สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตพรมมิโดยระบบไฮโดรโปนิกส์
เนริสา คุณประทุม - มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตพรมมิโดยระบบไฮโดรโปนิกส์
ชื่อเรื่อง (EN): Quality and quantity improvement for bacopa production using hydroponic system
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เนริสา คุณประทุม
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Narisa Kunpratum
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ระบบไฮโดรโปนิกส์ทั้ง NFT และ DFT กระตุ้นการเจริญของพรมมิได้มากกว่าการปลูกในบ่อดินหรือบ่อซีเมนต์แบบดั้งเดิม โดยมีน้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง ความยาวต้น จำนวนยอด จำนวนใบและพื้นที่ใบมากกว่าการปลูกในดิน (กลุ่มควบคุม) เมื่อเปรียบเทียบระบบไฮโดรโปนิกส์ที่ใช้คือ NFT กับ DFT พบว่าระบบ DFT มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการเจริญของพรมมิได้ดีที่สุด โดยพรมมิที่ได้จากการปลูกแบบ DFT มีน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง จำนวนยอด ความยาวต้น จำนวนใบมากกว่าพรมมิที่ได้จากการปลูกด้วยระบบ NFT พรมมิที่ปลูกในดินมีปริมาณ bacoside A (bacoside A3, bacopaside II และ bacoside X % w/w dry wt) มากกว่าพรมมิที่ปลูกโดยระบบไฮโดรโปนิกส์แบบ NFT และ DFT แต่ bacopasaponin C พบปริมาณสูงสุดในพรมมิโดยไฮโดรโปนิกส์แบบ NFT อย่างไรก็ตามเมื่อคำนวณปริมาณการสะสมของสาร bacoside A ในพรมมิ 1 ต้น (มิลลิกรัมต่อต้น) พบว่าพรมมิที่ปลูกด้วยระบบ DFT มีการสะสมของสาร bacoside A ทุกชนิดสูงสุด ค่าการนำไฟฟ้า (EC) หรือ ระดับความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารสูตร Hoagland's solution; half strength ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพรมมิ ภายใต้การปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์แบบ DFT คือ EC 1.50 mS/cm ซึ่งค่า EC 1.50 mS/cm เป็นระดับที่ทำให้มีธาตุอาหารเพียงพอและเหมาะสมต่อความต้องการของพรมมิ ทำให้ต้นพรมมิมีการเจริญเติบโตดีที่สุด มากกว่า EC 1.50 และ 2.0 mS/cm ค่า EC 1.5 mS/cm นี้ ให้ผลผลิตพรมมิสูงสุด ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตพรมมิในระบบไฮโดรโปนิกส์แทนการใช้ EC 2.0 mS/cm ได้อีกด้วย ค่าความเป็นกรด-เบส (pH) ของสารละลายธาติอาหารสูตร Hoagland's solution; half strength ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพรมมิ ภายใต้การปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์แบบ DFT คือ pH 6.5 ซึ่งส่งผลให้พรมมิมีการเจริญเติบโตดีที่สุด (มากกว่า pH 5.5 และ 7.5) และพรมมิมีแนวโน้มของการเจริญเติบโตที่ลดลงเมื่อปลูกในสารละลายธาตุอาหารที่มี pH 7.5 ดังนั้นในการปลูกเลี้ยงพรมมิด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์แบบ DFT จึงควรระมัดระวังไม่ให้สารละลายธาตุอาหารมี pH ที่สูงกว่า 7.5 ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจส่งผลให้พรมมิมีการเจริญเติบโตน้อยลงและผลผลิตที่ได้จะลดต่ำลงได้
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
เอกสารแนบ: http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2522/1/Fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: 1. เพื่อเปรียบเทียบไฮโดรโปนิกส์ระบบ Deep Flow Technique (DFT) และ Nutrient film technique (NFT) ที่มีต่อการเจริญเติบโตของพรมมิ 2. เพื่อเปรียบเทียบชนิดของสารละลายธาตุอาหาร (hydroponic solution) ที่มีต่อการเจริญเติบโตของพรมมิ 3. เพื่อศึกษาค่า pH และ EC ในสารละลายธาตุอาหาร (hydroponic solution) ที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของพรมมิ 4. เพื่อศึกษาค่าการใช้สารเคมี (macro elements, organic supplements และ methyl jasmonate) เพื่อส่งเสริมการการเจริญเติบโตและการสังเคราะห์สาร saponin ในพรมมิ 5. เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตพรมมิในระบบไฮโดรโปนิกส์ และระบบปลูกพืชบนดิน และเพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินในการลงทุนสำหรับการปลูกพรมมิ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิตพรมมิโดยระบบไฮโดรโปนิกส์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
30 กันยายน 2560
เอกสารแนบ 1
ศึกษาผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของพริก 35 พันธุ์ การเพิ่มผลผลิตและการเปลี่ยนแปลงของยีนที่เกี่ยวกับข้องกับสารซาโปนิน ในพรมมิโดยวิธีการเพิ่มจำนวนชุดโครโมโซม ผลของระยะปลูกต่อคุณภาพและผลผลิตถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม ผลของไคโตซานเพื่อเพิ่มผลผลิตและปริมาณสารทุติยภูมิในข้าว การปรับปรุงคุณภาพผลผลิตลำไยในเชิงประสิทธิภาพใบและการพัฒนาของผลภายใต้ระบบจัดแต่งทรงต้นที่แตกต่างกัน ศักยภาพการให้ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และสหสัมพันธ์ของ องค์ประกอบผลผลิตกับผลผลิตของมันเทศ 5 พันธุ์ การพัฒนาคุณภาพผลลำไยโดยการห่อช่อผล อิทธิพลของระยะปลูกต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าว 3 พันธุ์ภายใต้ระบบการปลูกแบบประณีต ผลของรูปแบบค้างที่มีต่อปริมาณและคุณภาพผลของเสาวรสหวาน พันธุ์เบอร์ 2 ผลของการห่อผลที่มีต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์มหาชนก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก