สืบค้นงานวิจัย
การเปรียบเทียบการเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาของสายพันธุ์ไม้ยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซิสรุ่นที่2
สาพิศ ดิลกสัมพันธ์ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบการเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาของสายพันธุ์ไม้ยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซิสรุ่นที่2
ชื่อเรื่อง (EN): DNA Fingerprinting of Eucalypt Clones using Microsatellite Markers
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สาพิศ ดิลกสัมพันธ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาของสายพันธุ์ รุ่นที่ 2 ของยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส และคัดเลือกสายพันธ์ที่มีผลผลิตสูงและสามารถปรับตัวกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูกได้ดี สำหรับพัฒนาเป็นสวนผลิตเมล็ดพันธุ์และสวนผลิตกิ่งพันธุ์ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส โดยทำการศึกษาการเติบโตและรูปทรงของต้นไม้ของยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส จำนวน 120 สายพันธุ์ จาก 23 ถิ่นกำเนิด/แหล่งเมล็ด และศึกษาการแปรผันตามฤดูกาลของลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส จำนวน 10 สายพันธุ์ จาก 9 ถิ่นกำเนิด/แหล่งเมล็ด ตลอดจนวิเคราะห์ดัชนีการเติบโตเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกสายพันธุ์ของยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส ตามวิธีการ selection index ผลการศึกษา พบว่า อัตราการรอดตาย ความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก มวลชีวภาพเหนือพื้นดิน และการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส อายุ 1-3 ปี ในแปลงทดสอบสายพันธุ์ รุ่นที่ 2 มีการแปรผันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างถิ่นกำเนิด และระหว่างสายพันธุ์ ในขณะที่การประเมินรูปทรงของต้นไม้เมื่ออายุ 2 และ 3 ปี พบว่า การยืดยาวตรงของลำต้น ความหนาของกิ่ง มุมของกิ่ง และการลิดกิ่งตามธรรมชาติมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างถิ่นกำเนิด แต่การตั้งตรงของลำต้น และความตรงของลำต้น มีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างถิ่นกำเนิด นอกจากนี้ ผลการศึกษาของลักษณะทางสรีรวิทยาแสดงให้เห็นว่าการสังเคราะห์แสงสุทธิสูงสุด การชักนำของปากใบ การคายน้ำ ประสิทธิภาพในการใช้น้ำ และค่าชลศักย์ของใบ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างฤดูกาล แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างสายพันธุ์ ยกเว้นปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างฤดูกาลและระหว่างสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่มีการเติบโตดีมีแนวโน้มที่มีความแตกต่างของลักษณะทางสรีรวิทยาระหว่างฤดูกาลน้อยกว่าสายพันธุ์ที่มีการเติบโตช้า นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ดัชนีการเติบโตดีจากความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกทำให้สามารถจัดลำดับและคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีการเติบโตดีจำนวน 60 สายพันธุ์ สำหรับพัฒนาเป็นสวนผลิตเมล็ดพันธุ์ และคัดเลือกแม่ไม้จำนวน 30 ต้น จากสายพันธุ์ที่มีการเติบโตดี และทำการขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศเพื่อสร้างเป็นสวนผลิตกิ่งพันธุ์ต่อไปในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were to compare growth and physiological characteristics of the second generation of Eucalyptus camaldulensis half-sib progenies and select promising families with superior growth and well-adapted to the planting site for further establishment of seed orchard and hedge orchard of the selected families. The growth measurement and tree form assessment were undertaken in all 120 families from 23 provenances/seed sources, seasonal variation of some physiological characteristics were undertaken in 10 selected families from 9 provenances/seed sources. According to selection index, growth index was also developed as the selection criteria for E. camaldulensis. The results indicated that survival percentage, height, diameter at breast height (DBH), aboveground biomass and the carbon stored in aboveground biomass of 1-to-3-year-old E. camaldulensis progenies were significantly different between provenances/seed sources and between families. The tree form assessment undertaken at 2 and 3 years of age also showed significant difference in axis persistence, branch thickness, branch angle and branch self-pruning, but neither stem vertical nor stem straightness, among provenances/seed sources. Some physiological characteristics varied significantly between seasons but not among families: light saturated net photosynthesis; stomatal conductance; transpiration rate; water-use efficiency and leaf water potential. Except for leaf chlorophyll content, significant difference not only between seasons but also between families was observed. In addition, the seasonal variation of physiological characteristics seemed less evident in superior families compared with inferior families. Furthermore, the total 120 families were ranked based on the growth index developed from height and DBH and 60 families were selected for the establishment of seedling seed orchard and 30 plus trees were selected from superior families and vegetatively propagated for the future establishment of hedge orchard accordingly.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเปรียบเทียบการเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาของสายพันธุ์ไม้ยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซิสรุ่นที่2
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
30 กันยายน 2553
การย่อยสลายโพลีฟีนอลในใบยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซิสด้วยแสงโดยมีตัวเร่งปฏิกิริยาผสมระหว่างไทเทเนียและวัสดุมีโซพอร์ที่สังเคราะห์ได้จากแกลบข้าว การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ไม้ยูคาลิปตัสเพื่อผลิตไม้แปรรูป การใช้น้ำส้มควันไม้จากยูคาลิปตัสในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชและการผลิตเห็ด การขยายพันธุ์ยูคาลิปตัส (Eucalyptus camaldulensis Dehn.) โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแม่ไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินลูกรัง เขตพื้นที่จังหวัดแพร่ การปรับปรุงพันธุ์ยูคาลิปตัสให้ทนต่อความเค็มด้วยการถ่ายยีน APX เข้าสู่ต้น การทดสอบใช้เชื้อรา Trichoderma spp. เพื่อควบคุม กระตุ้นการเจริญเติบโตและความต้านทานโรคในต้นกล้ายูคาลิปตัส 004 ประสิทธิภาพของน้ำส้มควันไม้จากต้นยูคาลิปตัสและสะเดาในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ลักษณะละอองเรณูและความสัมพันธ์ทางสายวิวัฒนาการของสายพันธุ์ลำไยเพื่อการปรับปรุงพันธุ์และเพื่อการอนุรักษ์ ลักษณะละอองเรณูความสำพันธ์ทางสายวิวัฒนาการของสายพันธุ์ลำไยเพื่อการปรับปรุงพันธุ์และเพื่อการอนุรักษ์ การใช้ถ่านชีวมวลจากเปลือกไม้ยูคาลิปตัสเพื่อปรับปรุงดินกรดเพื่อปลูกข้าวในพื้นที่ภาคกลาง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก