สืบค้นงานวิจัย
การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ
ละม่อมศิลป์ ผิวพรรณ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ละม่อมศิลป์ ผิวพรรณ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคมบางประการของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วม ในกิจกรรมกลุ่มสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร โดยศึกษาจากสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 377 คน ระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2547 ผลการศึกษา พบว่า สมาชิกมีอายุเฉลี่ย 41.5 ปี ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับคู่สมรสและจบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.87 คน สมาชิกร้อยละ 85.4 มีอาชีพทำนาเป็นหลัก โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 10.7 ไร่ต้อครัวเรือน ระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เฉลี่ย 4.13 ปี โดยส่วนใหญ่มีสถานภาพในกลุ่ม คือ เป็นสมาชิกร้อยละ 80.9 สมาชิกส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในทางบวกต่อคณะกรรมการกลุ่ม การได้รับข่าวสารจากสื่อมวลชน พบว่า ร้อยละ 92.8 ได้รับข่าวสารทางโทรทัศน์ เจ้าหน้าที่มีบทบาทในการติดต่อสื่อสารและให้คำแนะนำแก่กลุ่มในด้านต่าง ๆ คือ เจ้าหน้าที่เคหกิจเกษตร สมาชิกส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการรับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรน้อย ส่วนการมีส่วนร่วมในการพัฒนากลุ่มและการมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาอุปสรรคในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม ปัญหาเรื่องไม่มีเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมมีแนวโน้มที่จะเป็นปัญหามากที่สุด ส่วนปัญหาในการดำเนินงานของกลุ่มส่วนใหญ่ คือ การขาดวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน ร้อยละ 70.82 และเห็นว่ากลุ่มควรจัดหาวัสดุในการดำเนินงาน เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม และกระตุ้นให้สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มมากขึ้น โดยสมาชิกต้องการให้เจ้าหน้าที่สนับสนุนด้านเงินลงทุนมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ต้องการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน ต้องการความรู้เพิ่มเติมจากการแปรรูปผลผลิตเกษตร ร้อยละ 74.5 รองลงมาได้แก่การปรับปรุงคุณภาพสินค้า การตลาด การบริหารจัดการกลุ่ม ศิลปประดิษฐ์และหัตถกรรม การปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนากลุ่มส่วนใหญ่เห็นว่าสมาชิกควรร่วมกิจกรรมกลุ่มมากขึ้น ร้อยละ 67.4 รองลงมาได้แก่เจ้าหน้าที่ควรจัดสรรการสนับสนุนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 63.9 จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ขนาดพื้นที่ทำการเกษตรมีผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม สถานภาพในกลุ่มของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีผลต่อการมีส่วนร่วมในการรับความรู้จากเจ้าหน้าที่ การพัฒนากลุ่ม และการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีผลต่อการมีส่วนร่วมในการรับความรู้จากเจ้าหน้าที่ และการพัฒนากลุ่ม ความคิดเห็นที่มีต่อคณะกรรมการกลุ่มไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการรับความรู้จากเจ้าหน้าที่ การพัฒนากลุ่ม และการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดศรีสะเกษ
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
ผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการดำเนินงานพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดภูเก็ต สภาพการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรของอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านธุรกิจกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดราชบุรี ผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร : กรณีศึกษาในบ้านหนองคู ตำบลนาเวียง อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ บทบาทการดำเนินงานกิจกรรมเชิงธุรกิจของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในจังหวัดมหาสารคาม ความคิดเห็นของคณะกรรมการสภากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลต่อการดำเนินงานสภากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบล ปี 2548 : กรณีศึกษาจังหวัดอำนาจเจริญ สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเหล่าป่าเป้ด ตำบลนาโสก อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก