สืบค้นงานวิจัย
การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
สินีนาฎ กาญจนเกียรติกุล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สินีนาฎ กาญจนเกียรติกุล
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปี 2546 ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดนครราชสีมา ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 2) สภาพการผลิตและปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545-2546 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากตัวอย่างที่สุ่มแบบมีระบบจำนวน 400 คน ทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t - test โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 48.68 ปี สำเร็จการศึกษาในระดับต่ำกว่าภาคบังคับ มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.10 คน ได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร พื้นที่ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ย 16.83 ไร่ ปลูกข้าวโดยวิธีหว่านข้าวแห้ง ใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 27.73 กิโลกรัมต่อไร่ ป้องกันกำจัดโรคข้าวโดยการใช้สารเคมี ป้องกันกำจัดแมลงโดยวิธีการ IPM ป้องกันกำจัดสัตว์ศัตรูและวัชพืชโดยวิธีกล เก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง มีการลดความชื้นข้าวหลังการเก็บเกี่ยว ผลผลิตข้าวเปลือกเฉลี่ย 403.89 กิโลกรัมต่อไร่ ในด้านปัญหาอุปสรรค พบว่าเกษตรกรประสบปัญหาและอุปสรรคในระดับมาก ได้แก่ ราคาผลผลิตข้าวเปลือกไม่แน่นอน ขาดความรู้ในเรื่องการใส่ปุ๋ย ค่าแรงงานและเครื่องจักรกลในการปลูกและเก็บเกี่ยวสูง สำหรับสภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 พบว่าสภาพที่เกษตรกรมีการใช้เทคโนโลยีเป็นประจำ ได้แก่ การเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเป็นที่ต้องการของตลาด การเตรียมเมล็ดพันธุ์ก่อนการปลูก การเก็บรักษาในยุ้งฉางที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่รวมกับข้าวพันธุ์อื่นและสารเคมี ไม่ใกล้กองปุ๋ย และมีการใช้เมล็ดพันธุ์ติดต่อกันไม่เกิน 3 ปี มีการกำหนดช่วงการปลูก มีการเตรียมดิน สำหรับการดูแลรักษา เกษตรกรจะมีการใส่ปุ๋ยเคมีเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ มีการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว โดยเกษตรกรจะออกตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ มีการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง มีการเก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง ตากข้าวประมาณ 3 - 4 แดด นวดข้าวทันทีที่รวงข้าวแห้ง เทคโนโลยีที่เกษตรกรปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ได้แก่ การเตรียมเมล็ดพันธุ์ โดยไม่ใกล้กองปุ๋ยและสารเคมี ทำการคัดเมล็ดพันธุ์ปนหรือเป็นโรคแมลงออกก่อนปลูก และใช้เมล็ดพันธุ์ติดต่อกันไม่เกิน 3 ปี การกำหนดช่วงการปลูก การปรับปรุงดินใช้ปุ๋ยพืชสด และการไถกลบฟางข้าว การใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง เก็บเกี่ยวเมื่อต้นข้าวมีอายุประมาณ 25-30 วัน หลังจากข้าวออกรวง และเก็บเกี่ยวข้าวในระยะพลับพลึง นวดข้าวทันทีที่รวงข้าวแห้ง และการตัดพันธุ์ปนในช่วงข้าวแตกกอ ออกรวง และโน้มรวง และเทคโนโลยีในที่เกษตรกรปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การเพาะทดสอบความงอกก่อนปลูก ใช้เมล็ดพันธุ์ 5 ก.ก./ไร่ สำหรับวิธีปักดำ ใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ รักษาระดับน้ำในนาให้พอเหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นข้าวและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอในระยะที่ข้าวออกรวง ข้อเสนอแนะ ควรถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในเรื่องที่เกษตรกรยังมีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวในระดับน้อย ควรให้เกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนมาเรียนรู้การทำแปลงพันธุ์ข้าวกับสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดยเน้นในเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และควรมีการศึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวอื่นๆ ซึ่งปลูกอยู่ในจังหวัดด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิตข้าวต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดนครราชสีมา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
การใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดนครพนม เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ การผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในกิ่งอำเภอกูแก้ว จังหวัดอุดรธานี การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกร โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2545 จังหวัดยโสธร การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวหอมมะลิ ของเกษตรกรที่ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปีเพาะปลูก 2546 อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีผลต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน (ข้าวขาวดอกมะลิ 105) จังหวัดกำแพงเพชร ปี 2546

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก