สืบค้นงานวิจัย
การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับโปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลงในการผลิตข้าวในกลุ่มชุดดินที่ 5
จุไรพร แก้วทิพย์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับโปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลงในการผลิตข้าวในกลุ่มชุดดินที่ 5
ชื่อเรื่อง (EN): Utilization of Compost with Individual Soil and Fertilizer Management Instruction Program in Sticky Rice Production, Soil Group No. 5
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จุไรพร แก้วทิพย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Juraiporn Kaewthip
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับโปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลงในการผลิตข้าวในกลุ่มชุดดินที่ 5 ทำการทดลอง บ้านร้องแหย่ง ตำบลหนองแก๋ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือน กันยายน 2558 โดยมีทั้งหมด 5 ตำรับการทดลอง คือ 1) แปลงควบคุมหรือวิธีเกษตรกร 2) ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร 3) ปุ๋ยหมัก (ซุปเปอร์ พด.1) ร่วมกับครึ่งหนึ่งของปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง 4) ปุ๋ยหมัก (ซุปเปอร์ พด.1) ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง และ 5) ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ร่วมกับครึ่งหนึ่งของปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการดินด้วยโปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลงในการผลิตข้าว ในกลุ่มชุดดินที่ 5 และ ศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น การศึกษาด้านการเจริญเติบโตของข้าว ได้แก่ การวัดความสูงข้าว และจำนวนหน่อต่อกอของข้าวในพื้นที่ 2 ? 4 ตารางเมตร และองค์ประกอบของผลผลิต ได้แก่ น้ำหนักแห้งของข้าว (กรัม) เปอร์เซ็นต์เมล็ดดี เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ และ น้ำหนักข้าว 1000 เมล็ด ข้อมูลผลผลิตข้าว และ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่เริ่มทำการทดลอง พบว่าในทุกตำรับการทดลอง ในปี 2556 มีความสูงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 95 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่แตกต่างกันในปี 2557 และ ปี 2558 สำหรับจำนวนหน่อต่อกอ ไม่ว่าจะเป็นที่ระยะแตกกอสูงสุดหรือระยะเก็บเกี่ยวพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับข้อมูลทางด้านผลผลิต พบว่าตำรับการทดลองที่ 1 และ 3 ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตข้าวใกล้เคียงกันสูงที่สุด เป็น 469.41 และ 469.40 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ตำรับการทดลองที่ 2 ให้ค่าต่ำที่สุด ได้แก่ 437.98 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่าตำรับการทดลองที่ 5 เป็นตำรับการทดลองที่ดีที่สุด มีผลตอบแทนเหนือค่าใช้จ่ายผันแปรเฉลี่ยสูงที่สุด เนื่องจากเป็นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่เกษตรกรสามารถเลือกวัตถุดิบเองได้ ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่งของปุ๋ยเคมีรายแปลง นอกจากจะทำให้เป็นผลดีต่อการฟื้นฟูดินในระยะยาวแล้ว ยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดการดินและปุ๋ย และยังทำให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยใช้สำหรับบริโภคและจำหน่ายได้ด้วย
บทคัดย่อ (EN): Utilization of compost with individual soil and fertilizer management instruction program in rice production, soil group no. 5 was conducted at Ban Rong Yaeng, Tambon Hang Dong, Chiang Mai Province between October 2012 and September 2015. The experiment was designed by using randomized complete block with a 5 treatments 4 replications including the application of 1) A control plot or a farmers practice 2) Chemical fertilizer as recommended by the Department of Agriculture 3) A compost (Super LDD 1) with half of the chemical fertilizer recommended by the Soil and Fertilizer Management Program 4) Compost (Super LDD 1) in combination with chemical fertilizers under the individual soil and fertilizer management instruction program and 5) high quality organic fertilizer with half of the individual soil and fertilizer management instruction program. The objectives of this research are to study soil management with soil and fertilizer management instruction program in rice production, soil group no.5 (Hang Dong soil series) and economic return. The study of rice growth is the measurement of rice height, the number of shoots per crop of rice in 2 ? 4 square meters and the composition of grain yield was dry weight(g) percentage of good and undeveloped seed, 1000 seeds grain weight, grain yield and economic return. It was found that in all treatments in the year 2013, the difference was statistically significantly different at 95 percent but not different in 2014 and 2015. For the number of shoots per clump, this is the maximum tillering or harvest showed no significant difference statistically significant. For product information found that treatments 1 and 3, the average grain yield similarly high as 469.41 and 469.40 kg per rai. At the 2th experiment, the lowest value was 437.98 kg per rai. For economic return, it was found that treatment 5 was the best practice and has the highest return on average variable costs. Because of the use of organic fertilizer, farmers can choose their own raw materials in combination with half of the chemical fertilizer. In addition to making good on long-term soil rehabilitation, it also saves on soil and fertilizer management costs. And it also makes for a safe product for consumption and distribution.
ชื่อแหล่งทุน: ทุนงบประมาณแผ่นดินประจำปี 2558
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: 56580513400000201020123
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 100000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th//Search/SearchDetail/292494
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: บ้านร้องแหย่ง ต.หนองแก๋ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ตุลาคม 2555
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2558
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับโปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลงในการผลิตข้าวในกลุ่มชุดดินที่ 5
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมร่วมกับจุลินทรีย์ชีวภาพ พด. 11 สำหรับโสนอัฟริกันเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์สันป่าตอง 1 ในกลุ่มชุดดินที่ 59 การจัดการดินในแปลงฟื้นฟูพื้นที่ที่ผ่านการเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อปลูกข้าวโพดหวานในจังหวัดสมุทรสาคร วิธีการจัดการดินจากโปรแกรมคำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยรายแปลงร่วมกับปุ๋ยพืชสดเพื่อปลูกมันสำปะหลังในดินทราย การจัดการดินและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรกรมพัฒนาที่ดินตามโปรแกรมคำแนะนำปุ๋ยรายแปลงเพื่อการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 อย่างยั่งยืน การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ยในการปลูกข้าวโพด ในจังหวัดลำพูน การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดิน กับการจัดการดินในกลุ่มชุดดินที่ 51 ชุดดินระนองในเขตพัฒนาที่ดินจังหวัดชุมพร การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับให้คำแนะนำปุ๋ยในการ ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในจังหวัดเชียงใหม่ การผลิตถ่านชีวภาพและปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษชีวมวล การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดิน กับการจัดการดินในกลุ่มชุดดินที่ 51 ชุดดินระนองเพื่อปลูกส้มโอในเขตพัฒนาที่ดินจังหวัดชุมพร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก