สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดกาแฟ อราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการตลาดกาแฟในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวง
จักรกฤษณ์ พจนศิลป์ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดกาแฟ อราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการตลาดกาแฟในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวง
ชื่อเรื่อง (EN): Integrated Research Program to Enhance Production and Marketing Efficiency of Arabica Coffee in Highland Area Sub project 3 Study to Enhance Marketing Efficiency of Arabica Coffee in Royal Project Foundation Extended Area
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จักรกฤษณ์ พจนศิลป์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ (1) เพื่อเพื่อรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลการผลิตและการตลาดกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูงและในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง และ (2) เพื่อกำหนดแนะแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพการด้านการตลาดกาแฟอราบิก้าที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรและ/หรือองค์กรชุมชนในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงภายใต้เงื่อนไขการจัดการด้านการตลาดในพื้นที่ โดยการศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 148 ครัวเรือนในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง 8 พื้นที่ และพื้นที่ปลูกกาแฟอราบิก้าที่สำคัญ 3 พื้นที่ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงพรรณนาเกี่ยวกับสภาพการผลิตการตลาด การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิต และการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนอุปสรรคและโอกาสของกาแฟอราบิก้าในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่าการผลิตกาแฟภาพรวมทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งการบริโภคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกษตรกรในพื้นที่ขยายผลมีประสบการณ์ในการปลูกกาแฟ 7.95 ปี พื้นที่ถือครอง 30.40 ไร่ ใช้ปลูกกาแฟ 7.21 ไร่ มีสมาชิกในครัวเรือน 4.91 คน เป็นแรงงานเต็มเวลา 2.35 คน รายได้ครัวเรือนสุทธิและรายได้จากการเกษตรสุทธิเท่ากับ 111,562.32 และ 85,378.42 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ตามลำดับ ขณะที่เกษตรกรในพื้นที่ปลูกกาแฟอราบิก้าที่สำคัญมีประสบการณ์ในการปลูกกาแฟ 19.63 ปี พื้นที่ถือครอง 26.78 ไร่ ใช้ปลูกกาแฟ 23.00 ไร่ มีสมาชิกในครัวเรือน 4.68 คน เป็นแรงงานเต็มเวลา 2.39 คน รายได้ครัวเรือนสุทธิและรายได้จากการเกษตรสุทธิเท่ากับ 204,066.39 และ 147,012.45 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ตามลำดับ สำหรับการผลิตกาแฟของเกษตรกรในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงได้รับผลผลิตผลสด 241.31 ก.ก.ต่อไร่ ราคา 11.98 บาทต่อก.ก. รายได้รวม 2,890.90 บาทต่อไร่ ต้นทุนทั้งหมด 2,453.42 บาทต่อไร่ กำไร 437.48 บาทต่อไร่ ต้นทุนแปรรูปกะลา 136.49 บาทต่อไร่ ราคากะลา 84.51 บาทต่อก.ก. รายได้จากกะลา 4,078.63 บาทต่อไร่ กำไรจากกะลา 1,488.72 บาทต่อไร่ ขณะที่เกษตรกรในพื้นที่ปลูกกาแฟที่สำคัญได้รับผลผลิตผลสด 388.97 ก.ก.ต่อไร่ ราคา 16.22 บาทต่อก.ก. รายได้รวม 6,309.15 บาทต่อไร่ ต้นทุนทั้งหมด 3,653.00 บาทต่อไร่ กำไร 2,656.15 บาทต่อไร่ ต้นทุนแปรรูปกะลา 301.71 บาทต่อไร่ ราคากะลา 86.86 บาทต่อก.ก. รายได้จากกะลา 6,757.25 บาทต่อไร่ กำไรจากกะลา 2,802.54 บาทต่อไร่ โดยการกระจายผลผลิตจากเกษตรกรมีแนวโน้มจะเป็นผลผลิตในรูปผลสดเพื่อผู้ซื้อจะทำการแปรรูปภายใต้กระบวนการผลิตเดียวกันเพื่อจะได้รับกาแฟกะลาที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ สำหรับคุณภาพผลผลิตกาแฟผลสดและกาแฟกะลาจากพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงยังมีผลผลิตบางพื้นที่ที่ยังมีคุณลักษณะไม่ตรงตามผู้รวบรวมต้องการ การให้ความสำคัญของคุณลักษณะกาแฟผลสดมีความสอดคล้องกันในโซ่อุปทานตั้งแต่เกษตรกร ผู้รวบรวม และผู้แปรรูป ในขณะที่กรณีของกาแฟกะลาความสอดคล้องดังกล่าวมีน้อยกว่า สำหรับกลยุทธ์ในภาพรวมในการส่งเสริมด้านการผลิตและการตลาดควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมศูนย์สำหรับการแปรรูปกะลาเพื่อให้ได้คุณภาพกาแฟกะลาสม่ำเสมอ ควรเน้นประชาสัมพันธ์กาแฟจากแหล่งพื้นที่ขยายผลโครงการหลวงต่างๆ ตามลักษณะเฉพาะ (story) ของแต่ละพื้นที่ จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและความสำคัญของการแปรรูปต่อคุณภาพกาแฟ ควรนำระบบสมาชิกมาใช้ในการรักษาระดับการผลิตและการตลาด และควรสร้างความร่วมมือทางการตลาดกับโครงการหลวงเพื่อรองรับผลผลิตจากพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดกาแฟ อราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการตลาดกาแฟในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2557
โครงการวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลผลิตกาแฟในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลิตผลพืชผักในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง โครงการย่อยที่ 2 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยี/องค์ความรู้โครงการหลวงในการพัฒนาประสิทธิภาพการปลูก โครงการวิจัยการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์แปรรูปกาแฟอราบิก้า ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของเสาวรสหวาน บนพื้นที่สูง โครงการวิจัยศักยภาพด้านการตลาดในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวง การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 โครงการวิจัยพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าหัตถกรรมโดยการจัดการห่วงโซ่การผลิตและการตลาดในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวง การประเมินสายพันธุ์และเปรียบเทียบพันธุ์ถั่วแดงหลวง ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง การศึกษาและวิเคราะห์การผลิตและการตลาดขององุ่นโครงการหลวง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก