สืบค้นงานวิจัย
ผลของชนิดน้ำหมักชีวภาพที่มีต่อผลผลิต และคุณภาพของชา ในกลุ่มชุดดินที่ 29
ธวัชชัย น้อยหมอ, ปวีณา เกษทัน - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ผลของชนิดน้ำหมักชีวภาพที่มีต่อผลผลิต และคุณภาพของชา ในกลุ่มชุดดินที่ 29
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Kind Organic water Fertilizer 0n Yield and Quality of Tea in Soil Group 29
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของชนิดน้ำหมักชีวภาพที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพของชา ในกลุ่มชุดดินที่ 29 ทำการทดลองในแปลงเกษตรกรบ้านสันติคีรี หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2555 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) จำนวน 3 ซ้ำ มีตำรับการทดลองจำนวน 7 ตำรับ คือ ตำรับที่ 1 แปลงควบคุม (ฉีดพ่นน้ำเปล่า) ตำรับที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 46-0-0 อัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่ ตำรับที่ 3 การฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพจากน้ำนม ตำรับที่ 4 การฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพจากข้าวโพด ตำรับที่ 5 การฉีดพ่น น้ำหมักชีวภาพจากถั่วเหลือง ตำรับที่ 6 การฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพจากสัปปะรด และตำรับที่ 7 การฉีดพ่น น้ำหมักชีวภาพจากปลาและหอยเชอรี่ (น้ำหมักชีวภาพทุกชนิดฉีดพ่นอัตรา 1:500 ทุกๆ 15 วัน) ผลการศึกษาพบว่า น้ำหมักชีวภาพจากปลาและหอยเชอรี่ มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าการนำไฟฟ้า (EC) ปริมาณไนโตรเจนรวม (Total N) ปริมาณฟอสฟอรัส (P2O5) ปริมาณแคลเซียม (Ca) และปริมาณแมกนีเซียม (Mg) สูงที่สุด คือ 3.84, 22.7 mS/cm, 5.33 %, 0.78%, 1.37% และ 0.15% ตามลำดับ น้ำหมักชีวภาพจากสัปปะรดมีปริมาณฮอร์โมน IAA สูงที่สุด คือ 208.3 ?g/L ส่วนน้ำหมักชีวภาพจากถั่วเหลือง มีปริมาณฮอร์โมนไซโตไคนิน (Cytokinin) สูงที่สุดคือ 1.6 (mg/L) คุณสมบัติทางเคมีดินก่อนการทดลองและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย โดยค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ยังคงอยู่ในระดับกรดจัด ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) มีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับต่ำเป็นระดับปานกลาง ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Available P) มีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำจากระดับปานกลางเป็นระดับสูง และปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ (Exchangeable K) มีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับต่ำมากเป็นระดับต่ำ การฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพจากปลาและหอยเชอรี่ และการฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพจากสัปปะรด มีผลทำให้ชาในระยะเก็บเกี่ยวมีความสูงสูงที่สุด และการฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพจากน้ำนมและการฉีดพ่น น้ำหมักชีวภาพจากสัปปะรด มีผลทำให้ชาในระยะเก็บเกี่ยวมีความกว้างทรงพุ่มมากที่สุด การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่วมกับ 46-0-0 ทำให้ผลผลิตของชาสูงที่สุด และจากการวิเคราะห์คุณภาพชา พบว่าการฉีดพ่น น้ำหมักชีวภาพจากสัปปะรด และการฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพจากน้ำนม ทำให้ชามีปริมาณสาร Epigallocatechin (EGC), Epicatechin(EC), Epigallocatechin Gallate (EGCG) และ Catechin(CAT) สูง และการฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพจากปลาและหอยเชอรี่ และการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่วมกับ 46-0-0 ทำให้ชามีปริมาณสารCaffeine (CAF) สูง
บทคัดย่อ (EN): Study the effect of kind organic water fertilizer on yield and quality of tea in soil group 29, experimental in farmer’s field Santikeeree Maesalongnong Maefahlaung Chiangrai Province between October 2010 to September 2012. The experimental tea plot by Randomized Complete Block Design is divided into seven treatments, each replication three, treatments 1 control (spray water), that treatments 2 chemical fertilizer formula 15-15-15 rate 4 kg/rai and formula 46-0-0 rate 4 kg/rai, that treatment 3 spray milk organic water fertilizer, that treatment 4 spray corn organic water fertilizer, that treatment 5 spray soybean organic water fertilizer, that treatment 6 spray pineapple organic water fertilizer, every kind of organic water fertilizer are spray in rate 1:500 every 15 day. The results showed that fish organic water fertilizer is highest of pH, EC, Total N, P2O5, Ca and Mg at 3.84, 22.7 mS/cm, 5.33%, 0.78%, 1.37%, and 0.15% respectively. Pineapple organic water fertilizer is highest IAA 208.3 ?g/L. Soybean organic water fertilizer is highest Cytokinin 1.6 mg/L. Soil chemical characteristic before experimental and post harvest showed that some change, pH is acid arrangement level, organic matter available P and exchangeable K are up the level little bit. The spray of fish organic water fertilizer and pineapple organic water fertilizer showed that tea at harvest is tall highest. The spray of milk organic water fertilizer and pineapple organic water fertilizer showed that tea at harvest is wide bush highest. Use chemical fertilizer formula 15-15-15 with formula 46-0-0 showed that yield of tea is highest. Analysis the quality of tea showed that spray of pineapple and milk organic water fertilizer is high substance of Epigallocatechin(EGC), Epicatechin(EC), Epigallocatechin Gallate (EGCG) and Catechin(CAT), and chemical fertilizer formula 15-15-15 with formula 46-0-0 is high substance of Caffeine(CAF).
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/291347
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของชนิดน้ำหมักชีวภาพที่มีต่อผลผลิต และคุณภาพของชา ในกลุ่มชุดดินที่ 29
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2555
เอกสารแนบ 1
การจัดการดินที่เหมาะสมด้วยพืชปุ๋ยสดโสนอัฟริกันร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวพันธุ์สังข์หยดในกลุ่มชุดดินที่ 6 ชุดดินพัทลุง การจัดการดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง น้ำหมักชีวภาพซุปเปอร์ พด.2 และปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต และผลผลิตของปาล์มน้ำมันในกลุ่มชุดดินที่ 6 ระยะปลูกที่เหมาะสมร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมัก, น้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 ในกลุ่มชุดดินที่ 29 จังหวัดลำปาง ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการผลิตขึ้นฉ่ายในกลุ่มชุดดินที่ 41 ชุดดินมหาสารคาม การผลิตน้ำหมักชีวภาพจากใบหญ้าแฝก การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ปุ๋ยพืชสด และน้ำหมักมูลสุกรเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 38 ประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพต่อคุณภาพดินและผลผลิตทางการเกษตร-พริกขี้หนู ศึกษาผลการใช้สารอินทรีย์ชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตขิงอย่างยั่งยืน (กลุ่มชุดดินที่ 29) จ.พะเยา ผลของการใช้น้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรต่อผลผลิตอ้อยที่ปลูกบนดินร่วนปนดินเหนียว กลุ่มชุดดินที่ 29 ชุดดินบ้านจ้อง ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับน้ำหมักชีวภาพในการปลูกข้าวอินทรีย์ (พันธุ์หอมมะลิ 105) ในกลุ่มชุดดินที่ 18 ชุดดินหนองบุญนาคพื้นที่นอกเขตชลประทาน จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก