สืบค้นงานวิจัย
การยอมรับของเกษตรกรต่อข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีเด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จงใจ มะปะเข - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การยอมรับของเกษตรกรต่อข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีเด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Farmer preference of irrigated promising rice lines in northeastern region
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จงใจ มะปะเข
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jongjai Mapakhe
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการยอมรับของเกษตรกรต่อข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีเด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมในการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าว ดำเนินการในแปลงเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ 3 จังหวัด ฤดูนาปี พ.ศ.2556 ในระยะก่อนเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ใช้ข้าวพันธุ์ทดสอบ 2 ชุด คือ ข้าวเหนียว และข้าวเจ้า มีวิธีการประเมินความชอบในลักษณะทางการเกษตร พบว่า ชุดข้าวเหนียวพันธุ์ กข10 และข้าวเจ้าสายพันธุ์ KKN01041-23-2-1-1 เป็นพันธุ์ที่ได้รับคะแนนความชอบจากเกษตรกรสูงสุด ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เป็นสายพันธุ์ที่มีลักษณะลำต้นแข็งแรง แตกกอดี กอตั้ง ใบสวย รวงมีขนาดใหญ่ ยาว ระแง้ถี่ การติดเมล็ดสม่ำเสมอ จำนวนเมล็ดต่อรวงมาก และเมล็ดสวย ขณะที่วิธีการประเมินความชอบในลักษณะทางกายภาพและเคมีของเมล็ด ดำเนินการใน 4 จังหวัด ผลการประเมินพบว่า สายพันธุ์ข้าวเหนียวที่เกษตรกรให้การยอมรับสูงสุดในลักษณะข้าวเปลือก ข้าวนึ่งสุกอุ่น ข้าวนึ่งสุกเย็น คือ UBN02020-13-8-R-R โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เมล็ดมีขนาดใหญ่ น้ำหนักดี สีเมล็ดสวย ข้าวเต็มเมล็ด สีขาวใส เลื่อมมัน และเหนียว นุ่ม ในขณะที่สายพันธุ์ข้าวที่มีลักษณะของข้าวสารที่เกษตรกรมีความชอบมากที่สุด คือ KKN04023-NKI-14-2-6-1 เนื่องจากเมล็ดเรียว ยาว ขาวใส และเมล็ดไม่หัก ส่วนข้าวเจ้า พบว่า สายพันธุ์ข้าวที่ผ่านการประเมินความชอบสูงสุดในลักษณะ ข้าวเปลือก ข้าวสารและข้าวสุก คือ KKN01041-23-2-1-1 เกษตรกรส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เมล็ดเรียว ยาว ข้าวเต็มเมล็ด น้ำหนักดี เมล็ดไม่หัก ขาวใส นุ่ม และหุงขึ้นหม้อ อย่างไรก็ตามผลการประเมินในครั้งนี้นอกจากจะเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณารับรองพันธุ์แล้ว ยังสามารถนำข้อคิดเห็นจากเกษตรกรในพื้นที่มาใช้ประกอบการปรับปรุงพันธุ์ข้าวในอนาคตได้
บทคัดย่อ (EN): This study aims to evaluate the farmers' preference to irrigated promising rice lines grown in farmers' fields in north eastern Thailand during wet season 2013. The preference analyses were carried out at 2 stages; at reproductive stage to evaluate for agronomic characteristics, and after harvest to evaluate for grain physical qualities and cooking qualities. Two sets of promising lines were evaluated; glutinous and non-glutinous set. At the reproductive stage, the preference analyses were carried out in 3 provinces. It was found that the glutinous cultivar RD10 and the non-glutinous line KKN01041-23-2-1-1 were the most preferred cultivar/line by farmers. The reasons for their preference were following traits; strong stem, good tillering ability, erect stem, large, long and compacted panicle, healthy and uniform seed set, lots of seed per panicle, and good grain shape. After harvest, the preference analyses were carried out in 4 provinces. The results from the preference analyses of rough rice, cold and warm cooked rice indicated that the glutinous line UBN02020-13-8-R-R was the most preferred line by farmers. The reasons were given by farmers who preferred this line were those; large, healthy and heavy grain, shinny, soft and sticky cooked rice. On the other hand, farmer preferred the milled rice of KKN04023-NKI-14-2-6-1 because of its long, slender and white color with few broken grains. For non-glutinous lines, farmer preferred the paddy, milled and cooked rice of line KKN01041-23-2-1-1. The reasons given by those farmers who preferred this line were; long, slender, white, shinny, healthy and heavy grains, few broken grains, soft in texture and fluffy cooked rice. The information obtained from this study supports not only for a new varietal release but also for future breeding program.
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/329825
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การยอมรับของเกษตรกรต่อข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีเด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จงใจ มะปะเข
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เสถียรภาพผลผลิตข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีเด่นจากภาคต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การปฏิบัติของเกษตรกรในการจัดการหนูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้ข้อมูล RADARSAT-1 SAR (standard mode) เพื่อทำแผนที่แสดงพื้นที่ปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพตามทรรศนะของเกษตรอำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะของเทคโนโลยีการผลิตข้าวที่เกษตรกรรับรู้ในเขตโครงการพัฒนาการเกษตรอาศัยน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การทดสอบปุ๋ยกับหอมแดงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้ดัชนีทนแล้งคัดพันธุ์ถั่วเหลืองเพื่อปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก