สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ในระดับเกษตรกร
วุฒิพล จันทร์สระคู - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ในระดับเกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Pineapple Transplanter Attached to a Four Wheel Tractor for Small Scale farmers
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วุฒิพล จันทร์สระคู
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Pineapplenbsp;nbsp; Transplanter
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิจัยและพัฒนาเครื่องคัดหน่อสับปะรด และเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ในระดับเกษตรกรเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องคัดหน่อสับปะรด โดยใช้หลักการเครื่องชั่งสายพานที่พัฒนาขึ้น สามารถตั้งค่าการคัดได้โดยง่าย โดยเลือกตั้งค่าจากเครื่องชั่ง การทำงานของเครื่องต้นแบบประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การนำหน่อสับปะรดเข้าสู่เครื่องคัดขนาด การชั่งน้ำหนักและส่งสัญญาณและการประมวลผล การคัดแยก ความเร็วเชิงเส้นของสายพานลำเลียงที่เหมาะสมและไม่ส่งผลต่อการลำเลียงมีค่า 3.79 เมตรต่อนาที หรือความเร็วรอบ 24.16 รอบต่อนาที และความเร็วเชิงเส้นสายพานเครื่องชั่งมีค่า 5.67 เมตรต่อนาที หรือความเร็วรอบ 36.25 รอบต่อนาที ผลการทดสอบเครื่องต้นแบบโดยคัดหน่อสับปะรดเป็น 2 ขนาด คือขนาดเล็ก (น้ำหนักน้อยกว่า 500 กรัม) และขนาดปกติ (น้ำหนักมากกว่า 500 กรัม) พบว่าความสามารถการทำงานของเครื่องคัดหน่อเท่ากับ 853 หน่อต่อชั่วโมง ที่ค่าความแม่นยำ 85 เปอร์เซ็นต์ เครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ ออกแบบให้ใช้กับหน่อสับปะรดที่ตัดยอดแล้ว ปลูกแถวคู่ห่างกัน 50 เซนติเมตร อุปกรณ์ป้อนลำเลียงโดยท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว โดยใช้ล้อขับเคลื่อนส่งกำลังผ่านชุดเฟืองขับอุปกรณ์ป้อน ตัวเปิดร่องปลูกเป็นแบบขาไถ ป้อนส่งหน่อสับปะรดผ่านท่อพีวีซีหลังตัวเปิดร่อง และกลบดินและหน่อโดยอุปกรณ์กลบดิน ใช้คนป้อนหน่อจำนวน 2 คน ทดสอบและประเมินผลการทำงานของเครื่องต้นแบบ ผลการทดลองพบว่า เครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก (39-48 แรงม้า) ปลูกแบบแถวคู่ โดยใช้หน่อที่ตัดแต่งยอดให้สม่ำเสมอให้มีความยาว 30-50 เซนติเมตร และมีการคัดน้ำหนักหน่อขนาดที่ใกล้เคียงกันโดยการชั่งน้ำหนัก คัดเอาเฉพาะหน่อที่มีขนาดน้ำหนักในช่วง 300 - 500 กรัม บรรจุหน่อได้ข้างละประมาณ 200 หน่อ ความสามารถในการทำงานโดยสรุป เครื่องปลูกต้นแบบมีความสามารถในการทำงาน 0.52 ไร่ต่อประสิทธิภาพการทำงาน ที่ความเร็วขับเคลื่อน 0.62 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง 2.10 ลิตรต่อไร่ ประสิทธิภาพการปักหน่อ 97.50% หน่อมีความเอียง 69.10 องศาจากแนวระนาบ ความลึกการปลูก 15.50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้นเฉลี่ย 50.26 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถวเฉลี่ย 110 เซนติเมตร
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were to designed and development of a pineapple sucker sizing machine and pineapple transplanter attached with a four-wheel tractor for small scale farmers in north-east region of Thailand. The pineapple sucker sizing machine was developed using belt conveyor scale principle. Pineapple suckers will be sized easily by setting weight. It consists of 3 steps; feeding pineapple sucker, weighting and sending signal and computing, separating. The best transportation of suckers was obtained at belt conveyor velocity of 3.79 m/s or revolution speed of 24.16 rpm as well as belt conveyor scale velocity of 5.67 m/s or revolution speed of 36.25 rpm. Testing was conducted to classify the sucker into 2 sizes; small (500 gm.). The results showed that the accuracy of sizing was with the capacity of 853 suckers/h. The pineapple transplanter was design and fabricate for transplanting the suckers with double row planting distance of 50 cm and the targeted planting distance of 50 cm. The 4 inch diameter PVC feeders were dived by fifth wheel and gear transmission. A sucker was dropped after the soil opened by furrow opener and it was buried by buried component. Two men operation were required for feeding suckers. Testing was conducted by using small tractor (39-48 Hp) for power source. The suckers were cut to uniform pineapple sucker 30-50 cm length and average pineapple sucker weight was 300-500 gm. Each sucker container was carried 200 suckers. Testing results indicated that the field capacity were 0.52 rai/h at travelling speed of 0.62 km/h and fuel consumption was 2.10 l/h. Planting efficiency was 97.50% with average sucker inclined 69.10 degree and average depth of planting was 15.50 cm. Planting distance of 50.26 cm double row spacing with distance between row was 110 cm.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ในระดับเกษตรกร
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2557
โครงการวิจัยและพัฒนาเครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ การพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ขนาดกลาง โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเครื่องปลูกมันสำปะหลังแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์ในสภาพพื้นที่เพาะปลูกต่างๆ โครงการวิจัยการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสับปะรดในพื้นที่เกษตรกร โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์สับปะรด การพัฒนาเครื่องปลูกมันสำปะหลัง โครงการวิจัยการศึกษาระบบการผลิตสับปะรด ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตรสำหรับสับปะรด โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสับปะรด โครงการทำผลิตภัณฑ์จากสับปะรด(ไอศกรีมสับปะรดและแยมสับปะรด)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก