สืบค้นงานวิจัย
สภาวะธาตุอาหารพืชในใบของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งในสวนของเกษตรกรที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตต่างกันพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยแม่สูน จังหวัดเชียงใหม่
วาสนา วิรุญรัตน์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: สภาวะธาตุอาหารพืชในใบของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งในสวนของเกษตรกรที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตต่างกันพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยแม่สูน จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Leaf Nutrient Status of ‘Sai Nam Pueng’ Mandarin in the Farmers’ Orchards with Different Productivity Potential Levels, in Mae Soon Sub-Watershed, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วาสนา วิรุญรัตน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Vassana Viroonrat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อำพรรณ พรมศิริ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Ampan bhromsiri
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาสภาวะธาตุอาหารในใบของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งในสวนเกษตรกร 50 ราย ที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตแตกต่างกัน ในลุ่มน้ำแม่สูน จังหวัดเชียงใหม่ โดยคัดเลือกสวนส้มจาก 3 พื้นที่ คือ พื้นที่ลาดเท ที่ราบเชิงเขาและ      ที่ราบลุ่ม จำนวน 22, 17 และ 11 สวนตามลำดับ  ประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตของสวนโดยการสำรวจภาคสนาม และใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์เกษตรกร เลือกต้นส้มจำนวน 100 ต้นต่อสวน เพื่อประเมินศักยภาพการผลิตและ    ได้แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ 80%, 60%, 40%, 30% และ 20% โดยพิจารณาจาก ลักษณะใบ ขนาดและสีใบ อาการขาดธาตุอาหาร การเกิดโรครากเน่าโคนเน่าและโรคกรีนนิ่ง ตรวจสอบสภาพต้นส้มในสวนโดยการสำรวจ      2 ระยะคือ  หลังการตัดแต่งกิ่งในเดือนมีนาคม และช่วงผลส้มมีขนาดเท่าผลมะนาวในเดือนกรกฎาคม เก็บตัวอย่างใบที่สามจากกิ่งที่ไม่ติดผลของแต่ละสวนในเดือนกรกฎาคม 2553 เพื่อวิเคราะห์ความเข้มข้นทั้งหมดของธาตุ P, K, Ca, Mg, Fe, Mn, Cu, Zn และ B พบว่า สวนส้มในพื้นที่ลาดเทและ ที่ราบเชิงเขาที่มีศักยภาพการให้ผลผลิต 80% คิดเป็นร้อยละ 36 และ 29 ตามลำดับ แต่ไม่พบในที่ราบลุ่ม สวนส้มที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตต่ำกว่า 40% ในที่ราบลุ่มและที่ราบเชิงเขามีร้อยละ 45.5 และ 41.2 ตามลำดับ ขณะที่สวนส้มในพื้นที่ลาดเทมีเพียงร้อยละ14  สวนส้มที่มีธาตุ P, K และ Mg ในใบระดับที่เหมาะสมหรือสูงเป็นสวนที่ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพิ่ม สวนส้มที่มีระดับ Ca ในใบต่ำพบในพื้นที่ลาดเทที่มีศักยภาพการให้ผลผลิต 60%, 40% และ 20% รวมทั้งสวนส้มที่มีศักยภาพ 30% ในพื้นที่ราบลุ่ม จุลธาตุส่วนใหญ่อยู่ในระดับเหมาะสมหรือสูง ยกเว้น Mn และ Cu ในสวนส้มพื้นที่ลาดเทที่ระดับ 30% ที่อยู่ในระดับต่ำ และ B ในสวนส้มที่มีศักยภาพ 60%, 30% และ 20% รวมทั้งสวนส้มที่มีศักยภาพ 20% ในพื้นที่ราบเชิงเขา
บทคัดย่อ (EN): The study on leaf nutrient status of ‘Sai Nam Pueng’ mandarin trees in farmers’ orchards of different productivity potentials was conducted in Mae Soon sub-watershed, Chiang Mai Province. Fifty orchards were selected from different three sites; sloping area, flat plain at lower slope and lowland including 22, 17 and 11 orchards, respectively. Orchard productivity was evaluated through field survey and farmer interview using questionnaires. One hundred trees per orchard were selected for determination of productivity levels. Five productivity levels were determined as 80%, 60%, 40%, 30% and 20% based on sizes and colors of leaves, plant nutrient deficiency symptoms and occurrences of root rot and greening diseases. Field observation of mandarin trees was taken two times; after branch pruning in March and fruiting in July. The third mature leaves from the the non fruit bearing branches of each orchard were collected in July 2010 for analysis of concentrations of total P, K, Ca, Mg, Fe, Cu, Mn, Zn and B. The percentages of orchard with 80% productivity potential in the sloping area and the flat plain at the lower slope were 36 and 29, respectively, and none was found in the lowland. Those with 40% potential in the lowland and the flat plain at the lower slope were about of 45.5% and 41.2%, whereas the sloping area was 14%. The optimum and high P, K and Ca levels in leaves implied that fertilizers were not necessary for the orchards. The orchards in the sloping area with 60, 40 and 20% potential, and that with 30% potential in the lowland had low Ca. Most trace elements were in the optimum and high levels, except Mn and Cu in the sloping area with 30% potential which were low. The low B was found in the orchards in the sloping area with 60%, 30% and 20% potential, and those with 20% potential in the flat plain at the lower slope.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาวะธาตุอาหารพืชในใบของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งในสวนของเกษตรกรที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตต่างกันพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยแม่สูน จังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2553
สภาพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชุมพร การศึกษาธาตุอาหารพืช สำหรับพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ 2. สถานะธาตุอาหารพืช ที่มีผลต่อผลผลิตและความเข้มข้นของธาตุอาหารของหญ้าซิกแนลเลื้อยในชุดดินบ้านทอน การศึกษาธาตุอาหารในพืช สำหรับพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ 1. สถานะธาตุอาหารพืช ที่มีผลต่อผลผลิต และความเข้มข้นของธาตุอาหารของหญ้าชันอากาดในชุดดินบ้านทอน การศึกษาะธาตุอาหารพืช สำหรับพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ 3. สถานะธาตุอาหารพืชที่มีผลต่อผลผลิตและความเข้มข้นของธาตุอาหารของหญ้ากินนีสีม่วงในชุดดินลำปาง ชุดดินหางดง และชุดดินแม่สาย การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา อิทธิพลของปูนขาวและธาตุสังกะสีที่มีผลต่อการตั้งตัวความมีชีวิตรอดและผลผลิตของถั่วเวอราโนสะไตโลปลูกในพื้นที่สวนป่า ผลผลิตของหญ้าพืชอาหารสัตว์ในท้องที่จังหวัดเพชรบุรี การศึกษาสภาพการเลี้ยงโคขุนของเกษตรกรในจังหวัดชุมพร ทัศนคติของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการวิจัยทดสอบพันธุ์และกระจายพันธุ์โคนม TMZ ในระดับเกษตรกร การปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำนมในฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยในภาคตะวันออก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก