สืบค้นงานวิจัย
การใช้ความร้อนจากชีวมวลโดยการแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนในกระบวนการการผลิตเห็ด
สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี, สมศักดิ์ บุญแจ้ง, พราวพรรณ อาสาสรรพกิจ - มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การใช้ความร้อนจากชีวมวลโดยการแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนในกระบวนการการผลิตเห็ด
ชื่อเรื่อง (EN): The Utilization of Biomass Converted to Renewable Energy in The Mushroom Production .
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยเรื่อง การใช้ความร้อนจากชีวมวลโดยการแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนในกระบวนการการผลิตเห็ด มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสร้างต้นแบบการประยุกต์ใช้ความร้อนจากชีวมวลมาใช้เป็นพลังงานทดแทนในการเพาะเห็ดโดยอาศัยเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อชุมชนในพื้นที่รวมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชน การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ปัญหาของใช้พลังงานชีวมวลในพื้นที่รวมทั้งปัญหาของการทำกิจกรรมเพาะเห็ดในปัจจุบันซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นปัญหาดังต่อไปนี้ปัญหาของเตาที่ใช้ต้มก้อนเห็ดในปัจจุบัน พบว่า มีการใช้พลังงานมากเกินไปทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง ถังที่ใช้ต้มไม่มีความเหมาะสมทำให้ทำงานไม่สะดวก สถานที่เพาะเห็ดไม่มีความเหมาะสมรวมทั้งโรงเรือนที่ใช้ในการเพาะเห็ดเนื่องจากไม่ใช่ระบบปิดทำให้สภาพอากาศมีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ด การใช้ฟืนในการต้มน่าจะทำให้เกิดน้ำส้มควันไม้ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ซึ่งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งจากการปรับปรุงเตาต้มก้อนเชื้อเห็ดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ สามารถประหยัดปริมาณฟืนได้โดยเตารูปแบบเดิมจะใช้ฟืน 42 กิโลกรัมต่อครั้งส่วนเตาที่ปรับปรุงใหม่ใช้ฟืน 22 กิโลกรัมต่อครั้ง ซึ่งหลังจากทำเตารูปแบบใหม่สามารถประหยัดได้ 1,500 บาทต่อปี และเมื่อทำการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ความสามารถในการทำกำไรของโครงการเพื่อวิเคราะห์ว่ารูปแบบกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินงานจะก่อให้เกิดรายได้ที่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายต่างๆ สรุปได้ว่าค่า B/C Ratio เท่ากับ 3,500/900 = 3.88 แสดงว่ากิจกรรมการทำเตาต้มก้อนเชื้อเห็ดสำหรับเพาะเห็ดโคนน้อยเป็นโครงการที่ดำเนินการแล้วเป็นมีผลประโยชน์ที่ได้รับมากกว่าต้นทุนโดยจะคืนทุนภายใน 1 ปี จึงเป็นโครงการที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้ในชุมชน
บทคัดย่อ (EN): The research of the utility in heat energy from biomass charcoal furnaces that transform into the renewable energy for using in mushroom production process. Case study: Muang-Gan Municipal, Mae-tang district, Chiang Mai Province, Which proceeded by using many activities cooperated with a Participatory research method through person in the community aim to the model application construction from heat vapor, from biomass charcoal furnaces or biomass furnaces, to use as the renewable energy in boiling a rice straw. Boiled Forage will use in the mushroom cultivation further. All technologies were proper to social, economy and community circumstance conditions. The findings found that problems in the utility of biomass in this area including the mushroom cultivation activity could concluded in many aspects as the problem in boiling mushroom packs with furnaces in the present found high expense with excess energy, boil tank was not proper and inconvenient as the place which use of mushroom cultivation is not match because of that was not the close system, that the weather influents to the growth of mushroom. Using firewood instead which a wood vinegar can occurred that the farmer will be use it to decrease in cost production. After improving in mushroom boil tank, the safe in cost of using fire woods by a normal furnace uses 42 kilograms of firewood per time but the improved furnace use 22 kilograms of firewood per time. That means the new furnace would safe 1,500 Baht per year. After economy analyzed, the profit making ability of this research which done for analyzing the activity model that could get the highest income and worth to the other expense concluded that B/C Ratio 3,500/900 = 3.88 showed that the mushroom cubes boil furnace activity was the project that higher interest more than cost. This activity would re back cost in 1 year that certainly was a sustainable activity in the community.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-09-30
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ความร้อนจากชีวมวลโดยการแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนในกระบวนการการผลิตเห็ด
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
30 กันยายน 2559
การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การศึกษาการผลิตเม็ดเชื้อเพลิงแข็งเพิ่มมูลค่าชีวมวลมวลยอดอ้อยและใบอ้อยเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและผลตอบแทนทางสังคมของการใช้พลังงานชีวมวลในระดับชุมชนและระดับครัวเรือน นวัตกรรมสำหรับกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเห็ด: ชุดผลิตไอน้ำชีวมวลเพื่อฆ่าเชื้อในก้อนเห็ด เตาชีวมวลเพื่อชุมชน@จ อำนาจเจริญ การเพิ่มประสิทธิภาพการติดไฟและการเผาไหม้ของก้อนถ่านอัดแท่งที่ผลิตจากเศษถ่านเหลือทิ้งของโรงไฟฟ้าชีวมวลชุมชนทองแสนขัน เพื่อการเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ โครงการวิจัยการศึกษาการใช้พลังงานจากชีวมวล การใช้เทคโนโลยีการเพาะเห็ดสู่ชุมชนในจังหวัดนครพนม ประเทศไทย และแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โครงการวิจัยและพัฒนาเตาเชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อผลิตพลังงานทดแทน การสำรวจและวิเคราะห์ปัญหาจากนโยบายส่งเสริมการใช้ชีวมวลเป็นพลังงานเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าและการวิเคราะห์การใช้ชีวมวลอย่างเหมาะสมโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก