สืบค้นงานวิจัย
KKN01041-23-2-1-1 : ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงสายพันธุ์ดีเด่น สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วีระศักดิ์ หอมสมบัติ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: KKN01041-23-2-1-1 : ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงสายพันธุ์ดีเด่น สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): KKN01041-23-2-1-1 : A photoperiod insensitivity non-glutinous promising line for northeastern region
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วีระศักดิ์ หอมสมบัติ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Weerasak Hormsombut
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: KKN01041-23-2-1-1 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงสายพันธุ์ดีเด่น ที่เกิดจากการผสมสามทางระหว่างพันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นพันธุ์แม่ กับลูกผสมของข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรีกับข้าวเจ้าหอมนิล เป็นพันธุ์พ่อ ดำเนินการผสมที่ศูนย์วิจัยข้าวขอนแก่น ใน พ.ศ.2544 คัดเลือกจนได้สายพันธุ์ KKN01041-23-2-1-1 นำไปปลูกเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาชลประทานระหว่างสถานี ที่ศูนย์วิจัยข้าวต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างฤดูนาปี 2549-2554 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 620 กิโลกรัมต่อไร่ และเปรียบเทียบผลผลิตข้าวนาสวนนาชลประทานในนาราษฎร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่าง พ.ศ. 2551-2555 ในฤดูนาปีและนาปรัง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 550 และ 560 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ลักษณะเด่นคือ สามารถปรับตัวได้หลายสภาพแวดล้อม ต้านทานต่อโรคไหม้ได้ดี อายุการเก็บเกี่ยว 125 -130 วัน ความสูง 115-120 เซนติเมตร มีจำนวนรวงต่อกอ 10 รวง เมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 140 เมล็ด น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 29.21 กรัม ข้าวเปลือกสีฟาง รูปร่างเมล็ดยาว เรียว ข้าวกล้องยาว 7.66 มิลลิเมตร คุณภาพการขัดสีดี ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 47 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดมีระยะพักตัว 4 สัปดาห์ ปริมาณอมิโลส ระหว่าง 15-18 เปอร์เซ็นต์ ข้าวสวยอ่อน นุ่ม และมีกลิ่นหอมคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เกษตรกรยอมรับในลักษณะทางการเกษตร และคุณภาพทางกายภาพของเมล็ดข้าวเปลือก ข้าวสาร และคุณภาพข้าวสวย ข้าวสายพันธุ์นี้มีข้อจำกัด คือ อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว
บทคัดย่อ (EN): KKN01041-23-2-1-1 is a non-glutinous and non-photoperiod sensitive promising line derived from a three-way cross. The cross was made in 2004 at Khon Kaen Rice Research Centre, using PTT1 as a female parent and the line derived from the cross between Hawm Supanburi and Jao Hawm Nin as a male parent. The selected line; KKN01041-23-2-1-1, was evaluated in the inter-station yield trials for irrigated rice lines in north eastern Thailand during 2006-2011, and it gave an average yield of 620 kg/rai. This line was also evaluated in farmers' field trials in north eastern Thailand during 2008-2012 in both wet and dry season. It gave an average yield of 550 kg/rai for wet season and 560 kg/rai for dry season. This line can adapt well in a wide range of environment and is resistant to leaf blast. The agronomic characteristics of this line include maturity of 125-130 days, plant height of 115-120 cm, number of panicles per hill of 10, number of filled grains per panicle of 140 and 1,000-grain weight of 29.21 grams. The grain color is straw with long and slender (47% head rice). The length of brown rice is 7.66 mm. This line has a good milling quality with the percentage of head rice of 47. It has a seed dormancy period of 4 weeks. The amylose content is 15-18 percent. The cooked rice was soft and tender in texture with aroma similar to that of KDML105. The result from the preference analysis (PA) indicates that farmers accepted this line for its agronomic characteristics, physical qualities of paddy and milled grain, and cooking quality. The disadvantages of this line are that it is susceptible to brown planthopper and white-backed planthopper.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/bitstream/001/5952/1/2557BRRD-p.22-43.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
KKN01041-23-2-1-1 : ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงสายพันธุ์ดีเด่น สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมการข้าว
2557
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
RGDU06337-MAS-122-B-B: ข้าวเจ้าสายพันธุ์ดีเด่นสำหรับนาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ KKN01041-23-2-1-1: ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงสายพันธุ์ดีเด่น สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยและพัฒนาศักยภาพยางพาราสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้ข้อมูล RADARSAT-1 SAR (standard mode) เพื่อทำแผนที่แสดงพื้นที่ปลูกข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ IR75003-UBN-111-10-4-5 ข้าวเจ้าสายพันธุ์ดีเด่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ RGD334-3-11-1-1-147-1KPS-3: ข้าวเหนียวต้านทานโรคไหม้สายพันธุ์ดีเด่นสำหรับนาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอนแก่น 3 พันธุ์อ้อยสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การทดสอบปุ๋ยกับหอมแดงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้ดัชนีทนแล้งคัดพันธุ์ถั่วเหลืองเพื่อปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้ประโยชน์ของดินชุดยโสธรเพื่อการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก