สืบค้นงานวิจัย
การผลิตไข่ไหมป่าอีรี่และการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ในภาคเกษตรกร
บุษรา จงรวยทรัพย์, สุชาติ จุลพูล, ลำแพน สารจันทึก, รุ่งรัตน์ อิฐรัตน์, ฉัตรชัย อาภรณ์รัตน์, อรวรรณ ดอกเกี๋ยง, เยาวภา สุกฤตานนท์, กอบกุล แสนนามวงษ์ - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: การผลิตไข่ไหมป่าอีรี่และการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ในภาคเกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Eri Silkworm Egg Production and It?s Rearing at the Farmer Practice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ไหมป่าอีรี่ (Eri silkworm : Philosamia ricini Boisd) เป็นแมลงเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีการนำมาเลี้ยงและใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เนื่องจากมีความแข็งแรง เลี้ยงง่าย ใช้วิธีการเลี้ยงเช่นเดียวกับไหมกินใบหม่อน พืชอาหารหลักของไหมป่าอีรี่คือ ใบละหุ่งและใบมันสำปะหลัง โครงการนำร่องการเลี้ยงไหมป่าอีรี่สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ดำเนินกิจกรรมการผลิตไข่ไหมป่าอีรี่ และการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ในภาคเกษตรกร โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (หนองคาย) หรือ ศมม.หนองคาย และ ศมม.ชัยภูมิ ได้ผลิตไข่ไหมป่าอีรี่แจกจ่ายให้แก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ เลี้ยงเพื่อจำหน่ายรังไหมสด โดยทำการทดลองกับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ เกษตรกรจังหวัดขอนแก่น, ชัยภูมิ, มหาสารคาม และมุกดาหาร จังหวัดละ 5 ราย รวม 20 ราย น้ำหนักไข่ไหม 25 กรัม/ราย/รุ่น เลี้ยงจำนวน 2 รุ่น/ปี ระยะเวลา 2 ปี (ปี 2551 และ 2552) รวม 4 รุ่น ทั้งนี้ก่อนที่เกษตรกรจะเริ่มเลี้ยงไหม ได้มีการฝึกอบรมหลักสูตร ?การเลี้ยงไหมป่าอีรี่? สำหรับเกษตรกรทั้ง 20 ราย ระยะเวลา 4 วัน ณ ศมม.หนองคาย ผลการเลี้ยงไหมในภาคเกษตรกร พบว่า เกษตรกรทั้ง 20 รายสามารถเลี้ยงไหมป่าอีรี่ได้ดี โดยเฉพาะเกษตรกรในจังหวัดชัยภูมิและขอนแก่น เลี้ยงไหมป่าอีรี่ ได้ผลผลิตรังไหมที่มีคุณภาพ และน้ำหนักรังสดรวมสูงกว่าเกษตรกรในจังหวัดมุกดาหารและมหาสารคาม จึงทำให้มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เมื่อเกษตรกรมีประสบการณ์ในการเลี้ยงไหมป่าอีรี่มากขึ้นจะสามารถเลี้ยงไหมได้ดีขึ้น และได้รับผลผลิตรังไหมเพิ่มขึ้นด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
เอกสารแนบ: https://qsds.go.th/newosrd/wp-content/uploads/sites/115/2021/08/2553-7.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตไข่ไหมป่าอีรี่และการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ในภาคเกษตรกร
กรมหม่อนไหม
2553
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมหม่อนไหม
บันทึกอบรมผู้เข้าร่วมงานกับผู้เชี่ยวชาญครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เกี่ยวกับเทคนิคการเลี้ยงไหม (2514) พัฒนาการผลิตไข่ไหมป่าอีรี่พันธุ์ขยาย และความพึงพอใจการเลี้ยงไหมป่าอีรี่ในภาคเกษตรกร ผลของการขนส่งไข่ไหมในเวลาต่างกันต่อการเลี้ยงและผลผลิตรังไหม การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในการผลิตไข่ไหม การวิจัยและพัฒนาการผลิตไข่ไหมอีรี่จำนวนมากเพื่อเกษตรกร การเปรียบเทียบคุณลักษณะพันธุ์และระยะเวลาการเก็บรักษาไข่ไหมป่าอีรี่(Philosamia ricini Boisduval) การเพาะเลี้ยงและการผลิตถั่งเฉ้า(Cordyceps spp.) ด้วยไหมอีรี่-ไหมป่าชนิดต่างๆ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลี้ยงไหมของเกษตรกรในจังหวัดขอนแก่น การเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยลูกผสมของเกษตรกรจังหวัดชัยภูมิ การเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยลูกผสมของเกษตรกรจังหวัดชัยภูมิ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก