สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการปลูกฝ้ายตะหลุงและฝ้ายพันธุ์พื้นเมืองแบบเกษตรอินทรีย์ กรณีศึกษา : กลุ่มทอผ้าฝ้ายตะหลุงและฝ้ายพันธุ์พื้นเมืองบนเทือกเขาภูพาน จังหวัดนครพนม สกลนครและมุกดาหาร
บุษกร ปทุมไกยะ - มหาวิทยาลัยนครพนม
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการปลูกฝ้ายตะหลุงและฝ้ายพันธุ์พื้นเมืองแบบเกษตรอินทรีย์ กรณีศึกษา : กลุ่มทอผ้าฝ้ายตะหลุงและฝ้ายพันธุ์พื้นเมืองบนเทือกเขาภูพาน จังหวัดนครพนม สกลนครและมุกดาหาร
ชื่อเรื่อง (EN): The Organic Cotton Plant Development A Cast Study of : The Organic Cotton Woven Groups in Phu Phan Mountains Nakhon Phanom Sakon Nakhon and Mukdahan Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บุษกร ปทุมไกยะ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเพาะปลูกฝ้ายตะหลุงและฝ้ายพันธุ์ พื้นเมือง กระบวนการผลิตฝ้ายเข็นมือด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม การออกแบบและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอมือ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพกลุ่มทอผ้าฝ้าย ตะหลุงและฝ้ายพันธุ์พื้นเมืองในระบบบริหารจัดการแบบครบวงจร และสร้างเครือข่ายวิสาหกิจผ้า ฝ้ายทอมือพื้นบ้าน ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยให้สมาชิกกลุ่มผ้าฝ้ายทอมือ ทั้ง 3 จังหวัด ได้ร่วมดิด ร่วมทำ ร่วมวิเคราะห์ และหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มฯ อันนำไปสู่ การสร้างเครือข่ายวิสาหกิจผ้าฝ้ายทอมือพื้นบ้าน ผลจากการวิจัย พบว่า กระบวนการเพะปลูกฝ้ายตะหลุงและฝ้ายพันธุ์พื้นเมือง นิยมปลูกใน พื้นที่ที่มีอากาศเย็น โดยเฉพาะแถบเทือกเขาในภาดเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการ ปลูกฝ้าย เกษตรกรต้องยกรองขึ้นสูง เพื่อไม่ให้มีน้ำขังในบริเวณไรฝ้าย ในขณะที่กลุ่มทอผ้าฝ้าย ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สามารถปรับเปลี่ยนวิธีคิด โดยการผลิตและใช้ปุ๋ยชีวภาพในไร่ฝ้าย เพื่อ ลดตันทุนการผลิต และลดการใช้สารเคมีในการทำไร่ฝ้าย โดยเนันการใช้สมุนไพรที่ได้จากทุนทาง ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน มาประยุกต์ใช้เป็นน้ำสมุนไพรเพื่อป้องกันแมลงในไร่ฝ้าย และ ได้ปลูกสมุนไพรทดแทน เพื่อสร้างความตระหนัก และปลูกจิตสำนึกให้ชุมชนรักและหวนแหน ทรัพยากรธรรมชาติ คณะผู้วิจัยได้นำเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์มาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน เพื่อให้เกิดนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชน โดยการพัฒนาออกแบบเครื่องหลาไฟฟ้า อเนกประสงค์ สำหรับผลิตเส้นฝ้ายเข็นและการกรอด้ายเข้าหลอด ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับช่วย อำนวยความสะดวกและประหยัดเวลาในการพัฒนาเส้นฝ้ายเข็นจากฝ้ายตะหลุงและฝ้ายพันธุ์ พื้นเมือง การออกแบบลายผ้าฝ้ายทอมือของชนเผ่าในแถบเทือกเขาภูพาน เป็นการออกแบบลวดลาย ตามจินตนาการของผู้ออกแบบ เช่น การออกแบบที่ลอกเลียนจากธรรมชาติ ลวดลายที่ทอขึ้นตาม ความเชื่อของสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ ได้แก่ ลายพญานาด ลายช้าง ลายที่ทอจากการสร้างสุนทรียศาสตร์ของผู้ออกแบบ เช่น ลายหัวใจว่าง ลายดอกไม้ นอกจากนี้ยังมีลายที่ผู้ออกแบบทอ ลายจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ลายพันมหา ซึ่งมีลายคล้ายหน้าจั่วโบสถ์และวิหาร และลายสร้อยใบบุญ ลายผ้าต่าง ๆ นับว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ทางคณะผู้วิจัยได้ รวบรวมลายผ้าของชนเผ่าพื้นเมืองไว้ในรูปแบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และได้นำลายผ้าจาก ฐานข้อมูลมาดัดลอกปรับแต่งลายด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบจึงทำให้ง่ายและ ประหยัดเวลาต่อการออกแบบลวดลายผ้า รวมทั้งเหมาะกับการใช้งานของผู้ที่สนใจทั่วไป รวมทั้ง เยาวชนรุ่นใหม่ที่จะนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาไทยสู่ภูมิปัญญาสากล ศักยภาพของกลุ่มทอผ้าฝ้ายตะหลุงและฝ้ายพันธุ์พื้นเมืองนั้นมีมากมาย เช่น ทุนทาง วัฒนธรรม ได้แก่ ภูมิปัญญาด้านการทอผ้า ทุนทางสังคม ได้แก่ การรวมกลุ่มของคนภายในชุมชน และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพ สมาชิกชุมชนได้นำศักยภาพ ของตนเองมาบูรณาการรวมกัน ก่อให้เกิด "กลุ่มวิสาหกิจผ้าฝ้ายทอมือพื้นเมือง" โดยกลุ่มทอผ้าฝ้าย ที่จะมีความเข้มแข็ง และสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ต้องมืองค์ประกอบ คือ แกนนำที่เข้มแข็ง เป้าหมายที่ชัดเจน เคารพกฎระเบียบ การเรียนรู้ร่วมกัน การแบ่งปันทรัพยากร การทำกิจกรรม ร่วมกัน ความรู้สึกเป็นพี่เป็นน้อง และความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน จากการพัฒนาระบบบริหารจัดการ ส่งผลให้กลุ่มทอผ้าฝ้ายพื้นบ้านมีกฎระเบียบเพื่อรองรับ การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ทอก่อนออกจำหน่ายแก่ลูกค้า เกิดระบบบริหารงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ พร้อมกับการสื่อถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิตของ กลุ่ม ผ่านบรรจุภัณฑ์และสัญลักษณ์สินค้า (โลโก้) มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยใช้แนวคิด "การตลาดเพื่อสั่งคม" ซึ่งไม่มุ่งหวัง "ทำไร" เป็นที่ตั้ง ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด คือ ยอดขายและ รายได้ของกลุ่มที่เพิ่มขึ้นบนพื้นฐาน "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" จากกระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มทอผ้าฝ้ายพื้นบ้านส่งผลให้ เกิดสัมพันธ์ภาพที่ดีต่อกัน มีความเข้าอกเข้าใจ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน จึงก่อให้เกิด "เครื่อข่าย วิสาหกิจผ้าฝ้ายทอมือพื้นบ้านแบบประสานพลัง" จำนวน 5 เครือข่ายที่เป็นไปตามความต้องการของ สมาชิกเครือข่ายฯ ได้แก่ เครือข่ายการจัดซื้อวัตถุดิบ เครือข่ายข้อมูล-ข่าวสาร เครือข่ายบรรจุภัณฑ์ เครือข่ายการเรียนรู้ และเครือข่ายการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้เกิดการยกระดับขีด ความสามารถของกลุ่มวิลาหกิจผ้าฝ้ายทอมือพื้นบ้านในการแข่งขันสู่ระดับสากล
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยนครพนม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการปลูกฝ้ายตะหลุงและฝ้ายพันธุ์พื้นเมืองแบบเกษตรอินทรีย์ กรณีศึกษา : กลุ่มทอผ้าฝ้ายตะหลุงและฝ้ายพันธุ์พื้นเมืองบนเทือกเขาภูพาน จังหวัดนครพนม สกลนครและมุกดาหาร
มหาวิทยาลัยนครพนม
30 กันยายน 2551
การวิจัยและพัฒนา วิจัยและพัฒนาการปลูกระบบ Aeroporic การผลิตเมล็ดผักในระบบเกษตรอินทรีย์ การพัฒนารูปแบบการจัดการการตลาดของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 84 – 4 การพัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ศักยภาพผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองปลูกในระบบการปลูกข้าวไร่ก่อนปลูกอ้อย โครงการวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงไส้เดือนดิน : กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเศรษฐกิจในกระชัง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม สมบัติของผ้าฝ้ายที่ปรับปรุงพื้นผิวด้วยไหมไฟโบรอินโดยการใช้เทคนิคไมโครเวฟ รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่เข้มแข็ง : กรณีศึกษากลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพบ้านดอกแดง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก