สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ชื่อเรื่อง: การศึกษาแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีต่อการสร้างตราสินค้า (Brand Building) ผลิตภัณฑ์จากข้าวของโรงสีชุมชน ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อตราสินค้า (Brand) ผลิตภัณฑ์จากข้าวของโรงสีชุมชน ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาโดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนตำบลมะเกลือใหม่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ ด้วยการสำรวจภาคสนาม การจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นการมีส่วนร่วม แบบประเมินความพึงพอใจ การจัดเวทีประชุมกลุ่ม และการสัมภาษณ์ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่ากระบวนการมีส่วนรวมของชุมชนที่มีต่อการสร้างตราสินค้าผลิตภัณฑ์จากข้าวของโรงสีชุมชน ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในระดับมาก ( =3.90 และ S.D.=0.72) โดยด้านที่มีระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ การมีส่วนร่วมในขั้นตอนการดำเนินโครงการ รองลงมา คือการมีส่วนร่วมในการริเริ่มโครงการ การมีส่วนร่วมในขั้นการวางแผนโครงการ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการ ในส่วนของความพึงพอใจที่มีต่อตราสินค้าผลิตภัณฑ์จากข้าวของโรงสีชุมชน ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในระดับมาก ( =4.19 และ S.D.=0.79) โดยด้านที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คือด้านคุณค่าและมูลค่าของตราสินค้า รองลงมา คือความสัมพันธ์ระหว่างตราสินค้ากับสมาชิกของกลุ่ม ความสัมพันธ์ระหว่างตราสินค้ากับลูกค้าของกลุ่ม และความสัมพันธ์ระหว่างตราสินค้ากับผู้เสนอขายปัจจัยการผลิตของกลุ่ม
บทคัดย่อ (EN): The study had been surveyed to explore the community enterprises’ potential in Makluea Mai, Sung Noen, Nakhon Ratchasima Province, to investigate the cost and profit from running the community enterprises in Makluea Mai, Sung Noen, Nakhon Ratchasima Province and to explore the possible guidelines towards the development of community enterprises in Makluea Mai, Sung Noen, Nakhon Ratchasima Province by implementing Sufficiency Economy Philosophy. Sample group in the study consisted of 151 administrators and members of Community Rice Seed Centers as a community enterprise in Makluea Mai, Sung Noen, Nakhon Ratchasima Province. In terms of data collection, both primary and secondary data were gathered. The primary data was saved up from the survey field practices, conferences, interviews, and evaluation form while the secondary was obtained from the relevant documents obtained from concerning organizations. For data analysis, quantitative analysis –frequency, percentage, average and standard deviation- was employed together with qualitative analysis. The study revealed that the community enterprises’ potential in general in Makluea Mai, Sung Noen, Nakhon Ratchasima Province was reported at high level ( =3.88 and S.D.=1.00) especially in the item of production aspect that was ranked at the highest and 4 other items including personnel, marketing, managerial and financial aspects were reported at high level. In terms of cost when considering the actual cost already calculated with Depreciation Expenses, the study showed that the community’s rice mills provided services including selling the products with the cost 72.82%. As a result, the gross profit margin was equal to 27.18% and net profit margin ratio in general was reported at 17.81%. In terms of return on total asset that had been employed, it was reported at 5.23% or was equal to return on total equity at 5.23% since the community’s rice mills were financially supported by government sections together with community’s members with no financial sources from debt reported. In terms of possible guidelines to develop community enterprises, there were altogether 5 in numbers including the production, the marketing, the finance and accounting, the staff and the management. Each was conducted under the Sufficiency Economy Philosophy which mainly focused on the moderation, reasonableness, risk management, knowledge and virtue.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-12-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-11-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
30 พฤศจิกายน 2558
โครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการธุรกิจแบบมีส่วนร่วมโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ (KMC: การจัดการความรู้สู่ชุมชนพอเพียง) แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนบ้านบางชะนี ตำบลบางชะนี อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การพัฒนาตัวแบบการประเมินความเสี่ยงตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการบูรณาการความเสี่ยงทางธุรกิจและบริบทของวิสาหกิจชุมชน การพัฒนาผลผลิตและคุณภาพมะขามหวานของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนมะขามหวาน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดเพชรบูรณ์ การสำรวจข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนากลุ่มชาวนาเป็นวิสาหกิจชุมชนด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียงในเขตที่ดินพระราชทานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แนวทางการบูรณาการงานส่งเสริมการเกษตรกับวิสาหกิจชุมชน การเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรเพื่อพัฒนาคุณภาพมะขามหวานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านตะเบาะ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบึงหลุมบัว ตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก แนวทางการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มรักษ์อาชีพเสริมบ้านยางแดง หมู่ที่ 6 ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก