สืบค้นงานวิจัย
การรวบรวมและจำแนกสายพันธุ์เห็ดหอมที่เพาะเป็นการค้าด้วยเครื่องหมายโมเลกุลอาร์เอพีดี
เรือนแก้ว ประพฤติ, ปรีชา รัตนัง - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การรวบรวมและจำแนกสายพันธุ์เห็ดหอมที่เพาะเป็นการค้าด้วยเครื่องหมายโมเลกุลอาร์เอพีดี
ชื่อเรื่อง (EN): Collection and Classification of Commercial Strain of Shiitake Mushroom by Molecular Marker; RAPD
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Rueankaew Praphruet
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: เห็ดหอมสายพันธุ์ที่เพาะเป็นการค้าจำนวน 43 ตัวอย่าง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปางและลำพูน ได้ถูกนำมาศึกษาความหลากหลายของสายพันธุ์และจำแนกความแตกต่างของสายพันธุ์ด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี โดยการ   นำตัวอย่างดอกเห็ดสดมาสกัดดีเอ็นเอและเพิ่มปริมาณด้วยไพรเมอร์แบบสุ่มขนาด 10 นิวคลีโอไทด์ จำนวน 27 ไพรเมอร์ พบว่ามี 21 ไพรเมอร์ที่สามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอได้ให้แถบดีเอ็นทั้งหมด 178 เป็นแถบดีเอ็นเอที่แตกต่างกัน 99 แถบ   คิดเป็น 55.62 เปอร์เซ็นต์  มี 10 ไพรเมอร์ ให้แถบดีเอ็นเอที่พบเฉพาะในบางสายพันธุ์เท่านั้น สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องหมายโมเลกุลในการแยกชนิดของสายพันธุ์เห็ดหอม 4 สายพันธุ์ออกจากตัวอย่างอื่นได้อย่างชัดเจน ได้แก่ สายพันธุ์ของโครงการหลวงหมอกจ๋าม สายพันธุ์ของผู้ใหญ่มิตร สายพันธุ์ของคุณวิไลวรรณและสายพันธุ์จากคุณอนุชิต  การวิเคราะห์ค่าความดัชนีเหมือนทางพันธุกรรมพบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 0.311 – 0.963 เมื่อสร้างเป็นแผนภูมิแสดงความใกล้ชิดทางพันธุกรรมด้วยวิธี UPGMA  สามารถแยกสายพันธุ์เห็ดหอมได้เป็น 6 กลุ่ม
บทคัดย่อ (EN): Fourty-three commercial strains of shiitake mushroom, Lentinus edodes (Berk.) Sing. collected from northern area in Chiang Mai, Chiang Rai, Lampang and Lamphun, were evaluated the genetic diversity and strain identification by random amplified polymorphic DNA (RAPD) technique. Genomic DNA was extracted from fresh mushroom and RAPD analysis was performed using 27 decamer primers. 21 out of 27 primers produced 99 polymorphic bands. A total of 178 amplification products were scored of which 55.62% were polymorphic. Ten primers gave identical polymorphic band in a particular strain which could be used to distinguish that strain from the others. The identical bands were observed in four strains ‘Royal project’, ‘Mit’, ‘Wilai’ and ‘Anuchit’. The genetic similarity index of these strains ranged  from 0.311  to  0.963. A dendrogram generated by Unweighted Pair Group Method (UPGMA) analysis showed that the commercial strain of shiitake clustered into 6 groups. Molecular genetic markers obtained with the RAPD technique can be used to differentiate commercial strains of L. edodes.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การรวบรวมและจำแนกสายพันธุ์เห็ดหอมที่เพาะเป็นการค้าด้วยเครื่องหมายโมเลกุลอาร์เอพีดี
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2553
เอกสารแนบ 1
การรวบรวมและจำแนกสายพันธุ์เห็ดหอมที่เพาะเพื่อการค้าด้วยเครื่องหมายโมเลกุล อาร์เอพีดี ระยะเวลาการแช่ก้อนเชื้อในน้ำเย็นที่มีผลต่อผลผลิตของเห็ดหอม เห็ดที่รับประทานได้และที่น่าสนใจ ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากเส้นใยเห็ดหอมที่เลี้ยงในอาหารเหลวต่อเชื้อก่อโรคท้องร่วงและข้ออักเสบในสุกร เห็ดกลุ่มโบลีตส์ของประเทศไทย เห็ดบางชนิดในสกุล Ganoderma และสกุลใกล้เคียง ชนิดของเห็ดสกุล Lepiota และสกุลใกล้เคียงในประเทศไทย การเปรียบเทียบสายพันธุ์เห็ดหอมในภาคเหนือ การศึกษาความหลากหลายและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชสกุลคราม (Indigofera L.) ด้วยเทคนิคเครื่องหมายโมเลกุล การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก