สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
นวลจันทร์ ศรีสมบัติ, รัตน์ติยา พวงแก้ว, พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง, วนิดา โนบรรเทา, อิทธิพล บ้งพรม, รัชดาวัลย์ อัมมินทร, นวลจันทร์ ศรีสมบัติ, รัตน์ติยา พวงแก้ว, พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง, วนิดา โนบรรเทา, อิทธิพล บ้งพรม, รัชดาวัลย์ อัมมินทร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Plant Production on Organic Agricultural System on Burirum Province.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูพริกอินทรีย์แบบผสมผสานจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 2 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 วิธีแนะนำ โดยป้องกันกำจัดศัตรูพริกอินทรีย์แบบผสมผสานตามคำแนะนำทางวิชาการ และกรรมวิธีที่ 2 วิธีเกษตรกร โดยป้องกันกำจัดศัตรูพริกอินทรีย์โดยวิธีเกษตรกร ดำเนินการในแปลงเกษตรกร อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ ในปี 2558-2560 พบว่าการเจริญเติบโตของต้นพริกทั้ง 2 กรรมวิธี ไม่แตกต่างกัน การระบาดของเพลี้ยไฟเมื่อพริกอายุ 60 วัน ปริมาณเพลี้ยไฟในกรรมวิธีที่ 1 มากกว่ากรรมวิธีที่ 2 แต่เมื่อพริกอายุ 120 วัน เพลี้ยไฟของทั้ง 2 กรรมวิธี ปริมาณลดน้อยลงและไม่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับปริมาณเพลี้ยอ่อนที่มีปริมาณการระบาดในกรรมวิธีที่ 1 มากกว่ากรรมวิธีที่ 2 และลดปริมาณลงเมื่อพริกอายุ 120 วัน สรุปได้ว่ากรรมวิธีเกษตรกรสามารถลดการระบาดของศัตรูพริกได้ดีกว่ากรรมวิธีแนะนำ ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรใช้สมุนไพรที่มีผลต่อแมลงปากดูด ขณะที่กรรมวิธีแนะนำใช้สมุนไพรที่มีผลต่อแมลงศัตรูพืชพวกหนอนผีเสื้อ จากการสำรวจศัตรูธรรมชาติ พบว่า ทั้ง 2 กรรมวิธี มีปริมาณศัตรูธรรมชาติทั้ง 3 ชนิดใกล้เคียงกัน ผลผลิต ต้นทุน รายได้ ผลตอบแทน และอัตราส่วนของรายได้ต่อการลงทุนทั้ง 2 กรรมวิธีใกล้เคียงกัน แต่กรรมวิธีที่ 1 มีค่า BCR มากกว่ากรรมวิธีที่ 2 เฉลี่ย 6.9 ทดสอบเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินในการปลูกพริกอินทรีย์พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย 2 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 วิธีปรับปรุง โดยปรับปรุงบำรุงดินตามคำแนะนำทางวิชาการ กรรมวิธีที่ 2 วิธีเกษตรกร โดยปรับปรุงบำรุงดินโดยวิธีเกษตรกร ดำเนินการในแปลงเกษตรกร อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ ในปี 2558-2560 พบว่า การปลูกปอเทืองซึ่งเป็นปุ๋ยพืชสด เมื่อไถกลบทำให้ดินได้รับธาตุอาหารเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้การเจริญเติบโตของพริกในกรรมวิธีที่ 1 สูงกว่ากรรมวิธีที่ 2 เฉลี่ย 123.4 เซนติเมตร เมื่อพริกอายุ 120 วัน เมื่อเก็บข้อมูลผลผลิต ต้นทุน รายได้ ผลตอบแทน อัตราส่วนของรายได้ต่อการลงทุน พบว่า ผลผลิตของทั้ง 2 กรรมวิธี ไม่แตกต่างกัน ผลตอบแทนและค่า BCR ใกล้เคียงกัน สรุปได้ว่า การปลูกปอเทืองเพื่อปรับปรุงบำรุงดินในการปลูกพริกอินทรีย์ ในปีแรกมีผลต่อการเจริยเติบโตของต้นพริก แต่ยังไม่มีผลต่อผลผลิต
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2560
โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด การศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากลของจังหวัดเชียงใหม่ โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชลประทาน โครงการวิจัยการศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในระบบเกษตรอินทรีย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก