สืบค้นงานวิจัย
ภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวก่ำของชุมชนชาวนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
สุรพล ยอดศิริ, อารยะ เสนาคุณ, ชฎาพร เสนาคุณ, เรียมจิตร สุทธิโสกเชือก, เสถียร ฉันทะ - มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง: ภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวก่ำของชุมชนชาวนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Local Knowledge Conservation and Utilization of Purple Rice Diversity among Peasant Communities in Northeastern Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ข้าวก่ำหรือข้าวเหนียวดำ เป็นข้าวพื้นเมืองที่มีความหลากหลายสายพันธุ์ ข้าวก่ำเป็นข้าวที่มีปริมาณสารอาหาร เช่น โปรตีน ไขมัน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียมและแคลเซียมสูงกว่ากลุ่มข้าวขาว เนื่องจากเยื่อหุ้มเมล็ดมีรงควัตถุสีม่วงที่ประกอบด้วยสารแอนโธไซยานิน ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์การต่อต้านสารอนุมูลอิสระ วัตถุประสงค์ในการศึกษานี้เพื่อวิจัยองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญท้องถิ่นในด้านการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวก่ำ และศึกษาสัณฐานวิทยาเพื่อศึกษาความหลากหลายของสายพันธุ์ข้าวก่ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาองค์ความรู้ และหาข้อเสนอแนะในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนชาวนา ผลการศึกษาพบว่าองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์ของข้าวก่ำที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน มาจากความเชื่อที่ว่า ข้าวก่ำ คือ พญาข้าวที่จะคอยช่วยดูแลข้าวทั้งปวงที่ปลูกในนาป้องกันแมลงและไม่ทำให้เกิดโรค ทำให้แต่ละครัวเรือนเก็บรักษาพันธุ์ข้าวก่ำไว้เพื่อปลูกในแต่ละปี แต่ปัจจุบันเหลือไม่มากนัก วิธีการปลูกข้าวก่ำ ชาวนาจะปลูกข้าวก่ำตรงกลางแปลงนา ครึ่งหนึ่งของแปลงนา ริมขอบของแปลงนา ปลูกเป็นแถวยาว หรือปลูกมุมใดมุมหนึ่งของแปลง ขึ้นกับความเชื่อของในแต่ละท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบว่าการปลูกข้าวก่ำส่วนใหญ่นิยมปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนและเก็บไว้ทำขนมพื้นบ้านในงานประเพณีเท่านั้น การศึกษาความหลากหลายของพันธุ์ข้าวก่ำ พบชนิดพันธุ์ข้าวเหนียว จำนวน 14 พันธุ์ ได้แก่ ก่ำเปลือกขาว ก่ำเปลือกดำ ก่ำนางพญา ก่ำกาดำ อีก่ำ ก่ำใบเขียว ก่ำใบดำ ก่ำน้อย ก่ำไร่ ก่ำตีนม่วง ข้าวเหนียวดำเชียงราย ก่ำปี๋ ก่ำดง ชนิดพันธุ์ข้าวเจ้า จำนวน 4 พันธุ์ ได้แก่ มะลิดำ มะลินิล หอมนิลและเมล็ดฝ้าย จากการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของข้าวก่ำพบว่ามีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะด้านขนาดความยาว กว้าง น้ำหนักเมล็ด รวมทั้งลักษณะของสีข้าวเปลือก และสีของเยื่อหุ้มเมล็ด พบว่ามีลักษณะที่ผันแปรไปตามสภาพภูมินิเวศ สำหรับการใช้ประโยชน์จากข้าวก่ำ ในด้านต่างๆ ได้แก่ การใช้บริโภค ปรุงแต่งอาหาร แลกเปลี่ยนพันธุ์ ขายเป็นรายได้ในครัวเรือน เป็นต้น ปัจจุบันกระแสการบริโภคข้าวเพื่อสุขภาพมีเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะข้าวหลากสี ซึ่งข้าวก่ำจึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี เพราะข้าวก่ำมีคุณค่าทางอาหารสูง ดังนั้นรัฐควรส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยข้าวก่ำทั้งในระดับลึกและระดับกว้าง ตั้งแต่การส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวก่ำ ส่งเสริมกระบวนการแปรรูปข้าวก่ำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการขยายตลาดเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน
บทคัดย่อ (EN): Purple rice (Kum rice) or glutinous purple rice with is more variety of native species. Purple rice is with nutrients such as protein, fat, phosphorus, potassium and calcium than white rice. In addition, a pericarp of rice gain has containing of purple pigment or Anthocyanin. The compounds have activity against free radicals. The purpose of this study was to study the cognitive landscape a local problem in the utilization and conservation of rice genetic varieties and study morphology of rice to analyses the diversity of rice varieties on the Northeastern of Thailand. These data will be useful in the development of knowledge and seek the suggestion in economy community farmers. The results showed that the conservation knowledge of rice that inherit to until now, be from the belief that purple rice is “Phaya Khao” which is to help take care of all crops, against insects and pathogens. The household storage purple rice to keep for grow in each year. But now be left a few extremely. The planting of purple rice in the field depend on local place such as in the middle of the field, half of the field, along the edge of the field, grows in long rows and planting one corner of the plot. Most of purple rice keeps for household consumption and to do local sweets tradition only. The diversity of purple rice species found that the sticky rice or glutinous rice of 14 varieties, including Kum Plueak khao, Kum Plueak Dam, Kum Nang Phaya, Kum Ka Dam, E Kum, Kum Bai Khiao, Kum Bai Dam, Kum Noi, Kum Rai, Kum Teen Muang, Khao Niao Dam, Kum Pi and Kum Dong. And found that non-glutinous rice of four varieties including Mali dam, Mali Nin, Hom Nin and Maled Fai. In addition, found a different morphology in particularly, the size, length, width and weight of seed rice. The characteristics of the grain and color of the seed coat are varied of ecosystems. Utilization of rice consumption is in various fields, including the use of food additives, to exchange rice to other farmer and sales revenue. In the present the trend of household consumption of rice increased by a healthy white color. Purple rice is one best choice, with high nutritional value. Therefore, the government should encourage to support purple rice research both of in deep level and wide level, such as promoting conservation, intensify rice processing to add value to the economy and market expansion for encourage foundation of the community.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวก่ำของชุมชนชาวนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
30 กันยายน 2555
ความหลากหลายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองและการอนุรักษ์ของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ ความหลากหลายของชนิดปลาน้ำจืด และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ในแม่น้ำมูล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อนุกรมวิธานเชิงตัวเลขของข้าวก่ำนาสวนบางพันธุ์ปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การกระจายตัวของไส้เดือนดินและอิทธิพลต่อพลวัตอินทรีย์คาร์บอน ในดินภายใต้การใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกัน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากข้าวเหนียวดำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรคของวัชพืชที่สำคัญในนาข้าวเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก