สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกในพื้นที่นาจังหวัดสระแก้ว
รัชนี พุทธา - มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกในพื้นที่นาจังหวัดสระแก้ว
ชื่อเรื่อง (EN): Effciency of baby corn varieties grown on paddy sield in Sakaeo province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัชนี พุทธา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การใช้ประโยชน์พื้นที่หลังนาก่อให้เกิดรายได้แก่เกษตรกร โดยการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ให้ผลผลิตเร็ว 45-60 วัน สามารถนำฝักอ่อน บริโภคสด และผลพลอยได้ ได้แก่ เปลือก ไหม และต้นข้าวโพด มาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้ข้าวโพดฝักอ่อนมีการเจริญเติบโตและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ทำการปลูกได้ และส่งผลต่อการมีผลผลิตที่สูงและมีคุณภาพที่ดีของข้าวโพดฝักอ่อน การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาประสิทธิภาพของพันธุ์ข้าวโพดในพื้นที่นาจังหวัดสระแก้ว เพื่อการผลิตฝักอ่อนและผลพลอยได้ ทำการศึกษา 2 งานทดลอง ในพื้นที่นาของคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว และแปลงนาของเกษตรกร วางแผนการทดลองแบบสุ่มบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design, RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนจำนวน 5 พันธุ์ ได้แก่แปซิฟิค 271 แปซิฟิค 321 ซีพี B468 เป็นหนึ่งและเกษตรศาสตร์ 3 เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต องค์ประกอบผลผลิต ผลผลิต และคุณภาพของผลผลิต จำนวน 17 ลักษณะ ได้แก่ ความสูงต้น วันเก็บเกี่ยวฝักแรก ช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยว ความสูงฝักแรก จำนวนฝักต่อต้น น้ำหนักฝัก น้ำหนักฝักปอกเปลือก น้ำหนักต้นต่อไร่ ผลผลิตฝักต่อไร่ ผลผลิตฝักปอกเปลือกต่อไร่ ผลผลิตเปลือกต่อไร่ จำนวนฝักต่อไร่ ความยาวฝัก ความกว้างฝัก เปอร์เซ็นต์ฝักขนาดใหญ่ เปอร์เซ็นต์ฝักขนาดกลาง และเปอร์เซ็นต์ฝักขนาดเล็ก และข้อมูลคุณค่าทางโภชนะอาหารสัตว์จากเปลือกฝัก และต้นข้าวโพดฝักอ่อน จำนวน 10 ค่า ได้แก่ วัตถุแห้ง โปรตีนหยาบ ไขมัน เยื่อใยหยาบ เถ้า แคลเซียม ฟอสฟอรัส ผนังเซลล์ ลิกโนเซลลูโลส และลิกนิน จากข้อมูล 2 แปลงทดลองพบว่า พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพฝักดีมี คือพันธุ์เป็นหนึ่ง มีผลผลิตฝักต่อไร่ ผลผลิตฝักปลอกเปลือกต่อไร่ และเปอร์เซ็นต์ฝักขนาดใหญ่สูง มีค่า 1,397 กิโลกรัม 350 กิโลกรัม และ 53 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้พันธุ์เป็นหนึ่ง ยังเหมาะกับการใช้เปลือกฝักเป็นอาหารสัตว์ และพันธุ์ซีพี B468 เหมาะกับการใช้ต้นข้าวโพดเป็นอาหารสัตว์ เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชณะที่ดี มีโปรตีนสูง 8.96 และ 5.04 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ข้อมูลจากงานวิจัยครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อการแนะนำพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนเพื่อปลูกในพื้นที่นาจังหวัดสระแก้ว และการพัฒนาอาหารสัตว์จากผลผลอยได้จากข้าวโพดฝักอ่อน
ชื่อแหล่งทุน: เงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
เอกสารแนบ: http://dspace.lib.buu.ac.th/handle/1234567890/4057
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกในพื้นที่นาจังหวัดสระแก้ว
รัชนี พุทธา
มหาวิทยาลัยบูรพา
30 กันยายน 2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ศึกษาวิธีปลูกข้าวโพดฝักสดหลังการปลูกข้าวและผลตอบแทน วันเก็บเกี่ยวข้าวโพดเทียนพันธุ์บ้านเกาะที่ให้คุณภาพฝักและเมล็ดพันธุ์สูงสุด ความสัมพันธ์ของการบรรจุหีบห่อต่ออายุการเก็บของข้าวโพดฝักอ่อน การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน ความสัมพันธุ์ของแมลงศัตรูข้าวโพดและแอฟลาท็อกซิน ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด ทิศทางในการพัฒนาข้าวโพด การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การทดสอบพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนในอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนสำหรับตลาดฝักสดและอุตสาหกรรมแปรรูป

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก