สืบค้นงานวิจัย
โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่ง
วิวัฒน์ ภาณุอำไพ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่ง
ชื่อเรื่อง (EN): Research of Potato Production Technology
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิวัฒน์ ภาณุอำไพ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วิวัฒน์ ภาณุอำไพ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ปัญหาการผลิตมันฝรั่งในประเทศไทย คือ หัวพันธุ์มันฝรั่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง การผลิตในช่วงฤดูฝนได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ทำให้ปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงงานแปรรูปมันฝรั่ง รวมทั้งมีปัญหาการระบาดของศัตรูพืชมาก จากปัญหาดังกล่าวนี้ จึงได้ศึกษาเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่งเพื่อหาเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่งทั้งหัวสด และหัวพันธุ์ให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี รวมทั้งหาวิธีการควบคุมศัตรูพืชที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย ไม่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งคุณภาพ กิจกรรมเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่งในฤดูฝน และกิจกรรมการจัดการศัตรูมันฝรั่ง ดำเนินการทดลองตั้งแต่ ปี 2549-2553 ผลการดำเนินงานกิจกรรมการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งคุณภาพ จากการเปรียบเทียบวัสดุปลูกในการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งชั้น pre-basic seed (Go) ภายในโรงเรือน พบว่า วัสดุปลูกพีทมอสส์ให้การเจริญเติบโตและผลผลิตดีที่สุด แต่มีต้นทุนการผลิตสูง วัสดุปลูกผสมดินทราย แกลบดิบ แกลบดำ และขุยมะพร้าวให้การเจริญเติบโตและผลผลิตดีรองลงมา และมีต้นทุนต่ำที่สุด จากการศึกษาการผลิตหัวพันธุ์ชั้น pre-basic seed (Go) โดยระบบ aeroponic เปรียบเทียบกับระบบใช้วัสดุปลูก พบว่า ระบบ aeroponic ให้จำนวนหัวต่อต้นมากกว่าระบบใช้วัสดุปลูก แต่เมื่อคิดผลผลิตต่อพื้นที่แล้วระบบใช้วัสดุปลูกจะให้ผลผลิตสูงกว่าเนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์ต้นตายน้อยกว่าการปลูกในระบบ aeroponic การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งในแปลงเกษตรกรโดยนำหัวพันธุ์ Go ปลอดโรคที่ผลิตในศูนย์วิจัยของกรมวิชาการเกษตร ให้เกษตรกรนำไปปลูกในแปลงของเกษตรกร เพื่อผลิตเป็นหัวพันธุ์ G1, G2 และ G3 ในแต่ละปี ตามลำดับ พบว่า เกษตรกรสามารถผลิตหัวพันธุ์ G1, G2 และ G3ได้ผลผลิตเฉลี่ย 688.5, 709.7 และ 936.9 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 400 ตารางเมตรตามลำดับ โดยมีต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมของหัวพันธุ์ G1 เฉลี่ย 28.61 บาทต่อกิโลกรัม หัวพันธุ์ G2 เฉลี่ย 16.30 บาทต่อกิโลกรัมและหัวพันธุ์ G3 เฉลี่ย 11.84 บาทต่อกิโลกรัม เปรียบเทียบราคาหัวพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศเฉลี่ยที่ราคากิโลกรัมละ 30 บาท เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าหัวพันธุ์ลงได้ 4.63, 45.67 และ 60.53 เปอร์เซ็นต์ของหัวพันธุ์ G1, G2 และ G3 ที่ผลิตไว้ใช้เอง จากการศึกษาประเมินความเสียหายผลผลิตของหัวพันธุ์มันฝรั่งที่ติดเชื้อไวรัส PVY โดยใช้หัวพันธุ์มันฝรั่งที่ติดโรค PVY 0, 10, 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ ปลูกเปรียบเทียบกับหัวพันธุ์ที่ติดโรค PVY 100 เปอร์เซ็นต์ พบว่า แต่ละกรรมวิธีให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่หัวพันธุ์ที่เป็นโรค PVY 100 เปอร์เซ็นต์ จะให้คุณภาพหัวมันฝรั่งขนาดเล็กมากกว่ากรรมวิธีอื่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการดำเนินงานกิจกรรมเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่งในฤดูฝน จากการศึกษาระยะปลูกและการผ่าหัวพันธุ์ที่มีผลต่อมันฝรั่งพันธุ์แอตแลนติก พบว่า ระยะปลูกชิด 15 เซนติเมตร ให้ผลผลิตสูงกว่าระยะปลูก 20 และ 25เซนติเมตร แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ วิธีการปลูกมันฝรั่งโดยใช้หัวพันธุ์ทั้งหัวปลูก จะให้ผลผลิตสูงกว่าวิธีการผ่าหัวพันธุ์เป็นชิ้นปลูก ตั้งแต่ 17.5-43.6 เปอร์เซ็นต์ การเกิดหัวกลวงน้อยกว่าวิธีการผ่าหัวปลูกตั้งแต่ 6.2 – 11.6 เปอร์เซ็นต์ในช่วงฤดูฝน ส่วนช่วงฤดูหนาวพบเปอร์เซ็นต์การเกิดหัวกลวงน้อยมาก จากการศึกษาการจัดการปุ๋ยต่อคุณภาพหัวมันฝรั่งพันธุ์แอตแลนติค พบว่า การพ่นปุ๋ยทางใบแมกนีเซียมร่วมกับแคลเซียมโบรอนแก่ต้นมันฝรั่งจะให้ผลผลิตสูงสุด และคุณภาพหัวด้านเปอร์เซ็นต์หัวใหญ่ดีกว่ากรรมวิธีอื่นๆ ผลการดำเนินงานกิจกรรมการจัดการศัตรูมันฝรั่ง จากการศึกษาการควบคุมโรคเหี่ยวแบคทีเรียของมันฝรั่งที่เกิดจากเชื้อ Ralstonia solanacearum โดยวิธีผสมผสาน พบว่า การใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ DOA-WB4 (Bacillus subtillis) เพียงอย่างเดียวคลุกหัวมันฝรั่งก่อนปลูกและราดด้วยเชื้อปฏิปักษ์ดังกล่าวจำนวน 3 ครั้ง คือ เมื่อต้นมันฝรั่งอายุได้ 10, 20 และ 30 วัน พบว่า ให้ผลในการควบคุมได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใช้วิธีการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ การปลูกพืชหมุนเวียน การไถตากดิน การใช้สารสมุนไพร โดยพบเปอร์เซ็นต์การเป็นโรคเหี่ยวอยู่ระหว่าง 2.8-5.1 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่กรรมวิธีเปรียบเทียบพบการเป็นโรค 58 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้พัฒนาการใช้เชื้อปฏิปักษ์ DOA-WB4 เป็นชุดสำเร็จเพื่อขยายผลการใช้ชุดควบคุมโรคเหี่ยวแบคทีเรียของมันฝรั่งในแปลงเกษตรกร พื้นที่รวม 1,200 ไร่ใน 7 จังหวัด พบว่า เชื้อปฏิปักษ์ DOA-WB4 สามารถควบคุมการเกิดโรคเหี่ยวของมันฝรั่งได้ผลดี ลดการเกิดโรคเหี่ยวได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาประสิทธิภาพของสาร abamectin ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมในมันฝรั่ง พบว่า การใช้สาร abamectin 1.8 %EC ราดดิน หรือจุ่มหัวพันธุ์มันฝรั่งก่อนปลูก สามารถลดการเกิดรากปมของมันฝรั่งพันธุ์แอตแลนติคและการขยายพันธุ์ของไส้เดือนฝอยรากปมได้จากการทดลองปลูกมันฝรั่งในกระถาง แต่ไม่มีประสิทธิภาพดีพอในแปลงทดลอง การควบคุมไส้เดือนฝอยในแปลงโดยใช้สาร abamectin เพียงอย่างเดียวอาจไม่คุ้มค่า เนื่องจากต้องใช้สารเคมีในอัตราสูง อย่างไรก็ตาม การจุ่มหัวพันธุ์มันฝรั่งด้วยสาร abamectin ก่อนปลูก เป็นแนวทางที่เป็นไปได้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม แต่ต้องใช้ร่วมกับวิธีการควบคุมไส้เดือนฝอยวิธีอื่นด้วย จากการใช้เชื้อราปฏิปักษ์ Paecilomyces lilacinus ควบคุมไส้เดือนฝอยศัตรูมันฝรั่ง พบว่า การใช้เชื้อรา P. lilacinus ในรูปชีวภัณฑ์สูตรผง Laicinus WP รองก้นหลุมปลูกมันฝรั่งในอัตรา 3 กรัมต่อต้น ช่วยลดปริมาณโรครากปมและหัวหูดของมันฝรั่งพันธุ์แอตแลนติคได้ ในการทดสอบความต้านทานโรคใบไหม้ของสายต้นมันฝรั่งแอตแลนติคที่คัดเลือก ได้ศึกษาปฏิกิริยาของสายต้นมันฝรั่งแอตแลนติคที่คัดเลือกต่อโรคใบไหม้จำนวน 14 สายต้น พบว่า สายต้นที่คัดเลือก มีการลุกลามพัฒนาของโรคใบไหม้น้อยกว่าอยู่ในระดับเดียวกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับมันฝรั่งพันธุ์แอตแลนติกปกติ และสายต้นที่คัดเลือกให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์แอตแลนติคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของโรคไวรัสมันฝรั่ง จากการสำรวจและจำแนกโรคไวรัสของมันฝรั่งที่เกิดจากเชื้อ PVS PVX และPLRV โดยเก็บตัวอย่างใบมันฝรั่งจากแปลงปลูกของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง และตาก มาตรวจสอบด้วยวิธี GLIFT KIT และ NCM-ELISA ในห้องปฏิบัติการ จากตัวอย่างทั้งหมดพบการระบาดของโรคไวรัส PLRV ในพื้นที่ปลูกมันฝรั่งในเขต อ.ไชยปราการ อ.แม่อาย และ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ส่วนเชื้อไวรัส PVS และ PVX ไม่พบการระบาดในพื้นที่ปลูกมันฝรั่ง จากการทดลองใช้สารฆ่าแมลงชนิดต่าง ๆ ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและควบคุมแมลงพาหะของเชื้อไวรัสมันฝรั่ง พบว่า การใช้สารคาร์โบซัลแฟนและสารอะบาเม็กตินสามารถช่วยลดปริมาณของแมลงลงได้มากกว่าการใช้สารปิโตเลียมออยล์ ไวท์ออยล์ สารสกัดสะเดา และสารคาร์โบฟูราน แต่ไม่สามารถลดการระบาดของโรคได้
บทคัดย่อ (EN): High Production cost due to high cost of imported seed , low productivity in rainy season result inadequate supply of potato for processing companies and incidence of pests and disease are the major constraints of potato production in Thailand. From these problems , the studies were conducted to develop potato production technology both seed and tubers for high productivity and good quality, including high efficiency and safety of pest management control. The project consist of 3 activities : Seed potato production technology for good guality seed , Potato production technology for rainy season and Potato pests and disease management. The studies were conducted from October, 2006 to September , 2010 . In the seed potato production study , results of the comparison of substrate for pre-basic (G0) production showed that peatmoss gave the highest vegetative growth and yield but there was high production cost. Mixtures of soil , sand , rice husk , rice burned husk and coconut fiber husk was considered a suitable substrate in growth and yield performance of potato and gave the lowest production cost. A study of pre- basic seed production by aeroponic culture. Results showed that the minituber number per plant in aeroponic system was higher than that in substrate culture but the yield per square meter in substrate culture was higher because of high percentage survival of plants than in aeroponic culture. In the efficiency seed production study in farmers’ field , the pre- basic seed (G0) which produced in Research Center of the Department of Agriculture were distributed to farmers for three generations of basic seed production (G1-G3) in their own field. Results showed that the farmers could obtained yield of G1 , G2 and G3 seed at average 688.5 , 709.7 and 936.9 kilogram per 400 square meter respectively. The production cost for G1 , G2 and G3 seed were 28.61 , 16.30 and 11.84 baht per kilogram of seed. Compared to the price of imported seed average at 30 baht per kilogram , the farmers could reduced seed cost at 4.63 , 45.67 and 60.53% of G1 , G2 and G3 seed. A study was conducted to determine the effect of PVY infection on yield of seed potato. The degree to PVY infected seed at 0 , 10 , 20 and 30% were planted to compare with 100% PVY infected seed. Results found that the yield not significantly differed among treatments but the 100% PVY infected seed gave smaller tubers significant higher than those from other treatments. In the study of potato production technology in rainy season , the effect of spacing and cutting seed was study on potato variety Atlantic. Results showed that close spacing at 15 cm. gave higher yield than spacing of 20 and 25 cm but no significantly different. Planting potato by using whole seed gave higher yield than cut seed by 17.5 – 43.6 % and incidence of hollow heart in tuber was lower by 6.2- 17.6% in rainy season , but in cool season did not found the incidence of hollow heart. In the fertilizer management study, a trial was conducted to determine the effect of foliar fertilizers on quality of potato variety Atlantic. The results showed that the application of foliar fertilizer magnesium with calcium boron gave the highest yield and higher proportion of larger tuber than those from other foliar fertilizers. In the studies of pest management , a trial was carried out to determine the integrated control of bacterial wilt caused by Ralstonia solanacearum. The trial demonstrated that the seed treated with antagonist DOA – WB4 (Bacillus subtillis) before planting and subsequent soil treated with this antagonist at 10, 20 and 30 days after planting potato showed effectively control compared to the application with other control methods such as crop rotation , drying , heating soil , using of medicinal plant extraction. The intergrated control treatments significantly reduced the incidence at bacterial wilt at 2.8 – 5.1 % compared to the untreated control with 58% of bacterial wilt. The instant kit of antagonist DOA – WB4 for bacterial wilt control was developed and used in the farmers’ fields at total area of 1200 rai in 7 provinces. Results demonstrated that the application of instant kit effectively controlled bacterial wilt and reduced the incidence up to 80%. In the potato root-knot nematode control, the efficiency of abamectin was studied. The results showed that the soil application at 1.8% EC abamectin or seed treated before planting effectively reduced the incidence of root-knot on potato variety Atlantic and reduced the nematode multiplication only in the pot trial but no effective in field trial. Control of root-knot nematode by using of abamectin may be extreamly costly due to the high rate of application. However, the seed treated of abamectin before planting may be appropriated but had to applied together with other methods. A study was conducted to determine the effect of fungus Paecilomyces lilacinus on the controlling of root-knot nematode. The results indicated that the application of the fungus P. lilacinus on commercial bioproduct Laicinus in the formulation of wetable powder at rate of 3 gram per hill at basal dressing application before planting effectively reduced the incidence of root- knot and gall on tubers of potato variety Atlantic. In the screening of late blight resistant, fourteen selected clones of genetic variation potato variety Atlantic were evaluated on reaction to late blight compare to normal Atlantic. Results of the reaction showed that the disease incidence of selected clones had significantly lower severity compared to normal Atlantic and almost selected clones gave higher yield than that of Atlantic. In the potato virus study , the survey to monitor and identify potato virus PVS PVX and PLRV was carried out in farmers’field at Chiang Mai , Lampang and Tak provinces. Results of the NCM-ELISA test of leaves sampling revealed that the infection of PLRV was wide spread in potato planting areas at Chaiprakarn, Mae-ai and Sansei districts in Chiang Mai province but PVS and PVX were not detected in all farmers’fields. Several insecticides were tested to control insect transmission of potato virus. The results indicated that spraying of cabosulfan and abamectin gave more effective reduction of aphid population than the application of petroleum oil, white oil, azadizachtin and carbofuran but not prevent infection of virus.
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่ง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2553
โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตมันฝรั่งที่มีคุณภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย โครงการวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง โครงการวิจัยพัฒนาพันธุ์มันฝรั่งและเทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกมันฝรั่ง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด การบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อผลิตลำไยนอกฤดูในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ระยะที่ 1 การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตป่านศรนารายณ์ของเกษตรกรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตเห็ด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก