สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มผลผลิตยางพาราและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง
พิชิต สพโชค - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มผลผลิตยางพาราและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง
ชื่อเรื่อง (EN): Increasing Rubber Yield and Latex Stimulation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พิชิต สพโชค
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: กิจกรรมย่อยที่ 1 ทดลองเพื่อหาระบบกรีดต้นยางพาราที่เหมาะสมในระยะเปลือกเดิม เพื่อเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพแรงงานกรีด ลดจำนวนวันกรีด ความยาวรอยกรีดและความถี่ของการกรีด โดยการใช้ระบบกรีด 1/2S d/2, 1/2S d/3, 1/3S 3d/4, 1/3S d/2 และ 1/3S d/3 ร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ทดลองกับต้นยางพันธุ์ RRIM 600 ดำเนินการทดลอง ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตกระบี่ ส่วนแยกยางพารา จ.กระบี่ วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ ตั้งแต่ ปี 2540 - 2543 ผลการทดลองพบว่า ระบบกรีด 1/2S d/3 + ethephon 2.5% ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูง 78.65 กรัม/ต้น/ครั้งกรีด ผลผลิตสะสม 25.17 กิโลกรัม/ต้น ค่าปริมาณเนื้อยางแห้งสูง 41.20 เปอร์เซ็นต์ มีจำนวนวันกรีดตลอดการทดลอง 420 วัน น้อยกว่าการกรีดปกติ (1/2S d/2) 37 เปอร์เซ็นต์ แรงงานกรีดสามารถรับผิดชอบแปลงกรีดได้ 3 แปลง เนื้อที่ 21.3 ไร่ โดยแรงงานกรีดมีรายได้ 439.12 บาท/คน/วัน ส่วนการใช้แรงงานกรีดให้มีประสิทธิภาพ พบว่าการกรีดระบบ 1/3S d/3 + ethephon 2.5% ให้ผลผลิตเฉลี่ย 60.03 กรัม/ต้น/ครั้งกรีด ผลผลิตสะสม 19.21 กิโลกรัม/ต้น คนกรีดมีเนื้อที่แปลงกรีดรับผิดชอบสูง 30 ไร่/คน จำนวนต้นยางต่อครั้งกรีด 700 ต้น/คน สามารถหมุนเวียนการกรีดได้ 3 แปลงกรีด และรายได้ของแรงงานกรีด 469.15 บาท/คน/วัน มากกว่ากรีดปกติ (1/2S d/2) ถึง 59 เปอร์เซ็นต์ กิจกรรมย่อยที่ 2 ศึกษาการกรีดและการเจาะ ศึกษาการกรีดร่วมกับการเจาะอัดแก๊สเอทธีลีน เพื่อเพิ่มผลผลิตในฤดูฝนโดยใช้ระบบกรีด 1/2S d/2 สลับกับการเจาะอัดแก๊สเอทธีลีนโดยใช้ระบบ 1Pc d/3 + ethylene เพื่อเพิ่มวันกรีดให้การเจาะมีประสิทธิภาพและได้รับผลเต็มที่ในช่วงฤดูฝน ดำเนินการทดลอง ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตยะลา จ.ยะลา กับต้นยางพันธุ์ สงขลา 36 อายุ 22 ปี วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ การทดลองมี 5 วิธีการประกอบด้วย กรีดแบบปกติวันเว้นวัน, เจาะ 1 รอยทุก 3 วัน, กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน 8 เดือน แล้วเปลี่ยนเป็นเจาะ 1 รอยทุก 3 วัน 4 เดือนในฤดูฝน, กรีดครึ่งต้นวันเว้นวันร่วมสารเคมีเร่งน้ำยางแล้วใช้อุปกรณ์กันฝน และกรีดหน้าสูง 1 ใน 8 ของต้นทุก 3 วันร่วมกับการอัดก๊าซ ผลจากการทดลองตั้งแต่ ปี 2544 - 2546 พบว่าการกรีด 8 เดือนสลับการเจาะ 4 เดือน ให้ผลผลิตสะสมสูง 27.89 กิโลกรัม/ต้น (9.30 กิโลกรัม/ปี) มีจำนวนครั้งกรีด 439 ครั้ง ผลผลิตเฉลี่ย 63.54 กรัม/ต้น/ครั้ง โดยการกรีดปกติ ½S d/2 ให้ผลผลิตสะสมน้อยคือ 22.03 กิโลกรัม/ต้น (7.34 กิโลกรัม/ต้น/ปี) แต่ค่า DRC สูง 36.04 เปอร์เซ็นต์ และการกรีด 1 ใน 8 ของลำต้น กรีด1 วันเว้น 2 วัน ร่วมกับการใช้แก๊ส ethylene ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 75.40 กรัม/ต้น/ครั้งกรีด กิจกรรมย่อยที่ 3 การกรีดร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางบางระยะ การทดลองที่ 3.1 ศึกษาการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางในบางระยะร่วมกับการกรีดระบบ 1/2S d/2 เพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ดำเนินการทดลองศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตกระบี่ ส่วนแยกยางพารา จ.กระบี่ กับต้นยางพันธุ์ GT1 อายุ 19 ปี วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ วิธีการทดลอง 7 วิธีการ โดยทดลองใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ความเข้มข้น 2.5% ปีละ 10, 8, 6, 4, 3, 2 ครั้ง และไม่ใช้ ผลจากการทดลองตั้งแต่ ปี 2540 – 2543 พบว่า ระบบกรีด 1/2S d/2 ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 8 ครั้ง/ปี ให้ผลผลิตสะสมและผลผลิตเฉลี่ยสูงคือ 21.84 กิโลกรัม/ต้น และ 40.52 กรัม/ต้น/ครั้งกรีด มากกว่า control 53 เปอร์เซ็นต์ โดยการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 4-10 ครั้งให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่มีความแตกต่างทางสถิติมากกว่าการไม่ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 10 ครั้ง/ปี มีแนวโน้มการเพิ่มของผลผลิตลดลง การทดลองที่ 3.2 ศึกษาการกรีดเป็นช่วงระยะเวลา (periodic tapping) โดยกรีดระบบ 1/2S d/2 กรีด 3 เดือนหยุด 1 เดือน และกรีด 9 เดือนหยุด 3 เดือน ร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางความเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางและแรงงานกรีด โดยลดจำนวนวันกรีดลงแต่ไม่ลดผลผลิตรวม ดำเนินการทดลอง ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตกระบี่ ส่วนแยกยางพารา จ.กระบี่ กับต้นยางพันธุ์ GT 1 จำนวน 30 วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ วิธีการทดลอง 9 วิธีการ ซึ่งมีการกรีดร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง โดยแต่ละวิธีการหยุดกรีดเดือนที่แตกต่างกันรวม 3 เดือน/ปี เทียบกับการกรีดตลอดโดยไม่ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง จากผลการทดลองตั้งแต่ เดือนมกราคม 2540-ธันวาคม 2543 พบว่าการกรีดร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง โดยหยุดกรีดเดือน กุมภาพันธ์ มิถุนายน และตุลาคม มีจำนวนครั้งกรีด 416 ครั้ง น้อยกว่าการกรีดตลอดโดยไม่ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง (control) 120 ครั้ง ให้ผลผลิตสะสมสูงคือ 20.60 กิโลกรัม/ต้น มากกว่า control 25 เปอร์เซ็นต์ สำหรับผลผลิตเฉลี่ย พบว่าการกรีดร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง โดยหยุดกรีดเดือนมกราคม-มีนาคม ซึ่งเป็นช่วงผลัดใบ ให้ผลผลผลิตเฉลี่ยสูงคือ 51.65 กรัม/ต้น/ครั้งกรีด มากกว่า control 68 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตสะสม 19.06 กิโลกรัม/ต้น มากกว่า control 16 เปอร์เซ็นต์ วันกรีดน้อยกว่าการกรีดตลอด 167 ครั้ง เมื่อจัดกลุ่มการกรีด 3 เดือนหยุด 1 เดือน และการกรีด 9 เดือนหยุด 3 เดือน พบว่าเฉลี่ยผลผลิตแต่ละกลุ่มใกล้เคียงกันมาก โดยผลผลิตเฉลี่ยแต่ละครั้งกรีดมากกว่า control 59 เปอร์เซ็นต์ กิจกรรมย่อยที่ 4 เปรียบเทียบผลผลิตในระยะเปลือกงอกใหม่ของพันธุ์ต่างๆ เปรียบเทียบผลผลิต จากการไม่ใช้และใช้สารเคมีเร่งน้ำยางของพันธุ์ต่างๆ เพื่อศึกษาการตอบสนองของพันธุ์ RRIT 163 RRIT 251 RRIM 600 สงขลา 36 และ GT 1 ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยยางนราธิวาส กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน (½ S d/2) จากการทดลองตั้งแต่ปี 2545 – 2546 พบว่า พันธุ์ GT 1 และ RRIM 600 ตอบสนองการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง โดยให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น 15.76 และ 15.19 กรัม/ต้น/ครั้ง มากกว่าการไม่ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 55 และ 31 เปอร์เซ็นต์ ส่วนพันธุ์ RRIT 163, RRIT 251 และ สงขลา 36 ไม่ตอบสนองการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง โดยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 4.04, 1.83 และ 0.92 กรัม/ต้น/ครั้งกรีด มากกว่าการไม่ใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 3-11 เปอร์เซ็นต์ กิจกรรมย่อยที่ 5 เปรียบเทียบระบบกรีดต่างๆ ในยางพันธุ์ RRIM 600 อายุ 20 ปีก่อนโค่น ดำเนินการทดลองโดยใช้ระบบกรีดคือ 1/2S d/2, 1/2S d/2+ET, 1/2S d/2+ET, 1/8S d/3+gas, 10cm S d/3 และ 1Pc d/3+gas ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยยางนราธิวาส ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2545 – พฤศจิกายน 2546 พบว่าระบบกรีด 10cm S d/3 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดคือ 87.29 กรัม/ต้น/ครั้งกรีด มากกว่าการกรีด 1/2S d/2 ถึง 69 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ระบบกรีด 1/3S d/2 + ET 2.5% ให้ผลผลิตสะสมสูงสุด 11.57 กิโลกรัม/ต้น มากกว่าการกรีด 1/2S d/2 ถึง 36 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จำนวนวัน การกรีดวันเว้นวัน มีจำนวนวันมากที่สุดคือ 165 วัน การกรีด 1/2S d/2 มีค่า DRC สูงสุดคือ 38.79 เปอร์เซ็นต์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มผลผลิตยางพาราและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง
พิชิต สพโชค
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การใช้ระบบกรีดร่วมกับสารเคมีเร่งน้ำยาง เพื่อเพิ่มผลผลิตยางพันธุ์ GT 1 ในระยะเริ่มเปิดกรีด การวิจัยการใช้สารเคมีที่เหมาะสมในการผลิตยาง การเพิ่มผลผลิตยางหลังการผลัดใบโดยการหยุดพักกรีดและใช้สารเคมีเร่งน้ำยางเมื่อเปิดกรีด การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับสารเคมีเร่งน้ำยาง เพื่อเพิ่มผลผลิตยางพันธุ์ GT 1 หน้ากรีดแรกที่ปลูกในชุดดินสัตหีบ การกรีดร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางบางระยะ กลุ่มวิจัยยางพารา การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การใช้ตัวเจือจางสารเคมีเร่งน้ำยางที่เหมาะสมในท้องถิ่น การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับสารเคมีเร่งน้ำยางเพื่อเพิ่มผลผลิตยางพันธุ์ RRIM 600 ในระยะกรีด เปลือกงอกใหม่ ที่ปลูกในชุดดินพังงา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก