สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาวิธีการตรวจหาสารพิษ Botulinum toxin ด้วยวิธี Antibody Capture ELISA
ปิยะดา หวังรุ่งทรัพย์ - กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาวิธีการตรวจหาสารพิษ Botulinum toxin ด้วยวิธี Antibody Capture ELISA
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ปิยะดา หวังรุ่งทรัพย์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บทนำ: เชื้อ Clostridium botulinum เป็นเชื้อในกลุ่ม Anaerobic bacteria แกรมบวกรูปท่อน สร้างสปอร์แบบ sub terminal สามารถสร้างสารพิษได้ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาวิธีการตรวจหาสารพิษ Botulinum โดยวิธี Antibody capture ELISA ใช้เป็นทางเลือกเพื่อ ทดแทนสัตว์ทดลองและลดเวลาทำงาน วิธีวิจัย: การปรับหาความเหมาะสมของวิธีวิเคราะห์เช่น การทดสอบความเข้มข้นที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเคลือบเพลท การเปรียบเทียบ substrate ระหว่าง TMB และ Streptavidin การทดสอบหาความไวของวิธี การประเมินคุณภาพทำกับตัวอย่างอาหาร ผลการทดลอง: พบว่าการทดสอบความเข้มข้นที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเคลือบเพลทของแอนติบอดีสำหรับ Type A, B, E และ F ใช้ first และ secondary antibodies เป็น Goat purified และ Rabbit complex ความเข้มข้นทั้งสองแอนติบอดีคือ 1 µg/ml., 1.5 µg/ml., 1 µg/ml. และ 3 µg/ml. ตามลำดับ การเปรียบเทียบ substrate ระหว่าง TMB และ Streptavidin พบว่าผล TMB ให้ค่า OD. ที่ดีกว่า ส่วนการทดสอบความจำเพาะของวิธีพบว่าทั้งหมดไม่พบปฏิกิริยาข้ามเกี่ยวและทำการ ทดสอบซ้ำ 5 ซ้ำยังให้ผลเช่นเดิม การทดสอบหาความไวของวิธีพบว่าตรวจหาสารพิษชนิด A, B, E และ F ที่ความเข้มข้นน้อยที่สุดคือ 1 ng/ml., 50 ng/ml., 50 ng/ml.และ 5 ng/ml. ตามลำดับ การประเมินคุณภาพทำกับตัวอย่างอาหาร เช่น ปู ดอง ถั่วเน่า หม่อไม้ และน้ำส้ม พบว่าตรวจในตัวอย่างอาหารที่ปนเปื้อนชนิด A-F ปริมาณสารพิษที่น้อยที่สุด ได้ 50-200 ng/ml สรุป: การวิจัยครั้งนี้นำไปพัฒนาเป็นชุดตรวจหาสารพิษ Botulinum โดยวิธี Antibody Capture ELISA เป็นชุดตรวจวิเคราะห์ที่นำมาใช้ในประเทศและเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าชุดทดสอบจากต่างประเทศ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: http://nih.dmsc.moph.go.th/research/showimgdetil.php?id=599
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: ฝ่ายแบคทีเรียไร้อากาศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาวิธีการตรวจหาสารพิษ Botulinum toxin ด้วยวิธี Antibody Capture ELISA
ฝ่ายแบคทีเรียไร้อากาศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
2560
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาวิธีการตรวจสอบสารพิษ Fumonisin B1 ในข้าวโพดด้วยวิธี ELISA การตรวจสอบสารพิษแอฟลาทอกซิน โดยวิธี ELISA (Enzyme - Linked Immunosorbent Assay) ผลงานนำเสนอประชุมวิชาการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 23 เรื่อง การผลิต Polyclonal antibody ต่อ Botulinum toxin type A และ B ในกระต่าย การพัฒนาการตรวจหา เชื้อสเตรปโตคอคคัส ซูอิส และยีนที่จำเพาะต่อ ซีโรไทป์โดยใช้เทคนิค multiplex PCR Development of botulinum toxin detection assay by antibody capture ELISA ผลกระทบจากสารพิษกับสมดุลธาตุอาหารพืช การตรวจวิเคราะห์สารพิษค้างในพืชผัก โดยชุดตรวจหาสารฆ่าแมลง การปลูกหญ้าแฝกรอบกองขยะเพื่อกรองสารพิษ การตรวจหาแบคทีเรียจากดินในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยขอนแก่นโคกภูตากาและเขื่อนอุบลรัตน์โดยวิธี community level physiological profiles การศึกษาประสิทธิภาพของระบบโทรมาตรและระบบเฝ้าระวังสารพิษจากสาหร่าย ซึ่งติดตั้งในโครงการของกรมชลประทาน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก