ R. delica, R. flavida, R. rosacea และ R. emtica ขณะที่ R. virescens และ R.aeruginea มีความแปรผันทางพันธุกรรมระหว่างชนิดต่ำ ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพระดับสูงของการระบุชนิดของ Russulaบนพื้นฐานทางชีวโมเลกุลโดยใช้เครื่องหมายทางพันธุกรรม ITS
บทคัดย่อ (EN): Russula are mushrooms that belong to the family Russulaceae of the order Russulales. Due to several species are popular among consumers, these mushrooms are economically important. However, taxonomy of these mushrooms in Thailand is hardly studied. Moreover, morphological similarity between species limiting the taxonomic study based solely on morphological characters. In this study, we use the internal transcribed spacer (ITS) markers to identify and investigate the genetic diversity of species in the Russula in the northeastern Thailand. Of 82 studied specimens, 11 species including Russula (R. aeruginea R. alboareolata, R. cyanoxantha, R. delica, R. densifolia, R. emetic, R. flavida, R. foetens, R. nigricans, R. rosacea and R. Virescens were identified. The length of the ITS were vary between 577-664 bp. ITS sequence resulted in 99% corrected identification of Russula with the exception of some sample of R. Cyanoxantha. Intraspecific genetic divergence distance based on K2P were between 0.3% to 24.1% with the maximum level in R. delica. Interspecific genetic divergence distance were 4.4 % to 25.4% with maximum level in R. delica. ITS exhibited high intraspecific variation for R. delica, R. flavida, R. rosacea and R. emtica, whereas low interspecific variation found in R. virescens and R. aeruginea. The results demonstrated the high potential species identification within the Russula by using molecular based on ITS DNA barcoding.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-10-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเห็ดสกุล Russula ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
30 ตุลาคม 2559
เอกสารแนบ 1
คุณค่าเชิงสุขภาพของเห็ดกินได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลกระทบของความหลากหลายของสภาพแวดล้อมต่อการผลิตอ้อยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของมะม่วงหิมพานต์ ในภาคใต้ ด้วยลักษณะทางสัณฐานวิทยาของผลเทียม และเครื่องหมายอาร์เอพีดี การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดและแนวทางพัฒนาการจำแนกเห็ดมีพิษอย่างบูรณาการกรณีศึกษา : ตำบลท่าลี่ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาโมงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้เทคนิคไมโครแซททัลไลท์ดีเอ็นเอ 2557A17002046 ความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชากรเลียหิน (Garra cambodgiensis)  บริเวณแม่น้ำน่าน โดยใช้เครื่องหมายพันธุกรรมไมโครแซทเทลไลท์   2554A17002280 การสำรวจความหลากหลายชนิดและคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของเห็ดป่ารับประทานได้เพื่อการจำแนกแยกเห็ดพิษ   และภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ในจังหวัดน่าน การประเมินความแปรปรวนลักษณะทางสัณฐานวิทยา และความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวนาที่สูง การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชากรปลาพลวงหินในประชากรธรรมชาติ บริเวณแม่น้ำน่าน โดยใช้เครื่องหมายพันธุกรรมไมโครแซทเทลไลท์ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายของเห็ดป่า ในพื้นที่สะลวง อำเภอแม่แตง และอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก