สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีดของเกษตรกรในโครงการสินเชื่อการเกษตรและปลูกยางพารา
เบญจรงค์ จิรเศวตกุล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีดของเกษตรกรในโครงการสินเชื่อการเกษตรและปลูกยางพารา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เบญจรงค์ จิรเศวตกุล
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีด ของเกษตรกรในโครงการสินเชื่อการเกษตรและปลูกยางพารา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับสวนยางพารา การดูแลรักษายางพาราหลังเปิดกรีด ตลอดจนปัญหาและความต้องการของเกษตรกรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีด โดยสุ่มศึกษาจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อการเกษตรและปลูกยางพาราในจังหวัดจันทบุรี และระยอง จำนวน 100 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าร้อยละ ผลการศึกษาปรากฏว่า เกษตรกรที่ร่วมโครงการสินเชื่อการเกษตรและปลูกยางพาราทั้งหมดเป็นเจ้าของที่ดินเดิมตั้งแค่ก่อนเข้าร่วมโครงการร้อยละ 56 มีที่ดินในครอบครองมากกว่า 31 ไร่ โดยที่ร้อยละ 42 ปลูกยางพาราตามโครงการไม่เกิน 15 ไร่ สภาพพื้นที่สวนยางพาราที่อยู่ในโครงการร้อยละ 68 เป็นที่ลาดเอียงเล็กน้อย ลักษณะดินร้อยละ 48 เป็นดินร่วนปนทรายร้อยละ 92 ปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 โดยร้อยละ 90 ใช้ต้นติดตาเป็นต้นพันธุ์ในการปลูก ร้อยละ 60 ใช้ระยะปลูก 3x8 เมตร และร้อยละ 76 มีต้นยางเหลืออยู่ขณะที่ทำการศึกษา 61-70 ต้น ต่อไร่ การปฏิบัติดูแลรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีดของเกษตรกร เกษตรส่วนใหญ่ร้อยละ 96 ปฏิบัติถูกต้องในประเด็นเกี่ยวกับความลาดเอียงของรอยกรีด การทำเครื่องหมายจุดเริ่มต้นของรอยกรีดในแนวดิ่ง และการกรีดจากซ้ายไปขวา ร้อยละ 96 เท่านั้น ระยะการปักลิ้นห่างจากรอยกรีดตอนเริ่มเปิดกรีด ร้อยละ 78 การกรีดเมื่อต้นยางเมื่อต้นยางมีขนาดเหมาะสมที่จะเปิดกรีด ร้อยละ 72 และการลอกขี้ยาก่อนลงมือกรีดร้อยละ 58 ส่วนประเด็นที่เกษตรกรส่วนใหญ่ปฏิบัติไม่ถูกต้องคือ ช่วงระยะเวลาเริ่มกรีดยางพารา 24.00 - 06.00 น ร้อยละ 100 ความสิ้นเปลืองเปลือกต่อเดือน 2.51-4.00 เซนติเมตร ร้อยละ 82 ความถี่ในการกรีด 3 วัน เว้น 1 วัน ร้อยละ 62 และวิธีวัดขนาดของต้นยางพาราที่จะเปิดกรีดเกษตรกรจะไม่วัดขนาดของต้นยางที่จะเปิดกรีดวิธีทำรอยเปิดกรีด โดยไม่ใช้ไม้แบบทำรอยเปิดกรีด ร้อยละ 53 เท่ากัน สำหรับการใส่ปุ๋ยในสวนยางพาราหลังเปิดกรีด เกษตรกรร้อยละ 62 มีการใส่ปุ๋ยบำรุงสวนยางพาราโดยที่เกษตรกรที่ใส่ปุ๋ยบำรุงสวนยางพาราร้อยละ 93.55 ใส่ปุ๋ยเคมีบำรุงสวนยางพารา ทุกปี ร้อยละ 54.84 ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ๆ ละ 20-39 กก. ต่อไร่ ร้อยละ 74.19 ใส่ปุ๋ยแบบหว่าน นอกจากนี้เกษตรกรที่ใส่ปุ๋ยบำรุงสวนยางพาราร้อยละ 96.77 ยอมรับว่าใส่ปุ๋ยแล้วได้รับผลผลิตยางเพิ่มมาก ในเรื่องการกำจัดวัชพืชในสวนยางพาราหลังเปิดกรีด เกษตรกรทั้งหมดมีการกำจัดวัชพืชในสวนยางพารา โดยที่ครึ่งหนึ่งกำจัดวัชพืชโดยใช้วิธีกลร่วมกับสารเคมีและร้อยละ 54 กำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอทุกปี ปีละครั้ง ในการป้องกันกำจัดโรคยางพาราเกษตรกรทั้งหมดทำการป้องกันกำจัดโรคยางพารา โดยที่ร้อยละ 55 ใช้วิธีการตัดแต่งกิ่งป้องกันกำจัดโรคยางพารา และร้อยละ 95 จะทำการป้องกันกำจัดโรคยางพาราไม่แน่นอน แล้วแต่สถานการณ์ของโรคยางพารา ปัญหาและอปุสรรคเกี่ยวกับการดูแลรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีด ของเกษตรกรได้แก่ ขาดความรู้ความชำนาญในการกรีดยาง ร้อยละ 53 ยางเป็นโรคร้อยละ 17 ขาดแหล่งเงินทุน ร้อยละ 16 และขาดแคลนแรงงาน ร้อยละ 14 ทั้งนี้ให้เกษตรกรมีความต้องการเรื่องความรู้เกี่ยวกับการกรีดยางดูแลรักษาสวนยางพารา ร้อยละ 52 ความช่วยเหลือในการป้องกันกำจัดโรคยางพารา ร้อยละ 28 แหล่งจำหน่ายปุ๋ย และสารเคมีกำจัดวัชพืชราคาถูก และแหล่งเงินทุน ร้อยละ 10 เท่านั้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีดของเกษตรกรในโครงการสินเชื่อการเกษตรและปลูกยางพารา
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีดของเกษตรกรในโครงการกลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางพารา จังหวัดตราด สภาพการดูแลรักษาสวนยางพาราก่อนเปิดกรีดของเกษตรกร อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการปลูกและดูแลรักษายางพาราของเกษตรกรที่เปิดกรีดยางแล้วในจังหวัดอุบลราชธานี โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ สภาพการบำรุงรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีดของเกษตรกรจังหวัดนครพนม สภาพการบำรุงรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีดของเกษตรกรในอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี เทคโนโลยีการผลิตยางพาราในสวนยางที่เปิดกรีดจังหวัดหนองบัวลำพู สภาพการบำรุงรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีดของเกษตรกรในอำเภอสินรินธร จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการบำรุงรักษาสวนยางพาราหลังเปิดกรีดของเกษตรกร ตำบลโคกก่อง อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก