สืบค้นงานวิจัย
ผลของไคโตซานในการควบคุมโรค และผลผลิตของถั่วเหลืองสายพันธุ์แนะนำ
รังษี เจริญสถาพร - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของไคโตซานในการควบคุมโรค และผลผลิตของถั่วเหลืองสายพันธุ์แนะนำ
ชื่อเรื่อง (EN): Efficacy of chitosan to control diseases and their yields of recommended Thai soybean varieties
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รังษี เจริญสถาพร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Rungsi Charaensatapon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การปลูกถั่วเหลืองในฤดูฝน ช่วงเดือน พ.ค. - ก.ย. ของทุกปีจะประสบปัญหาด้านโรคพืชอย่างมาก จึงจำเป็น ต้องศึกษาวิธีการป้องกันกำจัดโรคพืชโดยวิธีลดการใช้สารเคมีให้มากที่สุด การใช้สารละลายไคโตซานซึ่งเป็นสารธรรมชาติ นำมาใช้ป้องกันกำจัดโรคพืชได้ ดังนั้นในการทดลองนี้จึงใช้สารละลายไคโตซานเปรียบเทียบกับสารเคมีคาร์เบนดาซิม และน้ำ เป็นกรรมวิธีควบคุม (control treatment) โดยวางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCB ประกอบด้วย main plot เป็นกรรมวิธีควบคุมโรคพืซ คือ การใช้สารละลายไคโตซาน การใช้สารเคมีคาร์เบนดาซิมและน้ำ ประกอบด้วย sub plot เป็นพันธุ์ถั่วเหลือง ได้แก่ พันธุ์ สจ5/SSR 8407y-2-1 เชียงใหม่ 60 สุโขทัย 2 ศรีสำโรง 1 และเชียงใหม่ 2 ทำการ ทดสอบ 3 ซ้ำ ผลการทดลอง พบว่า การใช้สารละลายไคโตซาน และการใช้สารเคมีคาร์เบนดาซิม ควบคุมโรคโคนเน่า ใบ จุดนูน แอนแทรคโนสและโรครากเน่า ได้ดีกว่าการใช้น้ำ แต่ไม่สามารถควบคุมโรคยอดย่นซึ่งมีสาเหตุจากไวรัสได้ และ การใช้สารละลายไคโตซาน ทำให้ถั่วเหลืองพันธุ์สุโขทัย 2 และเชียงใหม่ 2 มีผลผลิตสูงสุด 1.750 และ 1.647 กก./พื้นที่ 8 ตร.ม.ตามลำดับ และมีน้ำหนัก 100 เมล็ด 14.05 และ 14.48 ก. ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างทางสถิติกับพันธุ์อื่นๆ แต่ไม่ ทำให้เปอร์เซ็นต์โปรตีนในเมล็ดสูงขึ้น และถั่วเหลืองพันธุ์สุโขทัย 2 มีโปรตีนในเมล็ดสูงสุด 41.96% ซึ่งแตกต่างทางสถิติ กับพันธุ์อื่นๆ นอกจากนี้การใช้สารละลายไคโตซาน มีผลกระทบต่อประชากรเชื้อรา และแบคทีเรียในดินเป็นไปทิศทาง เดียวกับการใช้น้ำ แต่ทำให้ประชากรของยีสต์และแบคที่เรียสูงสุด บนใบถั่วเหลืองที่ระยะการเจริญเติบโต ที่ R2 - R3 และ R5 - R6 ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Disease problem is a major constrain of soybean production during May to September, and the disease control methods that can reduce the application of harmful chemicals is necessary. Chitosan is natural polymer that can be used to control plant diseases. This experiment was conducted to investigate the effects of chitosan application on soybean diseases and soybean yield. The experiment was arranged in a split plot in RCB design with three replications. Main plots were chitosan, carbendazim, and water applications and sub plots were soybean varieties including SJ5/SSR 8407 y-2-1, CM. 60, CM. 2, ST. 2 and SR. 1 varieties. The results showed that chitosan and carbendazim applications could control collar rot bacterial pustute, antracnose and root rot diseases, which were better than water application. In chitosan application, soybean varieties ST 2 and CM 2 produced the highest yield of 1.75 and 1.65 kg per 8 m2, respectively, and the miximum 100-seed weight of t 14.05 and 14.83 g, respectively. In addition, chitosan application tended to increase the population of bacteria and yeast on soybean leaves at R2-R3 and R5 – R6 growth stages, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=202.pdf&id=591&keeptrack=13
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของไคโตซานในการควบคุมโรค และผลผลิตของถั่วเหลืองสายพันธุ์แนะนำ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ไคโตซานและไคโตโอลิโกแซคคาไรด์จากกากเห็ดหลินจือในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค ยืดอายุการเก็บรักษาน้ำมันถั่วเหลืองและในการผลิตต้นอ่อนทานตะวันที่มีพฤกษเคมีสูง การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้น การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอายุสั้น การศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในการผลิตถั่วเหลืองอินทรีย์ อิทธิพลของปุ๋ยเคมีและอินทรีย์ที่มีผลต่อการผลิตถั่วเหลืองปลอดภัย (ชื่อข้อเสนอการวิจัยเดิม : อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเหลือง) การใช้ถั่วเหลืองเพื่อลดต้นทุนในการผลิตเป็ดปักกิ่ง ช่วงเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อปริมาณโปรตีนและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์โปรตีนสูง สมรรถนะของเทอร์โมไซฟอนแบบวงรอบในการควบคุมระดับอุณหภูมิในถังเก็บเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองแบบธรรมชาติ ผลของระยะปลูกต่อคุณภาพและผลผลิตถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม ผลของไคโตซานฉายรังสีต่อการเจริญเติบโต การให้ผลผลิต และการต้านทานโรคในข้าว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก