สืบค้นงานวิจัย
ความแปรปรวนทางพันธุกรรมของลักษณะผลที่เกี่ยวข้องกับอายุการเก็บรักษาของลูกผสมระหว่างแตงไทยกับแคนตาลูป
สมเกียรติ ศรีพงษ์ประไพ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ความแปรปรวนทางพันธุกรรมของลักษณะผลที่เกี่ยวข้องกับอายุการเก็บรักษาของลูกผสมระหว่างแตงไทยกับแคนตาลูป
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic variation of correlated characters of fruits of shelf-life in a cross between Thai melon (Cucumis melo var. conomon) and Cantaloupe (Cucumis melo L. var. cantaloupensis)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมเกียรติ ศรีพงษ์ประไพ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Somkiet Sripongprapai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อารักษ์ ธีรอำพน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Arak Tira-umphon
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาอิทธิพลของยีนต่อลักษณะผลที่สัมพันธ์กับอายุการเก็บรักษาผลิตผลของลูกผสมระหว่าง แตงไทยกับแคนตาลูป นำเมล็ดพันธุ์ P1, P2, F1, F2, BC1P1 และ BC1P2 ปลูกเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อสุกแก่และเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (27±2o) และ ความชื้นสัมพัทธ์ (67±3%) วางแผนการทดลองแบบ(RCBD) จำนวน 3 ซ้ำตามการสุกแก่ของผลซ้ำละ 20 ผล สุ่มวัดทุกๆ 3 วัน ผลการทดลอง (หลังเก็บรักษาที่ 12 วัน) พบความแตกต่างระหว่างชั่วรุ่นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ในหลายลักษณะ พบค่าเฉลี่ยสูงสุดคือน้ำหนักผลใน F2 ความกว้างผลใน F1 ความยาวผลใน F2 ความหนาเปลือกใน BC1P2 เปอร์เซ็นต์การเกิดโรคใน BC1P1 และ อายุการเก็บรักษาผลใน F1 ค่าต่ำสุดคือความกว้างผลใน P2 ความหนาเปลือกใน P1 เปอร์เซ็นต์การเกิดโรค และอายุการเก็บรักษาผลใน F1 ค่าความดีเด่นของลูกผสมเหนือค่าเฉลี่ยของพ่อแม่ พบนัยสำคัญในลักษณะ น้ำหนักผล ความกว้างผล และอายุการเก็บรักษาผล ความดีเด่นเหนือค่าเฉลี่ยของพ่อหรือแม่ที่ดีกว่า ในน้ำหนักผล มีค่าสหสัมพันธ์ทางบวกในลักษณะระหว่างน้ำหนักผลกับความกว้างผล ความยาวผล และความหนาเปลือก ค่าสหสัมพันธ์ทางลบในลักษณะน้ำหนักผลกับเปอร์เซ็นต์การเกิดโรค และอายุการเก็บรักษาผล ความกว้างผลกับความยาวผล ความหนาเปลือกและ อายุการเก็บรักษาผล เปอร์เซ็นต์การเกิดโรคกับอายุการเก็บรักษาผล การแสดงออกของยีนแบบบวกในลักษณะน้ำหนักผล และความกว้างผล ปฏิกิริยาของยีนแบบข่มในน้ำหนักผล และเปอร์เซ็นต์การเกิดโรค อัตราพันธุกรรมแนวกว้างสูงในลักษณะความยาวผล และอัตราพันธุกรรมแนวกว้างมีค่าต่ำในลักษณะความกว้างผล
บทคัดย่อ (EN): This study examined the effects of gene on the shelf-life of fruits in a cross between Thai melon (p1) and cantaloupe (p2). The treatment in this experiment included P1, P2, F1, F2, BC1P1 and BC1P2 which were planted, harvested, and stored at the room temperature (27±2o) and humidity (67±3%). The experiment was conducted using (RCBD) with three replications by maturation. In each replication, twenty fruits were stored and measured every 3 days. After 12 days of storage, the results showed the significant differences at 0.05 across generations in many characters. The highest mean was in fruit weight of F2, width of fruits of F1, length of fruits of F2, thickness of BC1P2, percentage of disease of BC1P1 and shelf-life of F1. The lowest mean was in width of fruits of P2, thickness of P1, percentage of disease and shelf-life of F1. The heterosis of all crosses was found in width of fruits, length of fruits, and shelf-life while the heterobeltiosis was found only in weights of fruits. In addition, weights of fruits were positively correlated with width of fruits, length of fruits and thickness of fruits. However, weights of fruits of F2 were negatively correlated with percentage of disease and shelf-life, and width of fruits with length of fruits, thickness, shelf-life, and percentage of disease. The additive genetic effects were the key regulator of weights of fruit and width of fruits. The dominant genes had effects on weights of fruit and percentage of disease. Broad-sense heritability was high percentages of length of fruits and was low percentage of width of fruits.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/download/252176/172516/894222
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความแปรปรวนทางพันธุกรรมของลักษณะผลที่เกี่ยวข้องกับอายุการเก็บรักษาของลูกผสมระหว่างแตงไทยกับแคนตาลูป
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การวิจัยกระบวนการเก็บรักษา และอายุวางจำหน่าย ของน้ำคั้นต้นกล้าและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากธัญพืชไทย ความดีเด่นของลูกผสมระหว่างแตงไทยกับแคนตาลูป การวิเคราะห์องค์ประกอบทางพันธุกรรมโดยวิธีการทริปเปิลเทสครอสในการผสมข้ามระหว่างแตงไทยกับแคนตาลูป การวิเคราะห์สายพันธุ์กับพันธุ์ทดสอบของแคนตาลูป (var. cantalupensis) และแตงไทย (var. conomon) ใน 2 ฤดูปลูก การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยของชั่วในลักษณะทางปริมาณของแตงไทย 3 สายพันธุ์ การศึกษาชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่ออายุการเก็บรักษาข้าวซ้อมมือ การศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของกล้วยไม้ท้องถิ่นสกุลหวายด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ ค่าอัตราพันธุกรรม และสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของ ลักษณะทางเศรษฐกิจของแพะพื้นเมืองภาคใต้ 3.การสร้างฝูงพ่อ-แม่พันธุ์ไก่พื้นเมืองพันธุ์แดง 3.4 ค่าอัตราพันธุกรรมและพันธุกรรมและคุณค่าการผสมพันธุ์ของลักษณะทางลักษณะทางเศรษฐกิจในไก่พื้นเมือง 006 อัตราพันธุกรรมและสหสัมพันธ์ของลักษณะทางการเกษตรในปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก