สืบค้นงานวิจัย
การเปรียบเทียบสายพันธุ์เห็ดหอมในภาคเหนือ
นันทินี ศรีจุมปา - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบสายพันธุ์เห็ดหอมในภาคเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Comparison of Lentinula edodes (shiitake) Strains in Northern Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นันทินี ศรีจุมปา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nantinee Srijumpa
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เปรียบเทียบการเจริญเติบโตทางเส้นใยเห็ดหอมจำนวน 10 สายพันธุ์ บนก้อนวัสดุเพาะจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา ในฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาว ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2550 เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตทางเส้นใย โดยใช้แผนการทดลอง CRD ประกอบด้วย 20 ซ้ำ บันทึกการเจริญเติบโตของเส้นใยของเห็ดหอมหลังการปลูกเชื้อ 30 วัน พบว่าในการบ่มเชื้อในฤดูฝน ระหว่างเดือน กรกฎาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 สายพันธุ์ส่วนใหญ่มีการเจริญทางเส้นใยได้ดีกว่าการบ่มเชื้อในฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนาย พ.ศ. 2549 และเส้นใยเจริญได้ช้าที่สุดถ้าบ่มเชื้อในฤดูหนาว ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 – เมษายน พ.ศ. 2550 ในการเปรียบเทียบผลผลิตเห็ดหอมที่เปิดดอกในแต่ละฤดูกาล ซึ่งวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 6 ซ้ำ พบว่าในการเปิดดอกเห็ดในระหว่างฤดูฝนทุกสายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูงกว่าเปิดดอกเห็ดในระหว่างฤดูหนาวและฤดูร้อน แต่ดอกเห็ดหอมทุกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตในฤดูหนาว มีขนาดเล็กและน้ำหนัก/ดอก มากกว่าดอกเห็ดหอมที่เปิดดอกในฤดูฝน สายพันธุ์การค้าจากเชียงใหม่เลขที่ 2 เป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงที่สุดทั้งในฤดูฝนและฤดูหนาว และสายพันธุ์จาก จ.สกลนครเลขที่ 1 เป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตรองลงมา โดยทั้งสองสายพันธุ์ให้ผลผลิตสูง กว่าสายพันธุ์เลขที่ 1-5 ซึ่งเป็นสายพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ (EN): The mycelial growth of 10 shiitake strains growing on pararubber sawdust media, was studied in different seasons at Chiang Rai Horticultural Research Centre during 2006-2007. Mycelial growth study was designed as with 20 replications. Yield comparison was designed as RCB with 6 replications (10 blocks in each replication). The mycelial length was measured after 30 days of incubation, and was found that the mycelial length of all strains incubated during rainy season was greater than in summer and winter. There was a different in yield per bag of each strain growing from different seasons. Better yield was obtained from most of strain in rainy season than in winter. However, the fruiting bodies’ size and weight of those obtained from winter were greater than rainy season. Commercial strain from Chiang Mai No 2 was the best strain and gave the highest yield in both rainy and winter seasons. Strain from Sakon Nakhon No 1 was the second rank in both seasons. Moreover, both strains gave higher yield than strain No 1-5 wich were currently used as the recommended shiitake strains of the Department of Agriculture.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเปรียบเทียบสายพันธุ์เห็ดหอมในภาคเหนือ
กรมวิชาการเกษตร
2551
เอกสารแนบ 1
เห็ดที่รับประทานได้และที่น่าสนใจ ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากเส้นใยเห็ดหอมที่เลี้ยงในอาหารเหลวต่อเชื้อก่อโรคท้องร่วงและข้ออักเสบในสุกร เห็ดกลุ่มโบลีตส์ของประเทศไทย เห็ดบางชนิดในสกุล Ganoderma และสกุลใกล้เคียง ชนิดของเห็ดสกุล Lepiota และสกุลใกล้เคียงในประเทศไทย ข้าวเหนียวหอมสายพันธุ์ดีสำหรับภาคเหนือตอนบน KKN97057-17-1-1-CMI-MB1-46 ข้าวเหนียวสายพันธุ์ดีสาหรับนาชลประทานภาคเหนือตอนบน การรวบรวมและจำแนกสายพันธุ์เห็ดหอมที่เพาะเป็นการค้าด้วยเครื่องหมายโมเลกุลอาร์เอพีดี การรวบรวมประเมินและคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวไร่ให้เหมาะสมต่อพื้นที่เพาะปลูกในเขตนาน้ำฝน และประสบภัยแล้งของภาคตะวันตก ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย (ปีที่ 3) CNT96024-61-1-PSL-1-2: สายพันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่าง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก