สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงลูกปลาช่อนด้วยอัตราความหนาแน่นต่างกัน
จินตนา โตธนะโภคา - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงลูกปลาช่อนด้วยอัตราความหนาแน่นต่างกัน
ชื่อเรื่อง (EN): Rearing od Stripped Snakehead, Channa striata (Bloch,1797) Fingerling with Different Stocking Densities
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จินตนา โตธนะโภคา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุภาพร มหันต์กิจ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการเลี้ยงปลาช่อนตัวยระดับความหนาแน่น 1. 2. 4 และ 8 ตัวต่อลิตร ลูกปลามีน้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 2.60±0.005 กรัม ความยาวเฉลี่ยเริ่มต้น 7.23 ±0.46 เชนติเมตร เลี้ยงในบ่อคอนครีตกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 90 เซนติเมตร ปริมาตรน้ำ 90 ลิตร ระบบน้ำไหลผ่านตลอดด้วยอัตราไหลของน้ำ 15 ลิตรต่อชั่วโมง ให้อาหารเม็ดสำเร็จรูประดับโปรตีนร้อยละ 40 โดยให้กินจนอิ่มวันละ 4 ครั้ง ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดเพชรบุรี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน 2547 เป็นเวลา 16 สัปดาห์ ผลการทดลองพบว่าปลาช่อนมีขนาดน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 19.32±0.459, 14.26±0.656,14.76±0.657 และ 14.64±0.473 กรัม ตามลำดับ น้ำหนักเพิ่มต่อวันมีค่าเท่ากับ 0.116±0.005, 0.103±0.006,0.108±0.005 และ 0.106±0.001 กรัม ตามลำดับ อัตราการจริญเติบโตจำเพาะมีค่าร้อยละต่อวันเท่ากับ 1.51±0.03, 1.51±0.04, 1.54±0.01 และ 1.53±0.0 ตามลำดับ ความยาวสุดท้ายเฉลี่ยเท่ากับ 12.67±0.27, 12.79±0.21. 12.84±0.19 และ 12.73±0.13 เซนติเมตร ตามลำดับ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อมีค่าเท่ากับ 1.91±0.033,1.93±0.075, 1.87±0.146 และ 199±0.11 และอัตรารอดตายมีค่าเท่ากับร้อยละ 95.56±2.225,90.93±1.697, 95.56±2.097 และ 95.32±2.560 ตามลำดับ โดยทุกชุดการทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ด้านต้นทุนการผลิตต่อตัวมีค่าเท่ากับ 3.43, 2.89, 2.50 และ 2.40 บาท และตันทุนการผลิตต่อกิโลกรัมเท่ากับ 240.06, 203.35, 168.95 และ 163.72 บาท ตามลำดับ จากการทดลองพบว่าระดับความหนาแน่นในการเลี้ยงปลาช่อนเท่ากับ 8 ตัวต่อลิตร มีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดแต่ก็ยังขาดทุน ดังนั้นการเพิ่มความหนาแน่นเพื่อลดต้นทุน และปรับปรุงวิธีการจัดการระหว่างการเลี้ยงเพื่อลดต้นทุนให้ต่ำลง เช่น ชนิดและคุณภาพอาหาร วิธีการให้อาหาร รูปแบบและวิธีการควบคุมน้ำ เป็นต้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
เอกสารแนบ: http://www.inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=158
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงลูกปลาช่อนด้วยอัตราความหนาแน่นต่างกัน
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2547
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
การเลี้ยงปลาช่อนงูเห่า (Channa marulius Hamilton, 1822) ในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นต่างกัน การเลี้ยงปลาเทพาในบ่อดินที่อัตราความหนาแน่นต่างกัน 3 ระดับ การเลี้ยงปลาเสือพ่นน้ำในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นต่างกัน การเลี้ยงปลาอีกงในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง การเลี้ยงปลาหมอในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน การอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามในอัตราความหนาแน่น 3 อัตรา การอนุบาลลูกปลาเทพาในระบบน้ำหมุนเวียนที่อัตราความหนาแน่นแตกต่างกัน การอนุบาลลูกปลาเทโพวัยอ่อนในบ่อซีเมนต์ด้วยอัตราความหนาแน่นต่างกัน การเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยระบบ LVHD (การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในกระชังด้วยอัตราความหนาแน่นสูง) การเลี้ยงปลาจาดในกระชังที่ระดับความหนาแน่นต่างกัน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก