สืบค้นงานวิจัย
ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
บัวพิศ ดุริยจรรยา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บัวพิศ ดุริยจรรยา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานกลุ่ม ปัญหาและความต้องการในการสนับสนุนการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 204 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปประมวลผลข้อมูล ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอายุเฉลี่ย 42.26 ปี จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 6 มีบุตรเฉลี่ย 2 คน มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน รายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 35,929.90 บาท รายได้นอกภาคเกษตรเฉลี่ย 31,886.03 บาท รวมรายได้ทั้งหมดเฉลี่ย 68,817.40 บาท ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักทำนา มีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นของตนเองเฉลี่ย 22.82 ไร่ เป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเฉลี่ย 5.25 ปี มีการระดมหุ้นเฉลี่ยคนละ 2.03 หุ้น จำนวนเงินหุ้นเฉลี่ย 135.88 บาท สาเหตุที่สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเพราะต้องการอาชีพเสริมรายได้ให้กับครอบครัว กิจกรรมที่ดำเนินงานในกลุ่มส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปผลผลิตเกษตร เพื่อการบริโภคและจำหน่าย วัตถุดิบในการผลิตส่วนใหญ่ซื้อบางส่วนและผลิตเองบางส่วน ใช้เงินทุนดำเนินงานของกลุ่ม มีการให้บริการให้สมาชิกกู้ยืมเงินทุนหมุนเวียน แรงงานที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่สมาชิกช่วยกันผลิตมีการผลิตตามช่วงฤดูกาล จำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายในอำเภอ โดยกลุ่มรวบรวมจำหน่าย มีการประชาสัมพันธ์โดยการแสดงสินค้าในงานต่าง ๆ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่ มีส่วนร่วมในการเข้าร่วมประชุมกลุ่ม การคัดเลือกกรรมการบริหารงานกลุ่ม ร่วมกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ในหมู่บ้าน และ การตั้งกฎระเบียบของกลุ่ม ปัญหาการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาขาดตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และขาดแหล่งเงินทุน มีความต้องการความรู้ด้านการแปรรูปและถนอมอาหาร การตลาดและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การติดตามแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง และ ความรู้การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ส่วนข้อเสนอแนะ ควรร่วมกันวางแผนส่งเสริมการปลูกข้าวและกล้วยให้เพียงพอในการผลิตของกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานเป็นที่ ยอมรับของผู้บริโภค การบรรจุภัณฑ์และการตลาด ส่งผลให้การดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีความมั่นคงและสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านน้อยสามัคคี ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรต่อการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา ความคิดเห็นและความพึงพอใจของสมาชิกและคณะกรรมการในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดสงขลา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก