สืบค้นงานวิจัย
ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2544-2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดนนทบุรี
พิทยา ติวา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2544-2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดนนทบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิทยา ติวา
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ผลการดำเนินงานโครงการ ความคิดเห็น ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ในการดำเนินโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรปี 2544 - 2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดนนทบุรี จำนวน 17 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพื้นฐาน จำนวน 5 กลุ่ม กลุ่มเชิงธุรกิจ จำนวน 6 กลุ่ม กลุ่มธุรกิจ จำนวน 6 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติเป็นค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีระยะเวลาการจัดตั้งกลุ่มเฉลี่ย 6.7 ปี ประมาณครึ่งหนึ่ง จัดตั้งกลุ่มก่อนปี พ.ศ. 2530 และมีจำนวนสมาชิกเมื่อเริ่มจัดตั้งกลุ่มเฉลี่ย 17.54 คน มีจำนวนสมาชิกกลุ่มในปัจจุบันเฉลี่ย 26.24 คน มีจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรเฉลี่ย 26.52 คน มีจำนวนเงินทุนหมุนเวียนในปัจจุบันเฉลี่ย 42,100 บาท กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทุกกลุ่มมีแหล่งที่มาของเงินทุนหมุนเวียนในปัจจุบันจากเงินค่าหุ้นสมทบ และงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทุกกลุ่มมีการจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร โดยทุกกลุ่มได้ดำเนินการจัดทำแผนด้านการผลิต แผนด้านการตลาดและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณและมีแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณด้านปรับปรุงโรงเรือนเฉลี่ยเป็นเงิน 28,153.24 บาท ด้านวัสดุและอุปกรณ์การผลิตเฉลี่ยเป็นเงิน 42,582.21 บาทและ ด้านบรรจุภัณฑ์และวัตถุดิบเฉลี่ยเป็นเงิน 37,589.25 บาท มีจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมหุ้นเฉลี่ย 22.25 คน ต่อกลุ่มโดยได้กำหนดราคาหุ้นสมทบของสมาชิก ราคาหุ้นละ 20 บาท คิดเป็นจำนวนเงินค่าหุ้นสมทบของสมาชิกเฉลี่ย 6,678.25 บาท กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทุกกลุ่ม มีการจดบันทึกด้านบัญชี รายรับและรายจ่ายที่เป็นปัจจุบัน มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เป็นไปตามแผน มีการจัดทำรายงานการปฎิบัติงานและการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ได้รับการติดตามงานจากเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอและระดับจังหวัด กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทุกกลุ่มได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการแปรรูปสินค้าเกษตร ในเรื่องเทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิตเกษตร การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การตลาด และ การจัดทำบัญชี โดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทุกกลุ่ม สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในเรื่อง การผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์ ก่อนเข้าร่วมโครงการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีกิจกรรมการผลิตเฉลี่ย 1.77 กิจกรรมประมาณครึ่งหนึ่ง ไม่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ ได้แก่เครื่องหมายอาหารและยา (อย.) เครื่องหมายมาตรฐานการผลิตอาหารชุมชน (มผช.) มีต้นทุนการผลิตต่อปีเฉลี่ย 46,168.87 บาท รายได้การผลิตต่อปีเฉลี่ย 70,597.76 บาท กำไรจากการผลิตต่อปีเฉลี่ย 24,428.94 บาท กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทุกกลุ่มมีแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายในหมู่บ้าน ภายในอำเภอการเฉลี่ย 1.66 แห่ง ภายในจังหวัดเฉลี่ย 1.33 แห่ง และต่างจังหวัดเฉลี่ย 1.16 แห่งหลังเข้าร่วมโครงการ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทุกกลุ่ม มีกิจกรรมการผลิต 1 กิจกรรม ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 74,703.64 บาท รายได้การผลิตเฉลี่ย 111,133.05 บาท กำไรจากการผลิตเฉลี่ย 36,429.41 บาท มีการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตราฐานของผลิตภัณฑ์ ได้รับมาตราฐาน -อาหารและยา (อย.)มาตรฐานการผลิตอาหารชุมชน (มผช.) โดยการปรับปรุงคุณภาพบรรจุภัณฑ์ฉลากบรรจุภัณฑ์ และมีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรร้อยละ 36.36 มีเครื่องหมายการรับรอง คุณภาพของกิจกรรมการผลิต กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.47 ใช้แหล่งวัตถุดิบ จากใช้วัตถุดิบที่กลุ่มผลิตเองคิดเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์เฉลี่ย 54 % กลุ่มแม่บ้าน -เกษตรกรทุกกลุ่ม มีการบริหารงบประมาณโครงการ มีแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายในหมู่บ้าน 1 แห่ง ภายในอำเภอ 1 แห่ง มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แบบขายปลีกเฉลี่ย 55.32 % ขายส่งเฉลี่ย 43.14 % กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรปี 2544 - 2546 อยู่ในระดับเห็นด้วยโดยมีคะแนนเฉลี่ยรวม 4.07 % ปัญหาอุปสรรคของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรได้แก่ การขาดแคลนแรงงานในการผลิต การระดมหุ้นจากสมากชิก คุณภาพบรรจุภัณฑ์ เครื่องจักรกล วัตถุดิบมีไม่สม่ำเสมอ การเก็บผลิตภัณฑ์ สถานที่ผลิต ความร่วมมือของสมาชิกกลุ่ม การตลาด การรับรองคุณภาพสินค้า คุณภาพสินค้าไม่สม่ำเสมอ เทคโนโลยีการผลิต การวางแผนการผลิต การบริหารกลุ่มของคณะกรรมการ เงินทุนหมุนเวียน และ คุณภาพวัตถุดิบ ข้อเสนอแนะ การดำเนินโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2544 - 2546 นอกจากการอบรมให้ความรู้ต่อกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแล้ว ควรคำนึงถึงความจำเป็นในเรื่องของการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพของสินค้า ต้องมีการชี้แจงถึงผลการดำเนินกิจกรรมควบคู่ไปกับการชี้แจงการใช้จ่ายเงินทุนของกลุ่ม และ ควรมีการกำหนดค่าแรงสำหรับสมาชิกแม่บ้านเกษตรกร ที่ดำเนินการผลิตนอกเหนือจากเงินกำไรที่แบ่งเป็นเงินปันผลค่าหุ้นให้แก่สมาชิก
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2544
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2544-2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดนนทบุรี
พิทยา ติวา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรปี 2544-2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กรุงเทพมหานคร ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในจังหวัดมุกดาหาร ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรปี 2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรจังหวัดยโสธร ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโนนแดง ตำบลโนนแดง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรเชิงธุรกิจของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่อโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 ในจังหวัดนครราชสีมา ความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 จังหวัดพิษณุโลก ความต้องการฝึกอบรมการแปรรูปสินค้าเกษตรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรปี 2546-2547 ในอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 ระดับธุรกิจ ในจังหวัดร้อยเอ็ด

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก