สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพและโอกาสในการแข่งขันของการผลิตยางธรรมชาติ
สุภาพร บัวแก้ว - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพและโอกาสในการแข่งขันของการผลิตยางธรรมชาติ
ชื่อเรื่อง (EN): Potential and Opportunity on Competitiveness of NR Industry
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุภาพร บัวแก้ว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เอนก กุณาละสิริ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: องค์การศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ (IRSG) คาดการณ์ว่าการใช้ยางของโลก จะมีปริมาณมากกว่าปริมาณการผลิตในปี 2546 และ 2547 ถึง 683,000 ตัน และ 618,000 ตัน โดยคาดว่าความต้องการของจีนจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 8 ในอีก 5 ปีข้างหน้า จากการคาดการณ์ในด้านบวกของ IRSG ต่อยางธรรมชาติทำให้มีการใช้ ข้อมูลดังกล่าวเพื่อกำหนดนโยบายการเพิ่มการผลิตโดยการขยายพื้นที่ปลูกยางใหม่ การผลิตยางธรรมชาติส่วนใหญ่มาจากสวนยางขนาดเล็กในประเทศกำลังพัฒนาในเอเซีย อาฟริกา และอเมริกาใต้ ไทยมีสัดส่วนการผลิตเป็นร้อยละ 35 อินโดนีเซีย และมาเลเซีย มีสัดส่วนร้อยละ 23 และ 8 ขณะที่การผลิตยางสังเคราะห์ ซึ่งผลิตจากปิโตรเคมี โดยผู้ผลิตน้อยราย ผู้ผลิตรายใหญ่มีน้อยกว่า 10 ราย มีสัดส่วนการผลิตถึงร้อยละ 80 ของปริมาณการผลิตยางสังเคราะห์ทั้งหมดของโลก ยางสังเคราะห์มีข้อได้เปรียบยางธรรมชาติในด้าน การพัฒนา การผลิต ที่ทำได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันการใช้ยางธรรมชาติของโลก ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 80 อยู่ในภูมิภาคเอเซีย/แปซิฟิก ร้อยละ 19 อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ร้อยละ 18 อยู่ในสหภาพยุโรป ร้อยละ 8 อยู่ในประเทศยุโรปอื่นๆ นอก EU ร้อยละ 6 อยู่ในอเมริกาใต้ และร้อยละ 1 อยู่ในอาฟริกา ราคายางธรรมชาติที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงตั้งแต่ ปี 2545 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดปริมาณการผลิตส่วนเกิน มากกว่าที่จะเกิดการขาดแคลนตามที่ IRSG คาดการณ์ นอกจากนั้นการใช้ยางธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นในจีน ส่วนใหญ่เกิดจากการย้ายฐานการผลิตจากยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยที่การใช้ยางธรรมชาติโดยรวมของโลกยังคงขยายตัวในอัตราไม่เกิน ร้อยละ 2 ต่อปี
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพและโอกาสในการแข่งขันของการผลิตยางธรรมชาติ
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การวิเคราะห์ศักยภาพตลาดและความสามารถในการแข่งขันของมะขามไทยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของมะขามไทย การวิเคราะห์ศักยภาพตลาดและความสามารถในการแข่งขันของมะขามไทยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของมะขามไทย โครงการศักยภาพการผลิต การตลาดและขีดความสามารถในการแข่งขันของยางพาราในเวียดนามและไทย โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตและคุณภาพข้าวตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การเพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการการเกษตรเพื่อสนับสนุนความได้เปรียบในการแข่งขันทางการเกษตร: กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ผลิตไม้ผลในจังหวัดจันทบุรี โครงการวิจัยสินค้าโครงการหลวงที่มีศักยภาพในการแข่งขันภายใต้การเปลี่ยนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โครงการศึกษาแนวทางเพิ่มศักยภาพการแข่งขันธุรกิจอาหารไทยผ่านช่องทางการค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปี พ.ศ. 2559 การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจวางแผนการตลาดอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพาราในจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ชาเจียวกู่หลานเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของ ผลิตภัณฑ์ชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มหมอพื้นบ้านล้านนา ตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน การรวบรวมเชื้อพันธุ์มะแขว่นและพัฒนาศักยภาพการผลิตสู่พืชเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม (ชื่อข้อเสนอการวิจัยเดิม “การพัฒนาพันธุ์และประสิทธิภาพการผลิตผักเศรษฐกิจและผักท้องถิ่นที่มีศักยภาพเพื่อการแข่งขันทางการค้าใ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก