สืบค้นงานวิจัย
การวิจัยและพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระยะที่ 2
ศาสตราจารย์ ดร.ศุภวรรณ ตันตยานนท์ - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่อง: การวิจัยและพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระยะที่ 2
ชื่อเรื่อง (EN): RESEARCH AND DEVELOPMENT ON RICE-SEEDING MACHINE (2nd Phase)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศาสตราจารย์ ดร.ศุภวรรณ ตันตยานนท์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ดำรงเดช ประมิติธนการ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:        สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การวิจัยและพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระยะที่ 2” แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.ดร.ศุภวรรณ ตันตยานนท์ เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยและพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวงอกแบบเป็นจุดกำหนดตำแหน่งและระยะห่างสม่ำเสมอสำหรับนาน้ำตม ต่อเนื่องจาการวิจัยและพัฒนาระยะแรกการวิจัยและพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระยะ 1           จากการศึกษาวิจัย พบว่า การวิจัยและพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระยะ 2 ได้ต่อยอดด้วยการสร้างเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใช้กลไกหยอดเมล็ดพันธุ์ที่ค้นพบในการวิจัยและพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระยะ 1 โดยเริ่มต้นสร้างเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวชนิดหยอด 2 แถวแบบลากด้วยแรงคน มีระยะห่างระหว่างแถว 30 ซม.เพื่อนำมาทดสอบการใช้งานในแปลงนา พบว่าต้องใช้แรงงานคนลากพร้อมกันมากถึง 4 คนและต้องผลัดเปลี่ยนเป็นระยะๆ รวมทั้งให้เกิดความเสียหายกับแถวเมล็ดพันธุ์ที่หยอดและผืนนาด้วย จึงเปลี่ยนเป็นการขับเคลื่อนด้วยรถไถเดินตามที่ชาวนาผู้ผลิตข้าวมีเกือบทุกครัวเรือน สอดคล้องกับข้อมูลที่เก็บจากผู้เชี่ยวชาญและชาวนาผู้ผลิตข้าวที่เข้าชมการทดสอบที่ต้องการให้ขับเคลื่อนเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยเครื่องยนต์ (motorization) โดยเชื่อมต่อกับชุดฮ่องเต้นั่งขับ การทดสอบใช้งานในแปลงนาได้ดำเนินการหลายครั้งในหลายสภาพดินเพื่อนำ ข้อบกพร่องจากการทดสอบเป็นข้อมูลปรับปรุงเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว แต่จำนวน 2 แถวหยอดเมล็ดพันธุ์ให้ประสิทธิภาพการทำงานต่ำเพราะความกว้างจากล้อถึงล้อที่ 60 ซม.แคบกว่าขอบนอกของล้อถึงล้อรถไถเดินตามที่ใช้ลาก เป็นเหตุให้ไม่สามารถหยอดเมล็ดพันธุ์ให้แถวต่อเนื่องได้ จึงได้พัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวชนิดหยอด 5 แถวที่ระยะห่างระหว่างแถว 25 ซม.มีผลให้เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวมีความกว้างที่ 125 ซม.เท่ากับระยะห่างของด้านนอกถึงขอบด้านนอกของล้อรถไถเดินตามขนาดล้อแคบ เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวจึงจะสามารถหยอดเมล็ดพันธุ์ให้แถวหยอดต่อเนื่องได้             ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้คือได้องค์ความรู้ในการพัฒนาต่เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวชนิดหยอดเมล็ดพันธุ์ในอนาคตต่อไป  
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-09-28
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-27
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
เผยแพร่โดย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP อนุสิทธิบัตร
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ กลไกการหยอดเมล็ดพันธุ์
เลขที่คำขอ 1603000343
วันที่ยื่นคำขอ 2015-05-30 12:00:00
เลขที่ประกาศ 12270
วันที่จดทะเบียน 2017-01-06 12:00:00
เลขที่จดทะเบียน 12270
วันที่ประกาศ 2017-01-06 12:00:00
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิจัยและพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระยะที่ 2
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
27 กันยายน 2559
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การวิจัยและพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว การวิจัยและพัฒนาเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว ระยะที่ 2 แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลของขนาดเมล็ดที่มีต่อความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ถั่วแลปแลป การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร วิจัยและพัฒนาเครื่องสาวไหมเด่นชัย 2 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ข้าว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก