สืบค้นงานวิจัย
การใช้กระเจี๊ยบแดงผสมอาหารเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลานิล
ชนกันต์ จิตมนัส - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การใช้กระเจี๊ยบแดงผสมอาหารเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลานิล
ชื่อเรื่อง (EN): Using the Dried Flowers of Roselle (Hibiscus sabdariffa) as Feed Additive to Enhance Immunity of Tilapia (Oreochromis niloticus)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชนกันต์ จิตมนัส
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: จุดประสงค์ของงานวิจัยนี่เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้กระเจี๊ยบผสมอาหารเพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันของปลานิลและศึกษาปริมาณที่เหมาะสมเพื่อผลิตอาหารปลานิล การทดลองแบ่งเป็น3 ส่วน ได้แก่ (1) การศึกษาผลและปริมาณของกระเจี๊ยบแดงในการอนุบาลลูกปลานิล (2) การศึกษาผลเละปริมาณของกระเจี๊ยบแดงในการเลี้ยงปลานิลในกระชัง และ (3) การศึกษาผลและปริมาณของอาหารผสมกระเจี๊ยบแดงต่อภูมิคุ้มกันปลานิล โดยใช้อาหารทดลอง 4 สูตร คือ อาหารสูตรที่ 1, 2, 3 และ 4 (สูตรอาหารพื้นฐานผสมกระเจี๊ยบแดง 0% , 0.5% , 2.5% และ 5% ตามลำดับ) จากการทดลองพบว่า ลูก ปลาที่อนุบาลด้วยอาหารทั้ง 4 สูตร มีการเจริญเติบโต อัตราการรอดตายและอัตราการเปลี่ยนเนื้อเป็นอาหารไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ (P > 0.05) ส่วนของการเลี้ยงปลานิลในกระชังด้วยอาหารผสมกระเจี๊ยบแดงทั้ง 4 สูตร มีการเจริญเติบโต อัตราการรอดตายเและอัตราการเปลี่ยนเนื้อเป็นอาหารไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ (P > 0.05) เช่นเดียวกัน เมื่อศึกษาผลของอาหารผสมกระเจี๊ยบต่อภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะของปลานิล พบว่า เปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดอัดแน่น (%PCV) ของปลานิลในชุดการทดลองที่ 2 มีค่าสูงสุดเท่ากับ 41.08 + 3.70/ ปริมาณโปรตีนในซีรั่มของปลานิลที่ได้รับอาหารชุดการทดลองที่ 4 มีคำสูงสุดเท่ากับ 5.29 : 0.81 g/4L เมื่อสิ้นสุดการทดลอง แสดงให้เห็นว่ากระเจี๊ยบแดงสามารถช่วยในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะแต่ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต อัตราการรอดตายและอัตราการเปลี่ยนเนื้อเป็นอาหาร
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-48-025
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2549/New%20Folder/%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%20%20%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%AA(%E0%B8%99%E0%B8%81)/%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%20%20%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%AA.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้กระเจี๊ยบแดงผสมอาหารเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลานิล
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2548
เอกสารแนบ 1
การศึกษาผลของอาหารผสมโพลีแซคคาไรด์เจลจากเปลือกทุเรียนต่อภูมิคุ้มกันปลานิล การศึกษาการใช้ประโยชน์จากเมล็ดมะขามป่นในอาหารปลานิลแดง การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus) สัดส่วนเศษปลาหมักผงที่เหมาะสมในการทดแทนปลาป่นและกากถั่วเหลืองในอาหารปลานิลแดง ผลการเสริมฝุ่นผงน้ำส้มในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิล และปลาดุกลูกผสม ผลของซิงเกิลเซลล์โปรตีนในอาหารปลานิล ผลของการใช้กากถั่วเหลืองหมักต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของปลานิล ผลของอาหารผสมสารสกัดกระเทียมต่อการเหนี่ยวนำให้เป็นเพศผู้ การ เจริญเติบโต และต้นทุนการผลิตของปลานิล เพื่อเป็นอาหารปลอดภัย ผลของการใช้โพรไบโอติกบาซิลลัสที่คัดเลือกจากระบบทางเดินอาหารปลานิลและยีสต์ขนมปังต่อการยับยั้งเชื้อ Aeromonas hydrophila และ Flavobacterium columnare ผลของการใช้กากถั่วเหลืองที่ย่อยด้วยน้ำคั้นจากสับปะรดในสูตรอาหารปลานิลต่อการเจริญเติบโต ความทนทานต่อสภาพเครียด และเชื้อก่อโรค

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก