สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเหี่ยวเขียวของมะเขือเทศ
เวียงคำ จันทวงศ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเหี่ยวเขียวของมะเขือเทศ
ชื่อเรื่อง (EN): Efficeincy of antagonistic microorganisms on control of bacterial wilt of tomato
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เวียงคำ จันทวงศ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Viengkham Chanthavong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จากการทดสอบเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ต่อเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanaceaerum สาเหตุโรคเหี่ยวเขียว (bacterial wilt) ของมะเขือเทศในห้องปฏิบัติการ ได้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพ 2 ชนิด คือ Streptomyces- 15 และ Trichoderma harzianum เมื่อนำไปทดสอบการควบคุมโรคเหี่ยวเขียวกับมะเขือเทศในสภาพเรือนทดลอง ในกระถางบรรจุดินฆ่าเชื้อที่ปลูกเชื้อแบคทีเรีย R. solanaceaerum ในรูปเซลล์แขวนลอยหนาแน่น 2 x 108 cfu/ml ปริมาณ 5 มล./กระถาง ซึ่งใส่หรือไม่ใส่ไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita 3,000ไข่/กระถาง โดยใส่ เชื้อปฏิปักษ์ Streptomyces-15 ที่เลี้ยงใน peat moss และเชื้อปฏิปักษ์ T. harzianum ที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่างนึ่ง ทั้งใส่เดี่ยวและใส่ร่วมกัน ปริมาณเชื้อละ 10 มล./กระถาง เปรียบเทียบกับการใช้สารเคมี copper oxychloride เมื่อ ทดสอบครบ 4 สัปดาห์ พบว่า เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ T. harzianum ลดความรุนแรงของโรคเหี่ยวเขียวของมะเขือเทศได้ดีกว่า Streptomyces-15 การใช้เชื้อปฏิปักษ์ทั้งสองร่วมกันมีแนวโน้มว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เพียงแบบเดี่ยวๆ แต่เมื่อในดินนั้นมีไส้เดือนฝอยอยู่ร่วมด้วยประสิทธิภาพของเชื้อปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเหี่ยวเขียวจะลดลง สารเคมี copper oxychloride ไม่สมารถลดความรุนแรงของโรคนี้ได้ การใช้เชื้อปฏิปักษ์ไม่พบว่ามีผลต่อน้ำหนักต้นสดของมะเขือเทศในช่วงที่ทดสอบ
บทคัดย่อ (EN): Antagonists, Streptomyces-15 and Trichoderma harzianum were selected from laboratory test on inhibition of Ralstonia solanacearum, the causal agent of bacterial wilt of tomato. The two antagonists were then evaluated for control of the disease in greenhouse. In each potted soil planted to tomato were inoculated with R. solanacearum at concentration of 2 x 108 cfu/ml at 5 cc/pot and with or without 3,000 eggs of root-knot nematode (Meloidogyne incognita) per pot. Treatments of antagonists, single or combined, composed of Streptomyces-15 cultured in peat moss and T. harzianum cultured in steamed sorghum grain substrate, each amended at the rate of 10 g/pot. The fungicide copper oxychloride was also used as a compared treatment. After 4 weeks, the results showed that T. harzianum gave better control of the disease than Streptomyces did. Combined treatment of the two antagonists produced greater disease control effect than single one. However, The presence of nematode reduced the efficiency of the antagonists. Copper oxychloride could not reduce wilting incidence of tomato. Treatments of the antagonists showed no effect on fresh shoot weight of tomato at 4 weeks.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/250120/170985
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเหี่ยวเขียวของมะเขือเทศ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2550
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศให้ต้านทานโรคเหี่ยวเขียวและโรครากปมเพื่อใช้เป็นต้นตอในการผลิตเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ระยะที่ 2 การใช้แอคติโนมัยซีทจากดินเพื่อยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum สาเหตุโรคเหี่ยวเขียวของมะเขือเทศ ผลของน้ำส้มควันไม้ต่อประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคของข้าว ผลของน้ำส้มควันไม้ต่อประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคของข้าว การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการควบคุมทางชีวภาพ ศึกษาชีววิธีในการควบคุมปริมาณจุลินทรีย์วิบริโอด้วยจุลินทรีย์บาซิลลัสในห้องปฏิบัติการ การประเมินความต้านทานโรคและการควบคุมโรคสำคัญของมะเขือเทศผลโต วิจัยและพัฒนาการผลิตและใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร I. ศึกษาแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคขอบใบแห้งและโรคไหม้ข้าว การประเมินประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมเชื้อ Sclerotium rolfsii และ Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici สาเหตุโรคทางดินของมะเขือเทศ ประสิทธิภาพของเชื้อ Pseudomonas spp. ในน้ำหมักชีวภาพเพื่อควบคุม โรคเหี่ยวของมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. lycopersici

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก