สืบค้นงานวิจัย
การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ เกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน ปีการเพาะปลูก พ.ศ. 2553
เกียรติยศ ทรงสง่า - สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ชื่อเรื่อง: การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ เกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน ปีการเพาะปลูก พ.ศ. 2553
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกียรติยศ ทรงสง่า
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการปรับเปลี่ยนวิธีการผสิตตาม แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน ปีการ เพาะปลูก 2553 ครั้งนี้ ใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตในเชิงประจักษ์ เป็นเครื่องมือในการ ติดตามและประเมินผลจากนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 8 นิคม ใน 8 งหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร แพร่ อำนาจเจริญ สุรินทร์ สระบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุร และ สตูล เกษตรกรตัวอย่าง จำนวน 1,670 ราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผล การใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ เกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง ผลการติดตามและประเมินผล สามารถสรุปประเด็นได้ดังนี้ 1). เกษตรกรเพศหญิง และเพศชายมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน (ประมาณร้อยละ 51 และ 49 ตามลำดับ) อายุเฉลี่ยประมาณ 51 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา ประมาณร้อยละ 78 จำนวนสมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 3.97 ราย แรงงานใน ครัวเรือนเฉลี่ย 2.43 ราย 2). ผลการประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า เกษตรกรมีการใช้ประโยชน์ในที่ดินด้วยตนเองร้อยละ 94.67 เปรียบเทียบทางสถิติกับ เกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ ร้อยละ 85.00 ผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน เกษตรกรใช้ประโยชน์เนื้อที่ประมาณร้อยละ 96 ของเนื้อที่ที่ได้รับทั้งหมดโดยเกษตรกร ส่วนใหญ่มีการถือครองที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จำนวน 1 แปลง ขนาดพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 21.36 ไร่/ ครัวเรือน การใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกรคือมันสำปะหลัง, ข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็น พืชหลัก (ร้อยละ 35, 25 และ16 ตามลำดับ โดยเกษตรกรในภาคเหนือปลูกมันสำปะหลังเป็น หลัก (ร้อยละ 55) ส่วนเกษตรกรในภาคอีสานปลูกข้าวเป็นหลัก (ร้อยละ 76) ในขณะส่วนภาค กลางปลูกมะพร้าวเป็นหลัก (ร้อยละ 59) สำหรับภาคใต้มีการปลูก ยางพารา และปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ 68 และ 63 ตามลำดับ) เกษตรกรมีการเลี้ยงสัตว์ ประมาณร้อยละ 51 ของเกษตรกรทั้งหมดโดยสัตว์ปีก เลี้ยง มากในภาคอีสาน และภาคกลาง (ร้อยละ 46 และ 41 ตามลำดับ) การเลี้ยงโคเนื้อ พบมากใน ภาคอีสาน (ร้อยละ 85.64 ) สำหรับกระบือ มีการเลี้ยงเฉพาะในภาคอีสาน ขณะที่การเลี้ยงโคนม พบเฉพาะในภาคกลาง ส่วนการเลี้ยงสุกร พบในทุกภาค แต่พบมากในภาคอีสาน เกษตรกร มีการเลี้ยงสัตว์น้ำ น้อยมากประมาณ 31 ราย โดยส่วนใหญ่จะเลี้ยงปลาดุก ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของพืชหลัก พบว่า มันสำปะหลัง ให้ผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 3,327 กก./ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย ประมาณ 2,463 บาท/ไร่ และมีผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย ประมาณ 4,781 บาท/ไร่ ส่วนข้าว ในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงให้ผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 320 กก.ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย ประมาณ 1,062 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย ประมาณ 3,265 บาพ/ไร่ ขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้ผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 691 กก./ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย ประมาณ 1,800 บาทไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย ประมาณ 3,227 บาท/ไร่ สำหรับอ้อย ให้ ผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 9,244 กก./ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย ประมาณ 3,093 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย ประมาณ 6,027 บาท ในกลุ่มไม้ยืนต้น พบว่ายางพาราให้ผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 195 กก./ไร่ ต้นทุนการผลิต เฉลี่ย ประมาณ 2,210 บาท ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย ประมาณ 9,853 บาท/ไร่ ขณะที่ปาล์ม น้ำมันในผลผลิตเฉลี่ย ประมาณ 2,088 กก./ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย ประมาณ 2,173 บาท/ไร่ และผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย ประมาณ 6,313 บาท/ไร่ เกษตรกรมีรายได้สุทธิครัวเรือนเฉลี่ย ประมาณ 158,793 บาท/ครัวเรือน/ปี โดยมี รายได้สุทธิทางการเกษตรเฉลี่ย ประมาณ 125,332 บาท/ครัวเรือน/ปี สำหรับรายได้นอก การเกษตรเฉลี่ย ประมาณ 55,861 บาท/ครัวเรือน/ปี โดยเกษตรกรในทุกภาคมีรายได้สุทธิทาง การเกษตรมากกว่ารายได้นอกการเกษตร เกษตรกรมีรายจ่ายครัวเรือนเฉลี่ย ประมาณ 134,639 บาท/ครัวเรือน/ปี โดยเป็น รายจ่ายทางการเกษตรเฉลี่ย ประมาณ 58,322 บาท/ครัวเรือน/ปี และเป็นรายจ่ายนอก การเกษตรเฉลี่ย ประมาณ 77,607 บาท/ครัวเรือน/ปี โดยเกษตรกรเกือบทุกภาค ยกเว้น เกษตรกรในภาคกลางมีรายจ่ายนอกการเกษตร มากกว่ารายจ่ายทางการเกษตร เกษตรกรมีเงินออมเฉลี่ย ประมาณ 30,938 บาท/ครัวเรือน และมีหนี้สินเฉลี่ย ประมาณ 305,952 บาท/ครัวเรือน โดยเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นหนี้สินในระบบ 3). ผลการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในนิคม เศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน พบว่า เกษตรกรร้อยละ 58.82 ที่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการ ผลิตฯ เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติกับเกณฑ์การประเมินผลที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 50.14 ผลการผลิตฯ เมื่อเปรียบเทียบทางสถิติกับเกณฑ์การประเมินผลที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 50.14 ผลการ ประเมิน ผ่านเกณฑ์การประเมินผล การพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในด้านต่างๆ พบว่า เกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง ประมาณร้อยละ 38 ผ่านการอบรม จากหน่วยงานต่างๆ และผู้ผ่านการอบรมประมาณ ร้อยละ 85 นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ประโยชน์โดยเกษตรกร ประมาณร้อยละ 47 นำความรู้ ที่ได้รับไปทำปุ๋ยหมัก ปุ้ยน้ำหมักชีวภาพ เกษตรกร ประมาณร้อยละ 17 เท่านั้น ที่มีรูปแบบการผลิตตามเกษตรกรแนวใหม่ และ เกษตรกรมีการผลิตปุ๋ยใช้เอง ประมาณร้อยละ 51 นอกจากนี้พบว่าเกษตรกรที่เก็บรักษาพันธุ์ พืชพันธุ์สัตว์ไว้ใช้เอง เกษตรกรที่มีเงินทุนเป็นของตนเอง และเกษตรกรที่มีการเตรียมดินปลูก ด้วยตนเอง ประมาณร้อยละ 51 , 50 และ 46 ตามลำดับ การพึ่งพาตนเองด้านการมีอาหารที่เพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี พบว่า เกษตรกร ประมาณร้อยละ 25 ที่ปลูกข้าวไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือน เช่นเดียวกับสัดส่วนของเกษตรกร ที่มีการเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค (ร้อยละ 25) อย่างไรก็ตามกษตรกรร้อยละ 59 มีอาหารประเภท พืชผักไว้บริโภคตลอดทั้งปี ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลักดังนี้ 1) ข้อเสนอแนะจากการติดตามและประเมินผล (1) ในการติดตามการใช้ประโยชน์ในที่ดินของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรประมาณร้อย ละ 5 ที่ไม่ได้ทำประโยชน์ในที่ดินด้วยตนเองทั้งแปลง ซึ่งสาเหตุหลัก คือเกษตรกรให้ลูกหลาน เข้าทำประโยชน์แทน ในกรณีดังกล่าว ส.ป.ก. ควรเร่งดำเนินการเรื่องการโอนสิทธิ การรับ มรดกสิทธิ ในที่ดินอย่างรวดเร็วเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรดังกล่าวเข้าสู่พื้นที่หรือเข้าทำกินอย่าง ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และโอกาสเข้าถึง แหล่งความรู้ต่างๆ ในการพัฒนาอาชีพการเกษตรเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจ พอเพียงต่อไป อย่างไรก็ตามยังมีเกษตรกรบางรายที่มีการขายที่ดินให้กับบุคคลอื่น หรือให้ บุคคลอื่นเช่าทำประโยชน์ ซึ่ง ส.ป.ก. ควรเร่งดำเนินการตรวจสอบการเปลี่ยนสิทธิการถือครอง ของเกษตรกรในพื้นที่รายแปลง นอกจากนี้ควรเร่งหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาในกรณีที่ เกษตรกรสูงอายุ และไม่มีทายาท ควรเร่งหาแนวทางการจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวในกรณี เพื่อ เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรนำที่ดินมาคืนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จากการติดตาม พบว่า อายุ เฉลี่ยของเกษตรกรมีแนวโน้มสูงขึ้น (51 ปี) ซึ่งส่งผลกระทบกับการประกอบอาชีพทางการ ใ พื้งที่กวรเกยตรมีแนวโน้มลดลงด้วย (ประมาณ 2 คนต่อครัวเรือน) ส.ป.ก. จึงควรเร่งส่งเสริมให้มีการสร้างทายาททางการเกษตร หรือเกษตรกรรุ่น ใหม่ๆ เพื่อรองรับปัญหาการขาดแคลนแรงงานทางการเกษตรในอนาคตด้วย นอกจากนี้ยังพบ กรณีที่เกษตรกรบางรายมีการถือครองที่ดินแปลงใหญ่ (มากกว่า 50 ไร่) ส.ป.ก. ควรเร่งให้เกิดการกระจายสิทธิในการถือครองที่ดินให้มีความเป็นธรรมและถูกต้องตาม พ.ร.บ. การปฏิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (2) จากการตรวจสอบลักษณะการใช้ประโยชน์ในที่ดิน พบว่าเกษตรส่วนใหญ่ในนิคม เศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เกษตรกรต้องใช้ต้นทุนสูงมาก ในการผลิตเนื่องจากปัจจัยการผลิตต่างๆ มีราคาสูงขึ้น ขณะที่มีเกษตรกรเพียง ประมาณ ร้อย ละ 17 เท่านั้น ที่ปลูกพืชแบบผสมผสาน ดังนั้น ส.ป.ก. ควรเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญในการทำการเกษตรให้สอดคล้องตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่าง จริงจัง ซึ่งจะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต และอาจเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรให้ เกาตรกรได้ในอนาคต (3) การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในนิคม เศรษฐกิจพอเพียง แม้ว่าภาพรวมจะผ่านเกณฑ์การประเมินผลที่กำหนดไว้ แต่เกษตรกรใน ภาคใต้ และภาคกลางมีเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต เพียงร้อยละ 17 และ 36 ตามลำดับ เท่านั้น แม้ว่าประมาณครึ่งหนึ่งเกษตรกรมีการพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิตได้ จึงควรเร่งส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรในกลุ่มดังกล่าวให้มาก โดยการเร่งให้ความรู้ในการ ทำการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนเกษตรกรในภาคกลางและภาคอีสาน ควร เร่งหาทางเพิ่มรายได้ หรือเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรให้มากขึ้น โดยการรวมกลุ่ม วิสาหกิจชุมชน เพื่อนำไปสู่การทำการค้าแบบล่วงหน้าโดยเกษตรกรสามารถกำหนดราคา สินค้าเองได้ เช่นการทำการเกษตรแบบอินทรีย์ ซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในความนิยมของกลุ่ม ผู้บริโภคในระดับกลาง ถึงระดับสูง นอกจากนี้พบว่าเกษตรกรในนิคมยังผลิตแบบต่างคนต่าง ทำ ยังขาดการรวมกลุ่มเพื่อให้มีความเข้มแข็ง โดยการรวมกลุ่มส่วนใหญ่เพื่อการขอกู้เงินจาก หน่วยงานรัฐเพียงอย่างเดียว 2) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ส.ป.ก. ควรเร่งทบทวนโครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน ว่านิคม ใดบ้างที่มีกิจกรรมน่าสนับสนุน หรือส่งเสริมให้มีความเข้มแข็ง หรือนิคมใดบ้างที่ควรหยุดการ ดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเป็นนิคมเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นต้นแบบแก่นิคมอื่นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ควรเร่งสำรวจศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ว่ามีศักยภาพในการเป็นศูนย์ต้นแบบได้มากน้อยแค่ไหน และควรนำศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าวเป็นหลักในการขับเคลื่อน ขบวนการในนิคม 3) ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาครั้งต่อไป การศึกษาในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินต่อไป ควรมองเรื่องศักยภาพของ ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบชุมชนที่อยู่ภายใต้นิคม และการเชื่อมโยงเครือข่ายต่างๆ ของเกษตรกรใน นิคม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: http://www.alro.go.th/research_plan/ewt_news.php?nid=369&filename=index
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: กำแพงเพชร แพร่ อำนาจเจริญ สุรินทร์ สระบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี สตูล
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: 2553
เผยแพร่โดย: สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ เกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน ปีการเพาะปลูก พ.ศ. 2553
สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
เอกสารแนบ 4
เอกสารแนบ 5
เอกสารแนบ 6
เอกสารแนบ 7
เอกสารแนบ 8
เอกสารแนบ 9
เอกสารแนบ 10
เอกสารแนบ 11
เอกสารแนบ 12
เอกสารแนบ 13
เอกสารแนบ 14
เอกสารแนบ 15
เอกสารแนบ 16
เอกสารแนบ 17
การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินและการนำแนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2555 การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินการพึ่งพาตนเองและความพึงพอใจของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียง ปีการเพาะปลูก 2552 รายงานผลการติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดิน การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและการถือครองของเกษตรกรนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน ศึกษาการดำเนินงานพัฒนาชุมชนของปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อขับเคลื่อนชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การติดตาม ประเมินผล และการใช้ประโยชน์โครงการวิจัยด้านยางพารา การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน จังหวัดขอนแก่น ผลของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี การติดตามประเมินผลวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2554

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก