สืบค้นงานวิจัย
การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้นของสายพันธุ์ยางจากบราซิล BZ-CH-35/1/2
รัศมี ด่านสกุลผล - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้นของสายพันธุ์ยางจากบราซิล BZ-CH-35/1/2
ชื่อเรื่อง (EN): Preliminary Proof Clone Trial of Brazil Rubber Clones BZ-CH-35/1/2
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัศมี ด่านสกุลผล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้นสายพันธุ์ยางจากบราซิล BZ-CH-35/1/2 เพื่อคัดเลือกพันธุ์ยางที่มีการเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตสูงจากสายพันธุ์ยางลูกผสมระหว่างพันธุ์ปลูกกับพันธุ์บราซิล ปี 2535 ที่ผ่านการคัดเลือกพันธุ์ยางเบื้องต้นของศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา เริ่มการทดลองเมื่อเดือนตุลาคม 2542 และสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2556 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ พันธุ์ยางที่ใช้มี 36 พันธุ์ เป็นสายพันธุ์ลูกผสม 33 สายพันธุ์ ได้แก่ BZ-CH-35-0129, BZ-CH-35-0132, BZ-CH-35-0565, BZ-CH-35-0603, BZ-CH-35-1074, BZ-CH-35-1077, BZ-CH-35-1133, BZ-CH-35-1138, BZ-CH-35-1459, BZ-CH-35-1486, BZ-CH-35-1487, BZ-CH-35-1497, BZ-CH-35-1500, BZ-CH-35-1506, BZ-CH-35-1508, BZ-CH-35-1514, BZ-CH-35-1518, BZ-CH-35-1519, BZ-CH-35-1578, BZ-CH-35-1602, BZ-CH-35-1622, BZ-CH-35-1636, BZ-CH-35-1639, BZ-CH-35-1663, BZ-CH-35-1677, OP-CH-35-1874, OP-CH-35-1959, OP-CH-35-1974, OP-CH-35-2106, OP-CH-35-2144, RRI-CH-35-1310, NO29 A112/2530, NO47 L3/2530 และพันธุ์เปรียบเทียบ 3 พันธุ์ ได้แก่ RRIC 110, RRII 105 และ PB 260 วางแผนการทดลองแบบ Triple Lattice จำนวน 3 ซ้ำๆ ละ 7 ต้นต่อแปลงย่อย ระยะปลูก 3x7 เมตร ขนาดแปลงทดลอง 15 ไร่ ผลการทดลองตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงกรีดและเก็บผลผลิตได้ 5½ ปีกรีด พบว่า สายพันธุ์ลูกผสมที่ใช้ในการทดลองส่วนใหญ่ให้ผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์เปรียบเทียบทั้งสามพันธุ์ แต่มีการเจริญเติบโตดี มีสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดีกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ PB 260 มากกว่าร้อยละ 10 และแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สมควรนำมาพิจารณาเป็นพันธุ์ยางเพื่อเนื้อไม้จำนวน 7 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ BZ-CH-35-0129, BZ-CH-35-1519, BZ-CH-35-1622, BZ-CH-35-1578, BZ-CH-35-1506, BZ-CH-35-1602 และ OP-CH-35-1959 โดยสายพันธุ์ BZ-CH-35-0129 มีความเจริญเติบโตดีที่สุด มีขนาดรอบลำต้นเฉลี่ย 88.33 เซนติเมตร ขนาดรอบลำต้นเพิ่มขึ้นระหว่างกรีด เฉลี่ย 4.59 เซนติเมตรต่อปี รองลงมาคือ สายพันธุ์ BZ-CH-35-1519 มีขนาดรอบลำต้นเฉลี่ย 84.94 เซนติเมตร ขนาดรอบลำต้นเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.64 เซนติเมตรต่อปี และอันดับสาม คือ สายพันธุ์ BZ-CH-35-1622 มีขนาดรอบลำต้นเฉลี่ย 83.58 เซนติเมตร ขนาดรอบลำต้นเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.44 เซนติเมตรต่อปี แต่ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่ำมากที่ 15.60, 9.12 และ 10.83 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด ตามลำดับ ส่วนพันธุ์เปรียบเทียบ RRIC 110, RRII 105 และ PB 260 มีขนาดรอบลำต้นเฉลี่ย 72.35, 64.18 และ 73.02 เซนติเมตร ตามลำดับ และมีขนาดรอบลำต้นเพิ่มขึ้นระหว่างกรีดเฉลี่ย 2.50, 2.49 และ 3.11 เซนติเมตรต่อปี ตามลำดับ สำหรับผลผลิตน้ำยาง มีสายพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ PB 260 มากกว่าร้อยละ 10 จำนวน 3 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ BZ-CH-35-1077 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด (51.54 กรัม/ต้น/ครั้งกรีด) รองลงมา คือ สายพันธุ์ RRI-CH-35-1310 (50.32 กรัม/ต้น/ครั้งกรีด) และอันดับสาม คือ สายพันธุ์ NO47 L3/2530 (46.22 กรัม/ต้น/ครั้งกรีด) และมีการเจริญเติบโตในเกณฑ์ดี มีขนาดรอบลำต้นเฉลี่ย 76.46, 77.98 และ71.12 เซนติเมตร ตามลำดับ ขนาดรอบลำต้นเพิ่มขึ้นระหว่างกรีดเฉลี่ย 4.02, 3.13 และ 2.59 เซนติเมตรต่อปี ตามลำดับ ส่วนพันธุ์เปรียบเทียบ RRIC 110, RRII 105 และ PB 260 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 45.70, 36.23 และ 41.82 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด ตามลำดับ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: http://lib.doa.go.th/multim/BB00730.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้นของสายพันธุ์ยางจากบราซิล BZ-CH-35/1/2
การยางแห่งประเทศไทย
2548
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้นสายพันธุ์ยางลูกผสม RRI-CH-36/1/3 การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นต้นสายพันธุ์ยางลูกผสม RRI-CH-46/1/1 การควบคุมโรครากขาวของยางพาราโดยชีววิธีและการคัดเลือกสายพันธุ์ยางต้านทานโรคเพื่อผลิตต้นตอพันธุ์ การเปรียบเทียบพันธุ์ยางขั้นปลาย RRI-CH-35/1/2 การปรับปรุงพันธุ์ยาง การผลิตพันธุ์ยางของแปลงขยายพันธุ์ยางของทางราชการ การเปรียบเทียบพันธุ์ยาง (เค 226/1) การเปรียบเทียบพันธุ์ยาง (เค 233/1) การเปรียบเทียบพันธุ์ยาง (เค 247/3) การเปรียบเทียบพันธุ์ยาง ( เค 230 )

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก