สืบค้นงานวิจัย
ผลของสารเคลือบและวิธีการเคลือบที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษลูกผสม
บุญมี ศิริ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของสารเคลือบและวิธีการเคลือบที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษลูกผสม
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of coating substances and methods on quality and longevity of hybrid super sweet corn seed
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บุญมี ศิริ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Boonmee Siri
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารเคลือบและวิธีการเคลือบที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บ รักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษลูกผสม โดยทดลองเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยกรรมวิธีและสารเคลือบแตกต่างกันโดยการ เคลือบที่มีสวนผสมของพอลิมอร์ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 การเคลือบด้วยพอลิเมอร์เพียงอย่างเดียว ได้แก่ เคลือบ cellulose ชนิดละลายน้ำ (WSC, เคลือบ polyacrylate ชนิดไม่ละลายน้ำ (PC), เคลือบ Acryic polymer AP) กลุ่มที่ 2 เคลือบ ด้วยพอลิเมอร์ในกลุ่มที่ 1 ร่วมกับ metalax/ และกลุ่มที่ 3 เป็นการเคลือบ 2 ชั้น โดยเคลือบด้วยพอลิเมอร์แล้วเคลือบทับ ด้วยพอลิเมอร์ผสม metalaxy จากนั้นตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ 3 ระยะ คือ หลังการเคลือบ หลังการเร่งอายุที่ 41 'C. 100%RH นาน 72 ชม. และการเก็บรักษาในสภาพควบคุม (15 '1, 40%RH) และสภาพห้อง โดยตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง คุณภาพเมล็ดพันธุ์ในลักษณะต่างๆ คือ ความงอกของเมล็ดที่เพาะในห้องปฏิบัติการและสภาพไร่และความเร็วในการงอก ผลการทดลองพบว่า หลังการเคลื่อบ มีแนวโน้มทำให้ความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่เพาะในห้องปฏิบัติการลดลงเล็กน้อย แต่เมื่อเพาะในสภาพไร่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติกับเมล็ดไม่เคลือบสาร และหลังการเร่งอายุเมล็ดพบว่า การเคลือบ เมล็ดพันธุ์ทำให้ความงอกของเมล็ดพันธุ์ลดลง โดยเฉพาะการเคลือบด้วย metalaxy/ และสารเคลือบที่มีส่วนประกอบของ polyacylate ทำให้ความงอกของเมล็ดพันธุ์ลดลง เมื่อเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เป็นเวลา 6 เดือน พบว่า ความงอกของเมล็ดพันธุ์ ที่เคลือบสารแล้วเพาะในห้องปฏิบัติการและในสภาพไร่ไม่แตกต่างทางสถิติจากเมล็ดที่ไม่เคลือบ อย่างไรก็ตาม การเคลือบ ด้วยสารเคลือบที่มีส่วนประกอบของ polyacrylate และ acryic polymer ทำให้ความงอกของเมล็ดพันธุ์ลดลงอย่างซัดเจน
บทคัดย่อ (EN): The objective of this experiment was to study the effects of coating substances and coating methods on seed quality and longevity of hybrid super sweet corn seed. There were 3 groups. Group 1: coated with polymer contained water soluble cellulose (WSC), water insoluble polyacrylate (PC), acrylic polymer (AP) Group 2: coated with polymer in group 1+metalaxyl and Group 3: coated with polymer and polymer+metalaxyl. Seed quality was determined after coating, accelerated aging (at 41°C, 100% RH for 72 hours), and after storing under controlled (15°C, 40% RH) and ambient conditions. The seeds were determined for seed germination in laboratory and field conditions and speed of germination. The results showed that the germination in both laboratory and field were not significantly different between coated and uncoated seeds, however, accelerated aging coated seed had lower germination, particulary seed coated with metalaxyl. It was shown that the germination in laboratory and field condition were not significantly different after storing for 6 months. However, the coated seeds with polyacrylate and acrylic polymer showed low germination.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=06-Boonmee.pdf&id=225&keeptrack=80
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของสารเคลือบและวิธีการเคลือบที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษลูกผสม
บุญมี ศิริ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของสารเคลือบที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษ ผลของสารเคลือบเมล็ดด้วยสารป้องกันราน้ำค้างต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษลูกผสมหลังการเคลือบและการเก็บรักษา ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสง Rhodamin-B ต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลสารเคลือบผิวคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากผักตบชวาต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวลองกอง ผลของการเคลือบสารเรืองแสงต่อคุณภาพและการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสมหลังการเร่งอายุ ผลของการใช้สารเคลือบผิวที่มีต่อคุณภาพและการเปลี่ยนแปลงสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพผลเสาวรสพันธุ์สีเหลือง คุณภาพและระยะเวลาการเก็บรักษาไข่แดงเค็มอบพร้อมปรุง ผลของสารก่อฟิล์มที่มีต่อคุณลักษณะของการเคลือบและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ผลของสารเคลือบรับประทานได้ที่มีต่อคุณภาพของผักแช่เยือกแข็ง อิทธิพลของสารเคลือบผิวที่รับประทานได้ที่มีต่อคุณภาพของลำไยแช่แข็ง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก