สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงลูกปลานิลด้วยไข่น้ำร่วมกับอาหารเม็ดสำเร็จรูปปลาดุกในบ่อวงซีเมนต์เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าอาหารปลา
ณัฐรินทร์ ศิริรัตนนันท์, พรทิศา ทองสนิทกาญจน์ - มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงลูกปลานิลด้วยไข่น้ำร่วมกับอาหารเม็ดสำเร็จรูปปลาดุกในบ่อวงซีเมนต์เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าอาหารปลา
ชื่อเรื่อง (EN): Tilapia fingerling rearing in circle cement pond by combined feeding with fresh water meal and commercial diet to reduce feed cost
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการเจริญเติบโตของลูกปลานิลที่เลี้ยงด้วยไข่น้ำร่วมกับอาหารเม็ดสำเร็จรูปในสัดส่วนที่แตกต่างกันประกอบด้วย 5 ชุดการทดลอง ชุดการทดลองละ 3 ซ้ำ แบ่งเป็นการเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปร่วมกับไข่น้ำอบแห้งในสัดส่วน 100:0 (ชุดควบคุม), 70:30, 50:50, 30:70 และ 0:100 โดยทำการเลี้ยงลูกปลานิลเป็นระยะเวลา 75 วัน ในบ่อวงซีเมนต์ขนาด 0.15 ลูกบากศ์เมตร อัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อบ่อ ผลการทดลองพบว่า ลูกปลาในทุกชุดการทดลองมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการทดลอง โดยลูกปลานิลที่กินอาหารเม็ดสำเร็จรูปร้อยละ 100 (ชุดควบคุม) มีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะสูงกว่าชุดการทดลองอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับชุดการทดลองที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูปร่วมกับไข่น้ำอบแห้งที่สัดส่วน 70:30 และ 50:50 (2.21?0.58 และ 2.31?0.05 ตามลำดับ) อัตราการรอดตายของลูกปลานิลในแต่ละชุดการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ไข่น้ำอบแห้งอาจไม่เหมาะสมต่อการนำมาใช้เป็นอาหารปลาโดยตรง แต่อย่างไรก็ตามการให้ไข่น้ำอบแห้งทำให้ปลามีการสะสมไขมันในร่างกายต่ำกว่าปลาที่กินอาหารเม็ดสำเร็จรูปร้อยละ 100 นอกจากนั้นส่งผลให้มีการสะสมโปรตีนในร่างกายสูง การเลี้ยงลูกปลานิลเพื่อช่วยลดต้นทุนค่าอาหารปลาโดยใช้ไข่น้ำอบแห้งที่คุ้มค่าที่สุด คือ การเลี้ยงโดยใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปร่วมกับไข่น้ำอบแห้งในสัดส่วน 70:30 ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนค่าอาหารปลาได้ 12.6% และมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ให้อาหารเม็ดร้อยละ 100 คำสำคัญ : ไข่น้ำ, ผำ, สัดส่วนที่เหมาะสม, ปลานิล, อาหารเม็ดสำเร็จรูป
บทคัดย่อ (EN): Studying the growth performances of tilapia fingerlings fed with different proportion of dried water meal and commercial diet was carried out. The experiment consisted of 5 treatments and 3 replications that produced in 0.15 m3 circle cement pond (50 fingerlings per unit). Fingerlings were fed commercial diet (CD) combined with dried water meal (DWM) at 100:0 (control treatment), 70:30, 50:50, 30:70 and 0:100 for 75 days. The results indicated that fish gradually grew throughout the experimental period. The average final weight, average weight gain, average daily growth and specific growth rate of fish fed with 100:0 of CD and DWM showed significantly higher (p0.05) when compared between treatments. DWM might not be suitable for direct feeding however its advantages could make fat accumulation in fish body lower than fish fed with 100% of CD and revealed high protein level in their body. The combined feeding between CD and DWM at 70:30 could reduce feed cost about 16.2% and showed no contrast of FCR when compared with 100% CD feeding that is the best choice for DWM utilization. Keywords: Wolffia, water meal, appropriate proportion, tilapia, commercial diet
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงลูกปลานิลด้วยไข่น้ำร่วมกับอาหารเม็ดสำเร็จรูปปลาดุกในบ่อวงซีเมนต์เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าอาหารปลา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
30 กันยายน 2560
การเสริมอาหารธรรมชาติเพื่อเลี้ยงปลานิล การทดลองใช้ไข่น้ำเป็นส่วนผสมในอาหารที่มีระดับพลังงานที่ย่อยได้ในอาหารต่างกันต่ออัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปลาตะเพียนขาว และปลานิลแดง การเสริมสารดูดซับในอาหารปลาเพื่อลดกลิ่นโคลนในปลานิล การพัฒนาระบบน้ำหมุนเวียนสำหรับการเลี้ยงปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephalus X C. gariepinus) การแทนที่ปลาป่นด้วยสาคูในอาหารปลานิลแดงแปลงเพศ การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการเลี้ยงปลาหมอร่วมกับปลานิล การศึกษาการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอาหารปลอดภัย จังหวัดชัยภูมิ การใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตที่ได้จากเศษเครื่องในปลานิลเพื่อทดแทนการใช้ปลาป่นในอาหารปลาดุกลูกผสม การใช้โปรตีนไฮโดรไลเสตที่ได้จากเศษเครื่องในปลานิลเพื่อทดแทนการใช้ปลาป่นในอาหารปลาดุกลูกผสม การใช้เศษเนื้อปลาเพื่อลดต้นทุนค่าวัตถุดิบสำหรับการผลิตไส้กรอกปลานิล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก