สืบค้นงานวิจัย
การดำเนินงานกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กรณีศึกษา : กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางรักน้อย ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
พยุห์ แก้วคูณ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กรณีศึกษา : กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางรักน้อย ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พยุห์ แก้วคูณ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง การดำเนินงานกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางรักน้อย ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานกิจกรรมวิสาหกิจชุมชน ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานกิจกรรมวิสาหกิจชุมชน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์คณะกรรมการกลุ่มและสมาชิกจำนวน 47 คน ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 52.04 ปี ส่วนใหญ่สมรสแล้ว สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น มีอาชีพหลักทำสวน รายได้เฉลี่ย 117,000 บาทต่อปี มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มเฉลี่ย 7.06 ปี สมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มเพราะต้องการได้รับความรู้เกี่ยวกับการเกษตรและเคหกิจเกษตร สมาชิกส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และเคยเข้ารับการฝึกอบรมเรื่องการแปรรูป มีหุ้นในกลุ่มเฉลี่ย 3.19 หุ้น มีรายได้จากเงินปันผลเฉลี่ย 98.30 บาทต่อปี ส่วนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน ในด้านการบริหารจัดการคน มีคณะกรรมการกลุ่มทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ทิศทาง และควบคุมการทำงานด้านต่าง ๆ ส่วนสมาชิกมีบทบาทในการสนับสนุนการทำงานและตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการ มีการประชุมคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ และมีการพัฒนาความรู้ความสามารถของสมาชิก ด้านการบริหารจัดการการผลิต สถานที่ผลิตมีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยอย่างเหมาะสมและสะอาด มีวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการผลิตเพียงพอ มีแหล่งวัตถุดิบที่แน่นอน กระบวนการผลิตถูกสุขอนามัย มีการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพสินค้า ด้านการบริหารจัดการการตลาด สินค้าหลักของกลุ่มคือกล้วยอบแผ่น มีคุณภาพดี กลุ่มเป็นผู้กำหนดราคาจำหน่ายเอง ขายส่งให้แก่ลูกค้าขาประจำเป็นหลัก ไม่เน้นกิจกรรมส่งเสริมการขาย ด้านการบริหารจัดการการเงิน กลุ่มมีรายรับจากการจำหน่ายสินค้าเท่านั้น รายจ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการผลิต ส่วนต่างของรายรับและรายจ่ายน้อย จัดสรรกำไรเป็นเงินปันผลแก่สมาชิก เป็นค่าตอบแทนแก่คณะกรรมการ และเป็นเงินกองกลางของกลุ่ม การมีส่วนร่วมของสมาชิก พบว่า สมาชิกมีส่วนร่วมระดับปานกลางในการร่วมวางแผนและการร่วมรับประโยชน์ และมีส่วนร่วมน้อยในการร่วมดำเนินการและการร่วมประเมินผล ปัญหาในการดำเนินงาน พบว่า มีปัญหาน้อย ทั้งด้านการจัดการคน ด้านการผลิต ด้านการตลาด และด้านการเงิน ปัญหาที่สำคัญในแต่ละด้านคือ สมาชิกขาดการมีส่วนร่วมในการทำงาน ขาดแคลนแรงงาน ราคาจำหน่ายต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และต้นทุนการผลิตสูง ตามลำดับ สำหรับข้อเสนอแนะของสมาชิก ได้แก่ ควรมีเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตที่ทันสมัย ควรเพิ่มความหลากหลายของบรรจุภัณฑ์ ควรปรับปรุงสถานที่ผลิตให้มีความสะดวกสบายในการปฏิบัติงาน ควรเพิ่มราคาจำหน่ายสินค้า และควรมีการผลิตสินค้าชนิดอื่นด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การดำเนินงานกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กรณีศึกษา : กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางรักน้อย ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสู่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เขตที่ 1 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรของอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดปัตตานี การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกิจกรรมของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2544-2546 ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดนนทบุรี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร : ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหลักสอง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน : กรณีโรงสีชุมชนครบวงจรตำบลไก่คำ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ผลการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร : กรณีศึกษาในบ้านหนองคู ตำบลนาเวียง อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาบ่อ ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก