สืบค้นงานวิจัย
ลักษณะการใช้เมล็ดพันธุ์พืชของเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ปี 2547
สมควร สีมะชัย - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ลักษณะการใช้เมล็ดพันธุ์พืชของเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ปี 2547
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมควร สีมะชัย
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาลักษณะการใช้เมล็ดพันธุ์พืชเศรษฐกิจของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร ลักษณะการใช้เมล็ดพันธุ์รวมถึงปัญหาการใช้เมล็ดพันธุ์ดีของเกษตรกร เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ดี และผลิตเมล็ดพันธุ์ดีให้สอดคล้องกับความต้องการ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น ทำการสุ่มเกษตรกรตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนได้จำนวนเกษตรกรตัวอย่าง 240 ราย สุ่มสัมภาษณ์เกษตรกรด้วยแบบสัมภาษณ์ โดยวิธีสุ่มแบบบังเอิญ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยการแจกแจงความถี่,ค่าร้อยละ, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ให้ข้อมูล ส่วนใหญ่เป็นชาย ร้อยละ 80.8 อายุเฉลี่ย 51.29 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งในชุมชน เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำนา มีประสบการณ์ในการปลูกพืชมากกว่า 10 ปี มีพื้นที่ถือครองทำการเกษตรเฉลี่ย 17.14 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ถือครองของตนเอง ปลูกพืชฤดูฝนอย่างเดียว ร้อยละ 70 ปลูกพืชทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ร้อยละ 30 ในฤดูแล้งจะปลูกข้าวนาปรังเป็นส่วนใหญ่ พันธุ์ข้าวที่ปลูก ได้แก่พันธุ์ชัยนาท1 มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 14.83ไร่ต่อครัวเรือน ปลูกโดยวิธีหว่าน ใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตราเฉลี่ย 15 กิโลกรัมต่อไร่ การปลูกพืชในฤดูฝน ส่วนใหญ่จะปลูกข้าว พันธุ์ข้าวที่ใช้มี 2 พันธุ์ได้แก่ ข้าวพันธุ์ กข.6 และข้าวขาวดอกมะลิ105 มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 14.96 ไร่ต่อครัวเรือน ใช้วิธีปลูก 2 วิธี วิธีปักดำ จะใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตราเฉลี่ย 10 กิโลกรัมต่อไร่ และปลูกโบวิธีหว่าน จะใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ แหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรนำมาเพาะปลูกซึ่งส่วนใหญ่เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ข้าว กข.6 เกษตรกรร้อยละ 42.9 ได้มาจากศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืช ร้อยละ 42.1 เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง เมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เกษตรกรร้อยละ 21.3 ได้มาจากศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืช ร้อยละ 12.9 เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท1 เกษตรกรร้อยละ 9.2 ได้เมล็ดพันธุ์มาจาก สถานีทดลองข้าว และเพื่อนบ้าน เกษตรกรร้อยละ 5.8 เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง เมล็ดพันธุ์ข้าวปทุมธานี1 เกษตรกรร้อยละ 0.8 ได้มาจากสถานีทดลองข้าว และเกษตรกรเก็บไว้ใช้เอง เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองเชียงใหม่ 60 เกษตรกรได้มาจากพ่อค้า การเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ ร้อยละ 33.3 มีเกษตรกรบางส่วนเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ทุกปี ร้อยละ25.8 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่คิดว่าจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ในการฝึกอบรมเรื่องเมล็ดพันธุ์เกษตรไม่เคยอบอม ร้อยละ 52.5 เกษตรกรที่เคยอบรม ร้อยละ 47.5 ปัญหาของเกษตรกรในการใช้เมล็ดพันธุ์ มีประเด็นเดียวที่เป็นปัญหามาก คือเมล็ดพันธุ์ดีมีราคาสูง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ลักษณะการใช้เมล็ดพันธุ์พืชของเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น ปี 2547
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การศึกษาการใช้สารเคมีกับพืชผักของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ถั่วลิสง ฤดูแล้ง ปี 2547 ของศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 18 จังหวัดสกลนคร สภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น ปี 2546 ผลการตอบแทนและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์หญ้ารูซี่ ผลิตโดยเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น การประเมินผลโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ ปี 2547 (ด้านพืช) ความคิดเห็นของเกษตรกรผู้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ปี 2547 ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวสันป่าตอง 1 ฤดูฝน ปี 2547 ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ ปี 2546 (ด้านพืช) ตำบลหนองแวงโสกพระ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น การใช้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ของเกษตรกรในจังหวัดอ่างทอง ปี 2547 การผลิตและการตลาดเมล็ดพันธุ์ถั่วฮามาต้า (Stylosanthes hamata c.v. verano) ของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก