สืบค้นงานวิจัย
ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทูแขกชนิด Decapterus maruadsi ในอ่าวไทย
ณรงค์ศักดิ์ คงชัย, นันทชัย บุญจร, อัญญานี แย้มรุ่งเรือง, ทิวารัตน์ สินอนันต์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทูแขกชนิด Decapterus maruadsi ในอ่าวไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Stock Assessment of Round Scads, Decapterus maruadsi in the Gulf of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทูแขกครีบยาว (Decapterus maruadsi) ทางฝั่งอ่าวไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลการประมงจากเครื่องมืออวนล้อมจับ 3 ประเภท คือ อวนดำ อวนล้อมซั้ง และอวนล้อมจับปั่นไฟ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงธันวาคม พ.ศ. 2550 พบว่าปลาทูแขกครีบยาวมีอัตราการจับเฉลี่ย เท่ากับ 0.21 480.74 191.93 40.09 และ 0.93 กก./วัน ตามลำดับ ปลาทูแขกครีบยาวที่ถูกจับมาใช้ประโยชน์มีความยาวเหยียดระหว่าง 4.00-27.50 เซนติเมตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.48 เซนติเมตร มีสมการเติบโตของ von Bertalanffy เท่ากับ มีค่าสัมประสิทธิ์การตายรวม (Z) เท่ากับ 5.2928 ต่อปี ค่าสัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติ (M) เท่ากับ 1.5584 ต่อปี และค่าสัมประสิทธิ์การตายโดยการประมง (F) เท่ากับ 3.7344 ต่อปี กลุ่มความยาวระหว่าง 4.00-5.00 เซนติเมตร เป็นกลุ่มความยาวแรกที่เริ่มเข้าสู่ข่ายการประมงมีจำนวนเท่ากับ 1.3322 x 109 ตัว ระดับผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (Maximum Sustainable Yield, MSY) เท่ากับ 21,062 เมตริกตัน ที่ระดับการลงแรงประมงสัมพัทธ์ (F-factor) เท่ากับ 0.7 และมีมูลค่าสูงสุดที่ยั่งยืน (Maximum Sustainable Economic Yield, MEY) เท่ากับ 631.88 ล้านบาท ที่ระดับการลงแรงประมงสัมพัทธ์เท่ากับ 0.6 โดย พ.ศ. 2550 ปริมาณการจับและมูลค่าของปลาทูแขกครีบยาว มีค่าเท่ากับ 20,779 เมตริกตัน และ 604.66 ล้านบาท ซึ่งมีระดับการลงแรงประมงเกินศักย์การผลิตสูงสุดร้อยละ 30 และ มีการลงแรงประมงเกินจุดมูลค่าสูงสุดที่ยั่งยืนร้อยละ 40
บทคัดย่อ (EN): Stock Assessment of Round Scads (Decapterus maruadsi) in the Gulf of Thailand was conducted by collecting data from Luring purse seine, Light luring purse seine, Thai purse seine and Anchovy purse seine at fishing ports along coastline of the Gulf of Thailand during January to December 2007. The results showed that average catch per unit of effort of D. maruadsi were 757.34, 156.28, 34.84 and 69.92 kg/day, respectively. Size distribution was recruited to fishing ground in range from 3.50-26.50 cm. Growth equation was expressed in equation Lt = 27.75 (1-e-1.01(t-0.00)). Total mortality coefficient (Z), natural mortality coefficient (M) and fishing mortality coefficient (F) were 6.43, 1.89 and 4.54 per year, respectively. While size of recruitment in fishing ground was at 3.50 cm with 405.28 million individual. Maximum sustainable yield (MSY) was 3,754 tons and the maximum sustainable economic yield (MEY) was 100.47 million baht. Optimum fishing efforts were 75% and 60% of the fishing effort in 2007.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทูแขกชนิด Decapterus maruadsi ในอ่าวไทย
กรมประมง
31 ธันวาคม 2551
กรมประมง
ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาปากคมชนิด Saurida elongata และ S. undosquamis ในอ่าวไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาสีกุนตาโต Selar cumenohpthalmus ในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของปลาทูแขกครีบยาว Decapterus maruadsi (Temminck & Schlegel, 1843) ในอ่าวไทย สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย ชีววิทยาปลาข้างเหลืองชนิด Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833) ในอ่าวไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาแป้นกระดาน (Photopectoralis bindus (Valenciennes,1835) ในอ่าวไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาแป้นกระดาน (Photopectoralis bindus (Valenciennes,1835) ในอ่าวไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาข้างเหลือง Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833)ในอ่าวไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาตาหวานจุด (Priacanthus tayenus Richardson, 1846) ในอ่าวไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรกุ้งแชบ๊วยบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก