สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิตพริก
วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ, วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิตพริก
ชื่อเรื่อง (EN): Breeding for Enhancing Quality Product of Chili)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ในการปรับปรุงเพื่อให้ได้พันธุ์พริกให้มีผลผลิตสูงพบว่า พริกกลุ่มแรกคือพริกขี้หนูผลใหญ่ การทดสอบพันธุ์พริกยอดสนในไร่เกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ชัยภูมิ นครพนม และนครราชสีมา โดยมีพันธุ์ที่คัดเลือก 4 สายพันธุ์และพันธุ์เกษตรกร พบว่า เกษตรกรพึงพอใจพริกศก.119-1-3 ความเผ็ด 85,085 SHU และ ศก.165-1-1 ความเผ็ด 266,823 SHU ผลผลิตไม่แตกต่างกัน ส่วนการทดสอบพันธุ์พริกขี้หนูเลยในไร่เกษตรกรจังหวัด ศรีสะเกษ ชัยภูมิ นครพนม และหนองคายพบว่า สายพันธุ์ ศก.59-1-2 ให้ผลผลิตสดสูงกว่าพันธุ์อื่นๆ คือ 1,467.20 กิโลกรัมต่อไร่ ความเผ็ด 58,828 SHU และ ศก.40-2-2 1,346.80 กิโลกรัมต่อไร่ความเผ็ด 101,149 SHU และได้พริกจินดา คือ พจ.054 และ ศก.24 สามารถปรับตัวและให้ผลผลิตสดต่อไร่สูง เกษตรกรมีความพอใจมาก ขณะที่การพัฒนาคุณลักษณะของพริกหัวเรือให้ตรงกับความต้องการ ได้ลูกผสม 4 คู่ผสม จำนวน 107 ต้น พริกลูกผสมที่ได้มีลักษณะผลสีเขียวอ่อน ตามลักษณะพริกหัวเรือ แต่มีลำต้นสูงกว่าพันธุ์เดิม และลูกผสมที่มีผลสีเขียวเข้ม คล้ายพันธุ์พริกที่นิยมของตลาดปัจจุบันเพื่อนำไปปลูกคัดเลือกพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป และการปรับปรุงพันธุ์พริกช่อให้มีผลผลิตสูง สุกแก่สม่ำเสมอในช่อดอกเดียวกัน ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ระหว่าง 2555- 2558 คัดเลือกได้พริกช่อที่มีลักษณะผลคล้ายพริกหัวเรือ 10 สายพันธุ์ คล้ายพริกจินดา 14 สายพันธุ์ คล้ายพริกยอดสน จำนวน 9 สายพันธุ์ สำหรับนำไปปลูกคัดเลือกพันธุ์ตามกระบวนการปรับปรุงพันธุ์พริกต่อไป การปรับปรุงพันธุ์พริกกลุ่มที่สองคือพริกขี้หนูผลเล็ก โดยการคัดเลือกพันธุ์พริกขี้หนูสวนที่สามารถเก็บเกี่ยวได้หลายฤดู โดยปลูกคัดเลือกพริกขี้หนูสวนแบบจดประวัติ 3 ชั่ว ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ระหว่างปี 2553 - 2557 ได้พริก 5 สายพันธุ์ คือขี้หนูหอม 4-2-4, 52-50-0-3-3-4-0-18, 52-50-0-3-1-7-0-19, 52-94-0-1-5-7-0-18 และ 50-14-0-4-1-4-0-16 ซึ่งจะนำไปปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์เกษตรกร ต่อไป ส่วนการทดสอบพันธุ์พริกขี้หนูสวนที่สามารถปลูกกลางแจ้ง 4 พันธุ์ ที่ดำเนินการในปี 2557 -2558 ประกอบด้วย กจ. 4-9-6-4-6 กจ. 8-6-10-1-2 กจ. 10-1-1-3-6 และ กจ. 17-15-9-1-8 ในแหล่งปลูก ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูงและศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม และในแปลงเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมาและแพร่ พบว่า กจ. 10-1-1-3-6 ให้ผลผลิต ระหว่าง 860.4 – 1124 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ทดสอบอื่นๆ ส่วนพริกกลุ่มที่สาม คือพริกใหญ่หรือพริกชี้ฟ้า การทดสอบพันธุ์พริกชี้ฟ้าในปี 2557-2558 ประกอบด้วยพริกเพื่อทำพริกแห้ง ในแปลงเกษตรกรในจังหวัดพิจิตร พบว่าพริกที่ให้ผลผลิตสูงและเกษตรกรพึงพอใจคือพริกพิจิตร 1 โดยในปี 2557 ให้ผลผลิตพริกสด 3,152 กิโลกรัมต่อไร่ เปลี่ยนเป็นพริกแห้ง 525.3 กิโลกรัม และพจ. 15-1-1-1 ให้ผลผลิตพริกสด 2,160 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นพริกแห้ง 385.7กิโลกรัมต่อไร่ ปีถัดมาพริกพิจิตร 1 ให้ผลผลิตพริกสด 814 กิโลกรัม และพจ. 15-1-1-1 ให้ผลผลิตพริกสด 730 กิโลกรัม ส่วนพริกชี้ฟ้าเพื่อการบริโภคสดที่ทดสอบที่จังหวัดพิจิตรและเชียงใหม่คือ พจ.28-1-1-1 เหมาะกับการบริโภคเมื่อผลสุกจะมีสีเหลืองให้ผลผลิต 1,835 กิโลกรัมต่อไร่ที่จังหวัดพิจิตร และ 1409 ที่จังหวัดเชียงใหม่ รองลงมาคือพริก พจ. 5-3-1-1 เหมาะสำหรับบริโภคสดตั้งแต่ผลแก่ซึ่งจะมีสีเขียวอ่อน ผลสุกมีสีส้ม ให้ผลผลิต1749 กิโลกรัมต่อไร่ที่พิจิตร และ1399 ที่เชียงใหม่ ขณะที่พริกใหญ่สำหรับทำซอสพริกซึ่งทดสอบพันธุ์ที่จังหวัดพิจิตรและแพร่ พริกที่ให้ผลผลิตสูงเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรคือ พจ.27-1-2-1 ที่ให้ผลผลิตสูงใกล้เคียงพันธุ์การค้า ลักษณะตรงความต้องการของโรงงานซอสพริก เผ็ดน้อย เนื้อหนา ผลสุกแดงสด โดยให้ผลผลิต 1932 กิโลกรัมต่อไร่ที่จังหวัดสุโขทัยและ 2592 กิโลกรัมต่อไร่ที่จังหวัดพิจิตร นอกจากนั้นเพื่อให้การปรับปรุงพันธุ์สามารถดำเนินการอย่างยั่งยืนเพื่อแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีการรวบรวมพันธุ์พริกได้ทั้งหมด 96 ตัวอย่าง ประกอบด้วยพริกใหญ่ และ พริกขี้หนูใหญ่ 78 ตัวอย่าง พริกขี้หนูสวน 18 ตัวอย่าง แบ่งตามชนิด (specie) ได้ 5 ชนิด คือ Capsicum annuum 63 ตัวอย่าง C. frutescens 17 ตัวอย่าง C. chinense 8 ตัวอย่าง C. baccatum 6 ตัวอย่าง และ C.pubescens 2 ตัวอย่าง เมื่อแบ่งตามสีผล ประกอบด้วย ผลแก่สีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือแดงส้ม 78 ตัวอย่าง ผลแก่สีเขียว หรือเขียวอ่อน ผลแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือสีส้ม 16 ตัวอย่าง ผลแก่เป็นสีม่วง และเมื่อแก่จัดผลเปลี่ยนเป็นสีแดง 2 ตัวอย่าง ส่วนการปรับปรุงพันธุ์ต้านทานโรคแอนแทรคโนส ได้พันธุ์พริกชี้ฟ้า 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ 04-13-7-26 และพันธุ์ 51-1-51-29 มีผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 742 และ 556 กรัมต่อต้น เป็นโรคแอนแทรคโนสน้อย พริกขี้หนูผลใหญ่ 2 พันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนส คือ พันธุ์ 02-2-34-7-31 และพันธุ์ 02-2-34-7-1 มีผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 722 และ 604 กรัมต่อต้น การปรับปรุงให้ต้านทานโรคเหี่ยวในพริกขี้หนูได้พันธุ์ที่ดีเด่นจำนวน 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ 13-32-26-54-2 และ 02-3-1-45-7-1 โดยพันธุ์ 13-32-26-54-2 มีผลผลิตจากการทดสอบพันธุ์ 2,470 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ห้วยสีทนศรีสะเกษ การทดสอบพันธุ์พริกต้านทานโรครากปม จำนวน 5 สายพันธุ์ ได้แก่ CA1356 CA1361 CA1400 CA1486 และ CA1779 ที่แสดงความต้านทานต่อโรคอย่างเด่นชัด มีดัชนีปมเท่ากับระดับ 1 ในขณะที่พันธุ์หัวเรืออ่อนแอ เกิดปมในระดับ 4.6 และมีพันธุ์ 2 พันธุ์คือ CA1486 และ CA1400เป็นที่ต้องการของบริษัทพริกเพื่อการส่งออก นอกจากนั้นยังมีพริกที่อยู่ระหว่างการเปรียบเทียบพันธุ์ให้ทนทานต่อโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่พริกชี้ฟ้าต้านทานโรคใบด่างแตง พริกขี้หนูต้านทานโรคใบด่างแตง และพริกขี้หนูต้านทานโรคใบด่างประพริกและโรคเหี่ยวเขียว สำหรับการทดสอบพันธุ์ต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มผลผลิตพริก
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตพริก การทดสอบเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินร่วนเหนียว ในพื้นที่ปลูกพริกจังหวัดนครราชสีมา ชีวเคมีของพริก ตอนที่ 1 สีสันแสนสวยด้วยเม็ดสีที่แตกต่าง โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้ การจัดแผนผังทางพันธุกรรมของพริกในเชื้อพันธุกรรมแม่โจ้และการระบุดีเอ็นเอเครื่องหมายที่มีความสัมพันธ์กับยีนที่ควบคุมลักษณะทางการเกษตรโดยวิธี Bulked Segregant Analysis ศึกษาอัตราการให้น้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังที่ปลูกปลายฤดูฝนในที่ดอน การปรับปรุงพันธุ์พริกเพื่อต้านทานต่อโรคเหี่ยวเนื่องจากเชื้อ Phytophthora การศึกษาอิทธิพลของธาตุอาหารพืชเพื่อการควบคุมความเผ็ดในพริก โครงการย่อยที่ 1 : การปรับปรุงพันธุ์และการผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก การปรับปรุงพันธุ์แก่นตะวันเพื่อให้มีปริมาณสารอินนูลินสูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก