สืบค้นงานวิจัย
การปรับตัวของถั่วเหลืองสายพันธุ์ดีเด่นต่อการเขตกรรมในพื้นที่ภาคกลาง
พชรดา ฉายศรี, เอ็จ สโรบล, วันชัย จันทร์ประเสริฐ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การปรับตัวของถั่วเหลืองสายพันธุ์ดีเด่นต่อการเขตกรรมในพื้นที่ภาคกลาง
ชื่อเรื่อง (EN): Acclimatization of Promising Soybean Lines to Cultural Practices in the Central Area
บทคัดย่อ: พันธุ์ถั่วเหลืองที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก มีลักษณะทรงพุ่มแตกต่างกัน ซึ่งมีผลต่อการจัดการเพื่อให้ได้ผลผลิต การทดสอบการปรับตัวของสายพันธุ์ถั่วเหลืองดีเด่น กระทำที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ และสถานีวิจัยลพบุรี สถาบันอินทรีจันทรสถิตย์เพื่อการค้นคว้าและพัฒนาพืชเศาสตร์ ระหว่างตุลาคม 2550 – กันยายน 2554 วางแผนการทดลอง split plot in RCBD มี 3 ซ้ำแต่ละปีแบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของระยะระหว่างต้น โดย main plot คือระยะระหว่างต้น 10 ซม. และ 20 ซม. การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของจำนวนต้นต่อหลุม main plot คือจำนวนต้นต่อหลุม (2 และ 3 ต้นต่อหลุม) และทั้งสองการทดลองมี sub plot คือพันธุ์/สายพันธุ์ ถั่วเหลือง 8 พันธุ์/สายพันธุ์ (SJ5 CM60 ทั้งสองเป็นพันธุ์ Check และสายพันธุ์ดีเด่น KUSL3802 – 6 , KUSL3802 , KUSL3802 – 1 , NW1. 1 – 12 ST2. 34 – 1 , KUSL20004) แปลงย่อยมีแถวยาว 5 เมตร จำนวน 4 แถว ไถดะ ไถแปร แล้วใส่ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ใช้ imazethapyr ควบคุมวัชพืช ทำรุ่นและพูนโคน เมื่อถั่วเหลืองอายุ 30 – 35 วันหลังปลูก ผลการทดลองตลอด 4 ปี สรุปได้ว่า ในเขตภาคกลางถ้ามีน้ำชลประทานและปลูกถั่วเหลืองในฤดูแล้ง ควรใช้ระยะระหว่างต้น 10 ซม. และปลูก 2 – 3 ต้นต่อหลุม เนื่องจากความชื้นในดินและในอากาศไม่สูงทำให้ต้นถั่วเหลืองขนาดไม่ใหญ่เท่ากับการปลูกในฤดูฝน และสายพันธุ์ elite lines ที่ปรับตัวในแง่การให้ผลผลิตดี ได้แก่ KUSL3802 – 1, KUSL3802 – 4 และ KUSL20004 สำหรับฤดูฝนควรใช้ระยะระหว่างต้น 20 ซม. ปลูก 2 – 3 ต้นต่อหลุม สายพันธุ์ elite lines ที่ปรับตัวได้ดีได้แก่ KUSL3802 – 1, KUSL3802 – 4 และ KUSL20004
บทคัดย่อ (EN): Elite soybean lines from the breeding program may have different canopy architecture resulted in different management for greater yield. Therefore, the experiments were conducted to test the acclimatization of promising soybean lines to cultural practices. The test was carried out at the National Corn and Sorghum Research Center and Lop Buri Research Station, Insee Chandrastitya Institute for Crop Research and Development, during October 2007 – September 2011. A split plot in RCBD was used with 3 replications. In each year, there were 2 experiments. Experiment 1 involved the effects of plant spacings in which the main plots were 10 and 20 cm plant spacings. Experiment 2 studied the effects of numbers of plant per hill in which the main plots were 2 and 3 plants per hill. In both experiments, the sub plots were 8 soybean lines (SJ5 and CM 60 as check varieties, and KUSL3802-6 , KUSL3802-4 KUSL3802-1 NW1. 1-12 ST2. 34-1 and KUSL20004). There were 4 rows of 5-m long in a subplot. Land was plowed twice and harrowed and compound fertilizer (15-15-15) was applied at the rate of 50 kg/rai. Weeds were pre-emergent controlled using imazethapyr, Additional weeding simultaneously with earthened – up the rows was done at 35 days after planting. Throughout 4 years of the project, it was concluded that in the central area where irrigation is available in the dry season, it was recommended that soybean be planted using 10-cm plant spacing and 2 – 3 plants pre hill. The recommended soybean elite lines were KUSL 3802-1, KUSL3802-4 and KUSL20004. For the rainy season, it was recommended that soybean be planted using 20-cm plant spacing and 2-3 plants per hill and using the elite lines recommended above.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
เจ้าของลิขสิทธิ์: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การปรับตัวของถั่วเหลืองสายพันธุ์ดีเด่นต่อการเขตกรรมในพื้นที่ภาคกลาง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2554
การประเมินศักยภาพของถั่วเหลืองสายพันธุ์ดีเด่นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อพื้นที่ภาคกลาง Potential Evaluation of Soybean Promising Lines of Kasetsart University for the Central Area การจำลองสถานการณ์ เพื่อศึกษาผลกระทบของสภาวะภูมิอากาศแปรปรวนที่มีต่อผลผลิตคุณภาพของเมล็ด และความทนทานต่อสถานการณ์ ของถั่วเหลืองสายพันธุ์ดีเด่นของภาคเหนือ ข้าวเหนียวสายพันธุ์ดีเด่น ข้าวเหนียวมีสีพันธุ์พื้นเมืองสายพันธุ์ดีเด่นภาคใต้ ข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีเด่นภาคเหนือตอนบน PSL05101-93-1-3-2 : ข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีเด่น ข้าวสาลีสายพันธุ์ดีเด่น ข้าวนาชลประทานสายพันธุ์ดีเด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ข้าวหอมน้ำลึกสายพันธุ์ดีเด่น PCR89151-27-9-155 การศึกษาการตอบสนองต่อความไวของช่วงแสงของข้าวสายพันธุ์ดีเด่นในภาคกลาง ประจำปี 2548
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก