สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในตำบลหนองกรวด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
สมชาย เล็งสุวรรณ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในตำบลหนองกรวด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมชาย เล็งสุวรรณ
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องสภาพการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลหนองกราด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกร สภาพการปลูกมันสำปะหลัง ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ประชากรเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง จำนวน 798 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 267 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย ตามสัดส่วนประชากร ใช้แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ชนิดโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสูงสุด-ต่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรอายุเฉลี่ย 43 ปี เป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 สมรสแล้ว จำนวนบุตรเฉลี่ย 2 คน สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 32.92 ไร่ มีที่ดินเป็นของตนเองและเช่าบางส่วน มีอาชีพหลักทำไร่ ทำนา มีประสบการณ์ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 11.45 ปี ปลูกมันสำปะหลังต้นฝน ใช้มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 เฉลี่ย 20.19 ไร่ พื้นที่ปลูกพันธุ์ระยอง 72 เฉลี่ย 10.12 ไร่ พื้นที่ปลูกพันธุ์ระยอง 5 เฉลี่ย 10.89 ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ มีแหล่งขยายพันธุ์เอง เตรียมดินโดยการไถเฉลี่ย 2-3 ครั้ง ปลูกมันสำปะหลังโดยการยกร่อง แบบปักตรงหรือปักเอียง กำจัดวัชพืชจำนวน 2 ครั้ง ใช้ปุ๋ยเคมี เฉลี่ย 19.33 ไร่ อัตราการเฉลี่ย 27.18 กิโลกรัมต่อไร่ พื้นที่การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เฉลี่ย 17.28 ไร่ อัตราเฉลี่ย 32.97 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรทั่วไป ไม่มีการใช้ปุ๋ยพืชสด เก็บเกี่ยวมันสำประหลัง โดยใช้แรงงานคน ขนมันสำปะหลัง มีเปอร์เซ็นต์แป้งมันสำปะหลังเฉลี่ย 27.67 เปอร์เซ็นต์ จำหน่ายผลผลิตมันสำปะหลังในอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ มีต้นทุนการผลิต 2,411.89 บาทต่อไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3.29 ตัน ราคากิโลกรัมละ 0.93 บาท เป็นเงิน 3,059.70 บาทต่อไร่ ได้กำไรไร่ละ 647.81 บาท ในภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาในระดับน้อย โดยปัญหามาก ได้แก่ ผลผลิตต่ำ ปัจจัยการผลิตมีราคาแพง ขาดแหล่งพันธุ์ดี ขาดแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ เกษตรกรไม่มีอำนาจต่อรอง ราคาต่ำไม่แน่นอน และขาดการรวมกลุ่ม สำหรับความต้องการในภาพรวมพบว่าเกษตรกรมีความต้องการระดับมาก โดยเกษตรกรมีความต้องการมากในประเด็น ความรู้การตลาด ความรู้การเพิ่มผลผลิต ความรู้การปรับปรุงดิน ความรู้การใช้ปุ๋ย ความรู้การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การศึกษาดูงาน ปัจจัยการผลิตปุ๋ยยาเคมี แหล่งจำหน่ายปัจจัยการผลิต แหล่งพันธุ์ดี แหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ การประกันราคาผลผลิต จัดหาแหล่งจำหน่ายผลผลิตและสนับสนุนการรวมกลุ่ม ข้อเสนอแนะควรสนับสนุนด้านวิชาการ ปัจจัยการผลิตราคาถูก จัดหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียนอัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มและประกันราคาผลผลิตมันสำปะหลัง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลหนองกรวด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในตำบลหนองกรวด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลบ้านเก่า อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา อาหารจากมันสำปะหลัง การผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลหนองหัวแก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรโครงการหมู่บ้านมันสำปะหลังพัฒนาในจังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในตำบลตะเคียน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก