สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดแพร่
บุญพจน์ หวังมีชัย - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดแพร่
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บุญพจน์ หวังมีชัย
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำโครงการแลกพันธุ์ถั่วเหลืองขึ้นตั้งแต่ปี 2530 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกถั่วเหลืองกันมากขึ้น ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนมากกำลังประสบปัญหาผลผลิตและคุณภาพต่ำ ดังนั้นในการศึกษาการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดแพร่จะสามารถเป็นตัวอย่างและใช้เป็นแนวทางในการแก้ไข และวางแผนพัฒนาส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองในจังหวัดนี้และท้องที่อื่นที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกัน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกร ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม แหล่งข่าวสาร ปัญหาและข้อคิดเห็นของเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี การรวบรวมข้อมูลทำโดยการสัมภาษณ์ประชากรตัวอย่างซึ่งเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนพันธุ์ถั่วเหลืองจำนวน 209 คน และได้วิเคราะห์ข้อมุลทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบการศึกษา ป.4 มีอายุเฉลี่ย 43.63 ปี และปลูกถั่วเหลืองเป็นอาชีพเสริมรายได้ โดยมีรายได้จากการขายผลผลิตเฉลี่ย 6,952 บาท/การปลูก 1 ครั้ง/ครอบครัว เกษตรกรมีที่ดินเป็นของตนเองเฉลี่ย 7.89 ไร่ ขนาดพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองเฉลี่ย 3.95 ไร่ ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 187 กก./ไร่ เกษตรกรไม่ค่อยมีการกู้ยืมเงินมาทำการเกษตร และไม่ค่อยให้ความสนใจข่าวสารความรู้ทางการเกษตรมากนัก ส่วนการใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรนั้น พันธุ์ถั่วเหลืองที่ใช้ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ สจ.4 ซึ่งใช้เมล็ดพันธุ์ในการปลูกเฉลี่ย 14.93 กก./ไร่ โดยแลกเปลี่ยนจากเกษตรตำบล ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยฮอร์โมนผสมน้ำและสารเคมีควบคุมโรคและแมลงฉีดพ่นพร้อมกัน และมีการใช้ไรโซเบี่ยมคลุกเมล็ดปลูกด้วย แต่การใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ถูกต้อง การทดสอบสมติฐานพบว่า การใช้เทคโนโลยีของเกษตรกรจะมีความสัมพันธ์กับอายุ ระดับการศึกษา การเข้าเป็นสมาชิกลุ่ม ส่วนผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจะมีความสัมพันธ์กับการใช้ไรโซเบี้ยมเท่านั้น ปัญหาและข้อคิดเห็นของเกษตรกรคือ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจต่อการปลูกถั่วเหลืองเป็นอาชีพหลัก ทำให้ขาดความสนใจในเรื่องข่าวสารความรู้ทางการเกษตร ส่วนข้อคิดเห็นนั้นเกษตรกรมีความต้องการถั่วเหลืองพันธุ์ใหม่ (พันธุ์ เชียงใหม่ 60) ที่ให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์เก่า (สจ.4 และ สจ.5)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2533
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2533
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดแพร่
กรมส่งเสริมการเกษตร
2533
การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี 2547 การใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี สภาพการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย โครงการวิจัยศึกษาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลือง การใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตกุ้ง ศึกษาผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยี การผลิตยางของเกษตรกร การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวในฤดูฝนของเกษตรกรในแหล่งผลิตที่สำคัญบางจังหวัด การผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในจังหวัดอุดรธานี การถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและมูลค่าของข้าวสาลี นำสู่ความยั่งยืนของชุมชนเกษตรกร อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มผลผลิตและพยากรณ์การผลิตข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก