สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตยางพาราของเกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางใหม่
สาลี่ ชินสถิต - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตยางพาราของเกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Para Rubber Production Technology of Farmers in New Area Plantation of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สาลี่ ชินสถิต
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตยางพาราของเกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลการใช้เทคโนโลยี และปัญหาในการผลิตยางพาราของเกษตรกร เหตุผลหรือสาเหตุในการไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนและดำเนินงานวิจัยพัฒนาทดสอบในพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาการผลิตยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่ของประเทศไทย โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการใช้แบบสัมภาษณ์ ระหว่างเดือนมกราคม 2554 - สิงหาคม 2554 สุ่มตัวอย่างเกษตรกรที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่ ที่มียางพาราอายุ 5 ปีขึ้นไป โดยวิธี Purposive Sampling เขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมพื้นที่ทั้งหมด 34 จังหวัด จำนวนเกษตรกรตัวอย่าง 14,114 ราย พื้นที่ 189,719 ไร่ ประกอบด้วย เกษตรกรที่มีสวนยางก่อนเปิดกรีด 7,029 ราย พื้นที่ 88,864 ไร่ เปิดกรีดยางแล้ว 7,085 ราย พื้นที่ 100,801 ไร่ จากการสัมภาษณ์เกษตรกร พบว่า เกษตรกรผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 63 มีอายุระหว่าง 41-60 ปี ร้อยละ 63 มีการศึกษาอยู่ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 72 สถานะผู้ให้สัมภาษณ์ เป็นเจ้าของสวน ร้อยละ 97 มีประสบการณ์ในการทำสวนยางพาราระหว่าง 6 - 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 59 และ เป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ ร้อยละ 81 โดยเป็นสมาชิกของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางสูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 70 ทั้งนี้เกษตรกรร้อยละ 52 มีรายได้ตั้งแต่ 50,001 - 200,000 บาทต่อปี ด้านแหล่งเงินทุนในการทำสวนยาง พบว่าส่วนใหญ่คือร้อยละ 67 ใช้เงินทุนส่วนตัว ส่วนจำนวนแปลงยางที่ปลูกพบว่าร้อยละ 70 มีจำนวนแปลงปลูก 1 แปลง สภาพการถือครองเป็นเจ้าของที่ดินร้อยละ 99 โดยส่วนใหญ่มีพื้นที่ถือครองน้อยกว่า 10 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 56 สำหรับอายุยางพบว่ามีอายุ 5 - 10 ปี ร้อยละ 85 การใช้เทคโนโลยีการผลิตยางพาราของเกษตรกร เช่น เทคโนโลยีด้านพันธุ์ การเตรียมพื้นที่ปลูก การปลูก และการปฏิบัติดูแลอื่นๆ ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติสอดคล้องกับคำแนะนำ โดยพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุดคือ RRIM 600 พบร้อยละ 97 ด้านการเตรียมพื้นที่ปลูก มีการไถเตรียมดินร้อยละ 87 ส่วนใหญ่มีการวางแนวปลูกในทิศตะวันออก-ตะวันตก ยกเว้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีการวางแนวปลูกในทิศเหนือ-ใต้ คิดเป็นร้อยละ 79 ใช้ระยะปลูก 3 X 7 เมตร ร้อยละ 53 ด้านศัตรูยางพาราพบปัญหาโรคยางพาราร้อยละ 34 โรคที่พบมากที่สุดคือโรคราแป้งร้อยละ 48 ยกเว้นในภาคตะวันออกพบ โรคใบร่วงและฝักเน่าสูง พบปัญหาแมลงและศัตรูยางพาราร้อยละ 31 โดยแมลงที่พบเป็นปัญหามากที่สุดคือปลวก ส่วนปัญหาวัชพืชพบร้อยละ 80 วัชพืชที่พบเป็นปัญหามากที่สุดคือ หญ้าคา ส่วนเทคโนโลยีที่เกษตรกรส่วนใหญ่มีการปฏิบัติไม่เป็นไปตามคำแนะนำคือการใส่ปุ๋ยทั้งในระยะก่อนและหลังการเปิดกรีด การใส่ปุ๋ยก่อนเปิดกรีดพบว่าเกษตรกรมีการใส่ปุ๋ยสูตรที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำในปัจจุบันคือ 20-10-12 คิดเป็นร้อยละ 38 สำหรับการใส่ปุ๋ยหลังเปิดกรีด มีการใส่ปุ๋ยสูตรที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ คือ 30-5-18 หรือ 29-5-18 คิดเป็นร้อยละ 32 สาเหตุที่ไม่ใส่ปุ๋ยตามสูตรที่แนะนำนั้น เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่หาซื้อปุ๋ยสูตรดังกล่าวไม่ได้ สูตรปุ๋ยที่เกษตรกรนิยมใช้มากในระยะก่อนเปิดกรีด และหลังเปิดกรีดเป็นสูตรเดียวกันคือ สูตร 15-15-15 จำนวนครั้งที่ใส่นั้นทั้งระยะก่อนเปิดกรีดและหลังเปิดกรีด มีการใส่จำนวน 2 ครั้งต่อปี คิดเป็นร้อยละ 72 และ 74 ตามลำดับ สำหรับเทคโนโลยีด้านการกรีดยางพบว่า ระดับความสูงที่มีการเปิดกรีดที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ คือที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร มีเกษตรกร ร้อยละ 53 ที่ปฏิบัติ ที่เหลือเป็นการเปิดกรีดที่ระดับต่ำกว่าที่แนะนำ เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เลือกกรีดในตำแหน่งที่ตนเองคิดว่าเหมาะสม สำหรับขนาดเส้นรอบวงต้นยางโดยเฉลี่ยที่เปิดกรีด ที่ 50 เซนติเมตรขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 64 ในด้านระบบกรีดนั้นพบว่าร้อยละ 50 ใช้ระบบ กรีดครึ่งลำต้น กรีด 2 วันเว้น 1 วัน และร้อยละ 29 ใช้ระบบกรีดหนึ่งในสามของลำต้น กรีด 2 วันเว้น 1 วัน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตยางพาราของเกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางใหม่
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เปิดแล้วกรีดในจังหวัดศรีสะเกษ การทดสอบพันธุ์ยาง (ชุด RRIT 400) ในพื้นที่ปลูกยางใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เทคโนโลยีการผลิตยางพาราในสวนยางที่เปิดกรีดจังหวัดหนองบัวลำพู ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการปลูกยางพาราในพื้นที่อำเภอนิคมน้ำอูน จังหวัดสกลนคร การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก